AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

นอนกรนแล้วสมาธิสั้น จริงหรือ?

นอนกรนแล้วสมาธิสั้น จริงหรือ?

รายงานวิจัยล่าสุดจากอังกฤษพบว่า การนอนกรนของเด็กมีความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมสมาธิสั้น เพราะอะไร นอนกรนแล้วสมาธิสั้น จริงหรือ?

นอกจากการนอนกรนของเด็กอาจส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องการเจริญเติบโต เนื่องจากนอนหลับไม่สนิท ร่างกายจึงเติบโตได้ไม่เต็มที่ จากรายงานวิจัยล่าสุดจากอังกฤษพบว่า การนอนกรนของเด็กมีความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมสมาธิสั้นด้วย

จากงานวิจัยพฤติกรรมและการนอนหลับในเด็ก 11,000 คนที่อาศัยอยู่ในอังกฤษ โดย ดร.คาเรน บานัค จากวิทยาลัยอัลเบิร์ต ไอสไตน์วิทยาลัยแพทย์ของมหาวิทยาลัย Yeshiva ในนิวยอร์ค รายงานนี้เผยแพร่ใน US Journal Pediatrics พบว่า การหายใจของเด็กที่นอนกรน ส่งผลเชื่อมโยงให้เด็กมีพฤติกรรมคล้ายกับสมาธิสั้น เนื่องจากพบว่า ร้อยละ 40 ของเด็กที่นอนกรนจะเริ่มมีปัญหาพฤติกรรมทางสมองก่อนอายุ 7 ขวบ

มาริแอนน์ เดวี่ จากองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับในอังกฤษ (British Snoring and Sleep Apnea Society) อธิบายเพิ่มเติมว่า “พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบถึงความเชื่อมโยงนี้ จึงไม่ได้บอกคุณหมอว่าลูกนอนกรน ทำให้แพทย์วินิจฉัยโดยพิจารณาจากพฤติกรรมว่าลูกเป็นสมาธิสั้น จนอาจทำการรักษาโดยสั่งยาควบคุมอาการสมาธิสั้นให้กับลูก ซึ่งหากคุณหมอได้รับทราบข้อมูลเรื่องการนอนกรน จะช่วยเหลือแก้ไขเรื่องการนอนกรน ซึ่งมีส่วนทำให้พฤติกรรมสมาธิสั้นดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น หากลูกนอนกรน ควรจะแจ้งให้แพทย์รับทราบด้วย”

ติดตามอ่านบทความ สมดุลแห่งชีวิตในลูก “สมาธิสั้น” คลิก!!

 


บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง