AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

คลายสงสัย! 9 ปัญหานมแม่ ยอดฮิต ของคุณแม่มือใหม่

9 ปัญหานมแม่ ยอดฮิต ของคุณแม่มือใหม่ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “ มือใหม่ “ พอลูกน้อยทำอะไร หรือ เป็นอะไร ก็ดูสับสนอลหม่านกันไปหมด ว่าแต่มีเรื่องหนักอกหนักใจอะไรบ้างมาลองดูกัน คุณแม่มือใหม่อย่างเราจะได้เตรียมตัวรับมือได้ถูก

9 ปัญหานมแม่ ของ คุณแม่มือใหม่

  1. ตอนอยู่โรงพยาบาลไม่ร้องไห้ ไม่ขอดูดนม…แต่พอกลับบ้าน ทำไมร้องไห้ขอดูดนมตลอดเวลา

ปัญหานมแม่ ข้อแรกนี้เป็นเพราะทารกยังไม่รู้ตัวว่าตอนนี้เขาแยกออกจากอกแม่แล้ว เขายังคิดว่าอาหารจะมาตามสายสะดือเหมือนตอนอยู่ในท้องแม่ ทั้งนี้เด็กทารกแรกเกิดครบกำหนด และเป็นปกติ สามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไรเลยนาน 5-7 วัน น้ำหนักตัวจึงลดลง 10-12% ของน้ำหนักแรกเกิดโดยไม่เป็นอันตราย

ดังนั้น หากน้ำหนักตัวยังอยู่ในเกณฑ์ เขาจึงยังไม่รู้สึกหิว เวลาพยาบาลพามาให้ดูดนมแม่ เลยหลับมากกว่าดูด ทางที่ดีอย่าปล่อยให้เขาหลับอย่างสบายใจ ปลุกเขาให้ช่วยดูดกระตุ้นบ่อยๆทุก 2-3 ชั่วโมง โดยใช้อุ้งนิ้วโป้งและนิ้วชี้อยู่ในรักแร้ของทารก ท่านี้ช่วยให้ลูกตื่นตัว และเตรียมพร้อมจะดูดนม

อย่าร้องขอให้พยาบาลเสริมนมผง นอกจากทำให้เขาหลับมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว โอกาสติดขวดจนหลงลืมเต้านมแม่จะมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในช่วง 1-2 วันแรกนี้ ลองใช้เครื่องปั๊มนมช่วยกระตุ้น ถึงไม่มีน้ำนมออกมาก็ไม่ผิดปกติอะไร

และเมื่อผ่านไป 3-4 วัน ได้เวลากลับบ้าน น้ำหนักตัวของเขาจะลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่ทำให้รู้สึกหิวแล้ว และเริ่มรู้ตัวว่าไม่ได้อยู่ในท้องแม่ ตอนนี้ละ เขาจะร้องหาแม่ เพื่อให้แม่อุ้มเขามาดูดและต้องการให้แม่กอดเขาไว้ตลอดเวลา เพราะเขาไม่คุ้นเคยกับเตียงนอน แสงสว่างจ้า และบรรยากาศรอบตัว จึงร้องไห้ทุกวันจนกว่าจะปรับตัวได้ ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

  1. ลูกเอามือผลักอกแม่ตอนดูด แปลว่า แม่ไม่มีน้ำนมหรือเปล่า?

หากเด็กที่เคยดูดนมขวดมาก่อน เป็นไปได้ที่เขาจะติดใจขวด เมื่อมาดูดนมแม่ที่ดูยากกว่าและนมไหลไม่เร็วทันใจเหมือนขวด เขาจะแสดงอาการหงุดหงิดได้ ดังนั้นหาก คุณแม่มือใหม่ ต้องการเริ่มฝึกให้ดูดนมแม่จากขวด ควรรอให้ลูกดูดนมแม่เป็น และดูดนมแม่ได้เก่งเสียก่อน ซึ่งก็คือ อายุ 1 เดือน

แต่หากเขาไม่เคยเจอขวดมาก่อนเลย การดูดไปดิ้นไป น่าจะเป็นเพราะมีลมในท้อง หรือท่าอุ้มในการดูดไม่ถูกต้อง วิธีแก้ไข ปัญหานมแม่ ข้อนี้คือ ให้ยาขับลมก่อนดูดนม จับเรอบ่อยๆ อุ้มอย่างถูกต้อง โดยลำตัวลูกแนบกับหน้าท้องแม่ ปากงับลึกถึงลานนมแม่ วิธีนี้จะทำให้ได้รับน้ำนมอย่างเต็มที่ ไม่มีหงุดหงิด

ติดตาม 9 ปัญหานมแม่ยอดฮิต ของคุณแม่มือใหม่ คลิกต่อหน้า 2

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกกินนมพอแล้ว

– ดูจาก จำนวนครั้งของอุจจาระ มากกว่า 2 ครั้ง ปัสสาวะ มากกว่า 6 ครั้ง สีปัสสาวะไม่มีสีส้มแดงจากสีของตะกอนที่อยู่ในปัสสาวะ

– น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 15-20 กรัมต่อวัน

– สะอึกบ่อย เพราะกระเพาะอาหารมีการขยายตัวจากน้ำนมแล้วไปเบียดกระบังลม ทำให้เกิดการสะอึก

สำหรับวิธีหยุดสะอึกอย่างเร็วมี 2 วิธี คือ ให้ดูดนมแม่ต่อ ไม่ต้องให้ดื่มน้ำเปล่า หรือ อุ้มลำตัวลูกตั้งพาดบ่าไว้สักพัก หรือไม่ต้องทำอะไรเลย รอให้เขาหยุดไปเอง เหมือนตอนอยู่ในท้องเวลาลูกสะอึกจะทำให้หน้าท้องแม่กระเพื่อม เนื่องจากมีการกลืนน้ำคร่ำเข้าไป ทำให้กระเพาะอาหารขยายตัว ซึ่งเขาก็หยุดสะอึกได้เองโดยไม่มีใครช่วย สะอึกนานเท่าไหร่ก็ได้ ไม่อันตราย

หากลูกน้ำหนักตัวขึ้นมากเกินไป (มากกว่า 33 กรัมต่อวัน หรือ 1 กิโลกรัมต่อเดือน) ถือได้ว่า กินมากเกินไป หรือ overfeeding ลูกจะมีอาการอึดอัดมาก เสียจน

  1. นอนร้องเสียงเป็นแพะเป็นแกะ (แอะ แอะ แอะ)
  2. ส่งเสียงร้องที่ฟังแล้วรู้สึกได้ว่าลูกอึดอัด พร้อมกับบิดตัวตลอดเวลาทั้งตอนหลับและตื่น
  3. มีเสียงดังครืดคราดในคอ เนื่องจากนมล้นขึ้นมาจ่อที่คอหอยแล้ว (พ่อแม่มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นหวัด)
  4. อาเจียน หรือ แหวะนมบ่อย
  5. พุงกางเป็นรูปน้ำเต้าตลอดเวลา

ทางแก้ ปัญหานมแม่ ข้อนี้คือ ปั๊มนมออกก่อนเพื่อเหลือนมในเต้าให้น้อยลง และให้ใช้ยาขับลมร่วมด้วย แต่ในกรณีเดียวกันหากลูกดูดบ่อยมากๆ เข้าเต้าตลอด จนหัวนมแม่แตก แต่ได้น้ำนมไม่เพียงพอ ลูกอาจเป็นพังผืดใต้ลิ้น ต้องพาไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไข

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

4. ทำไมลูกตัวเหลืองจัง

สาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลืองในช่วงสัปดาห์แรก ส่วนใหญ่เกิดจากเม็ดเลือดแดงแตกมากเกินไป หรือ เกิดจากการติดเชื้อ หรือการทำงานของเอนไซม์ที่ตับบกพร่อง ทั้งนี้ทารกแรกเกิดทุกคนตัวเหลืองอยู่แล้ว แต่มากน้อยแตกต่างกันไป วันแรกอาจจะยังไม่เห็นเหลือง แต่สารที่เกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดงจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ และขึ้นสูงสุดประมาณวันที่ 4-6 หลังคลอด

หลังจากนั้นจะเริ่มลดลง เพราะตับเริ่มกำจัดสารดังกล่าวได้ดีขึ้น และทารกได้รับน้ำนมแม่มากขึ้นด้วย ซึ่งมีสารช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดี เป็นการกำจัดสารเหลืองทางอุจจาระออกนอกร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่นอกจากนี้ ยังมีกรณีตัวเหลืองจากการที่น้ำนมแม่น้อยด้วย จะตรวจว่ามาจากเหตุอื่นหรือไม่ก็ต่อเมื่อน้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 12% และไม่มีภาวะอื่นที่อธิบายสาเหตุตัวเหลืองได้ เช่น กรุ๊ปเลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน เป็นพาหะของภาวะธาลัสซีเมีย ขาดเอนไซม์ G6PD หรือ การติดเชื้อ

หากลูกตัวเหลืองจากกรณีน้ำนมแม่น้อย แก้ไขโดยการให้ดูดนมแม่บ่อยขึ้น ฝึกให้ดูดถูกวิธี และเสริมนมผงให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ห้ามให้น้ำ พร้อมกันนี้หากตัวเหลืองหลังจาก 1 สัปดาห์ อาจเกิดจาก

ในกรณีแรกไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรืออันตรายแก่ทารก ไม่ว่าจะมีภาวะเหลืองมากเท่าใดก็ไม่ได้ทำลายเซลส์สมองของเด็ก จึงไม่ต้องหยุดนมแม่ เพราะอาการตัวเหลืองจะหายเองภายใน 1-2 เดือน

ติดตาม 9 ปัญหานมแม่ยอดฮิต ของ คุณแม่มือใหม่ คลิกต่อหน้า 3

  1. ลูกกินนมแม่แล้วถ่ายบ่อยจัง

ในนมแม่ช่วงหนึ่งเดือนแรกมีสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อย เพื่อช่วยให้สารสีเหลืองถูกกำจัดออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น ทารกอาจถ่ายทุกครั้งที่กินนม มีลักษณะคล้ายซุปฟักทอง เป็นเมือก เป็นน้ำ หรือ เป็นฟองก็ได้ และอาจมีสีเขียวบางครั้ง แต่ก็จะกลับมาเป็นสีเหลืองเหมือนเดิม อย่างนี้ไม่ถือว่าผิดปกติ แต่หากมีมูกเลือด หรือ เป็นสีเขียวตลอดเวลาให้นึกถึงการติดเชื้อ ไม่ก็แพ้อาหาร

  1. ลูกกินนมแม่แล้วทำไมไม่ถ่ายทุกวัน ตกลงท้องผูกหรือเนี่ย

หลังจากอายุ 1 เดือน สารที่ช่วยให้ลำไส้ขับถ่ายอุจจาระบ่อยๆ หายไปจากนมแม่แล้ว เพราะทารกไม่ภาวะตัวเหลือง สารอาหารที่อยู่ในนมแม่จะถูกร่างกายดูดซึมไปใช้เกือบหมด จึงไม่เหลือของเสียมาก ไม่ต้องกำจัดออกทุกวัน เคยมีสถิติไม่ถ่ายนาน 15 วัน แต่เด็กไม่มีอาการแน่นท้อง หรือ อาเจียนผิดปกติ อาจมีอาการอึดอัดจากลมในท้องบ้าง แต่ยังดูดนมได้ดี เมื่อถึงเวลาถ่ายออกมาเละเป็นขี้โคลนจำนวนมาก อย่างนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นท้องผูก ไม่ต้องรักษา เพียงแต่ห้ามให้น้ำ น้ำส้ม น้ำลูกพรุน หรือ สวนทวาร เพราะท้องผูกหมายถึงอุจจาระแข็งตัวผิดปกติ

7. ให้ลูกกินนมวันละกี่ครั้งดี

ช่วงแรกคลอดควรให้ลูกดูดบ่อยๆทุก 2-3 ชั่วโมง ประเมินว่าได้น้ำนมพอ จากจำนวน อุจจาระมากกว่า 2 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน หากน้ำนมแม่ถูกกระตุ้นจนมากพอ เมื่อลูกดูดเต้าหนึ่งจะมีน้ำนมไหลออกมาเองจากอีกเต้าหนึ่ง สัญญาณนี้บ่งบอกว่าไม่จำเป็นต้องให้ลูกดูดบ่อยๆ ปล่อยให้ลูกหลับได้เลย ตื่นเมื่อไหร่ค่อยเอามาดูด ในขณะที่เด็กบางคนขอดูดตลอดเวลา ให้สังเกตที่พุงถ้ายังใหญ่อยู่ไม่จำเป็นต้องให้ดูดนม ให้ใช้วิธีอื่นเบี่ยงความสนใจไป เช่น ดูดจุกนมหลอก หรือ ดูดเต้าที่กินไปเกลี้ยงแล้ว

เมื่อลูกอายุได้ 3-4 เดือนจะไม่ค่อยสนใจดูดนมแม่มากเหมือนเดิม เพราะเล่น และปรับตัวเข้ากับโลกใบใหม่แล้ว การอุ้มมาดูดนมในช่วงนี้เป็นการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์และสร้างความผูกพันกันมากกว่า

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

  1. ถ่ายสีเขียวเรียกว่าปกติ หรือเปล่า

ถ่ายสีเขียวเกิดจากขี้เทา ซึ่งเป็นอุจจาระที่ทารกสร้างขณะอยู่ในครรภ์ แต่เมื่อกินนมแม่มากพอแล้ว อุจจาระจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง อีกกรณีที่ถ่ายเป็นสีเขียว คือ ทารกที่มีปัญหาตัวเหลือง เพราะได้รับการส่องไฟรักษา จะถ่ายเป็นสีเขียวเช่นกัน เมื่อไหร่ที่หยุดส่องไฟก็จะกลับมาเป็นสีเหลืองเหมือนเดิม

  1. ทารกนอนวันละกี่ชั่วโมง

เด็กทารกนอนรวมแล้ว 11 ชั่วโมง หากแม่ต้องการพักในช่วงนี้ แนะนำให้นอนไปด้วยเลยค่ะ ลูกไม่หลับแต่ดูดนมแม่อยู่ แม่ก็ฉวยโอกาสนี้หลับได้ค่ะ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

รวมวิธีดูแลตัวเองง่ายๆ เมื่อ แม่ท้อง ไม่สบาย

อาชีพเสริม สำหรับคุณแม่บ้าน ทำได้ที่บ้านหรือแม้เลี้ยงลูก

6 เรื่องที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ เมื่อทารกเป็นหวัด