อาการครรภ์เป็นพิษ

รู้ทัน อาการครรภ์เป็นพิษ พร้อมวิธีป้องกัน ดูแลดีปลอดภัยทั้งแม่ลูก

event
อาการครรภ์เป็นพิษ
อาการครรภ์เป็นพิษ

อาการครรภ์เป็นพิษ หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องอาจเจอได้ จะหายก็ต่อเมื่อคลอดลูกแล้ว แต่หากตรวจเจอและแม่ท้องดูแลตัวเองไม่ดีก็เสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่และลูก

แม่ท้องต้องรู้!! สัญญาณ อาการครรภ์เป็นพิษ
ดูแลดีปลอดภัยได้ทั้งแม่ลูก

ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งที่เกิดกับแม่ตั้งครรภ์ คือ กลุ่มอาการสัญญาณ 3 อย่างสำคัญ ที่ตรวจพบได้ในคุณแม่ท้อง อันได้แก่

  1. น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายบวมน้ำ เช่น มีอาการบวมตามใบหน้า มือ ข้อเท้า เท้า เป็นต้น
  2. มีความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป โดยตรวจพบระดับความดันนี้ 2 ครั้งในระยะห่างอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  3. ตรวจพบโปรตีนหรือไข่ขาวส่วนเกินในปัสสาวะ หรือพบอาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกว่าไตมีปัญหา

โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าทุกๆปี มีผู้หญิงกว่า 70,000 คนที่เสียชีวิตจากภาวะครรภ์เป็นพิษ และ ทารกเสียชีวิตภาวะดังกล่าวถึง 50,000 คนทั่วโลก1 ขณะที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐฯ (NIH) ระบุว่า 2-8% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะมีภาวะครรภ์เป็นพิษ จึงต้องรณรงค์ให้ทั่วโลกตระหนักว่าภาวะครรภ์เป็นพิษมีอันตรายถึงชีวิต

อ้างอิง : 1 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4354613/ Risk factors and effective management of preeclampsia

Must read >> ครรภ์เป็นพิษ ภัยใกล้ตัว! อันตรายต่อคุณแม่และลูกในท้อง

 

อาการครรภ์เป็นพิษเกิดจาก

ครรภ์เป็นพิษ เกิดจากความผิดปกติของการฝังตัวของรก ซึ่งโดยธรรมชาติรกจะฝังบริเวณเยื่อบุผนังมดลูก แต่ในกรณีที่แม่ครรภ์เป็นพิษ รกจะฝังตัวได้ไม่แน่น ส่งผลให้รกบางส่วนเกิดการขาดออกซิเจน ขาดเลือด เมื่อเลือดไปเลี้ยงรกได้น้อยลง จะเกิดการหลั่งสารที่เป็นสารพิษเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ทีละเล็กทีละน้อย เมื่อถึงจุดหนึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

ทั้งนี้สาเหตุของ อาการครรภ์เป็นพิษ ที่เกิดยังไม่รู้แน่ชัด เพราะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน และโดยทั่วไปภาวะครรภ์เป็นพิษมักเกิดหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์จนถึง 48 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่จะพบภาวะนี้หลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ทั้งนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะ อาการครรภ์เป็นพิษ จึงอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดในคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่ ชัก การทำงานของไตผิดปกติหรือไตวาย ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด มีเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะเลือดออกในสมอง น้ำท่วมปอด ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับทารก ได้แก่ ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกเสียชีวิตในครรภ์

Must read >> ประสบการณ์จริง เมื่อฉัน ครรภ์เป็นพิษ!

Must read >> แม่แชร์ประสบการณ์! ครรภ์เป็นพิษเฉียบพลัน ต้องคลอดลูกที่ไม่มีลมหายใจ

Must read >> มาร์กี้แอดมิทเตรียมคลอดก่อนกำหนด! เหตุเสี่ยง “ภาวะครรภ์เป็นพิษ”

 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้แม่มี อาการครรภ์เป็นพิษ

  1. ตั้งครรภ์ครั้งแรก หรือตั้งครรภ์หลังแต่เป็นครรภ์แรกกับสามีคนใหม่ เพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่บ่อยครั้งมีโอกาสครรภ์เป็นพิษมากกว่าผู้ที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ และเชื่อว่าครรภ์เป็นพิษอาจเกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานเชื้ออสุจิ
  2. ตั้งครรภ์ลูกแฝด / ครรภ์ไข่ปลาอุก
  3. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกาย เช่น IVF
  4. ตั้งครรภ์ที่อายุไม่เหมาะสม เช่น อายุมากกว่า 35 ปี หรือ อายุน้อยกว่า 20 ปี
  5. อ้วนหรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  6. ครอบครัวเคยเกิดปัญหานี้ และคุณแม่เคยเกิดภาวะนี้เมื่อตั้งครรภ์ครั้งที่ผ่านมา
  7. มีโรคประจำตัวอยู่เดิม เช่น ความดันสูง เบาหวาน โรคไต
  8. ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะก่อนตั้งครรภ์
  9. อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ

อ่านต่อ >> “วิธีรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up