พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ
พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ เป็นช่วงเวลาที่สมองเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา และเคล็ดลับสร้างพัฒนาการที่ดีสำหรับเด็กเตาะแตะ
พ่อแม่แสดงความรักต่อกัน…แค่ไหนถึงจะเหมาะ
การพูดเป็นประโยคง่ายๆ ที่มีแค่ 2 คำตอนอายุราว 2 ขวบ ซึ่งฟังคล้ายภาษาของพวกมนุษย์ถ้ำ เช่น พ่อไป หรือ หนมอีก นั้นหมายถึงการพัฒนาทางสมองของลูกที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เทคนิคสยบ อาการ หงุดหงิด อาละวาด เหวี่ยงวีน
ถ้าลูกชอบร้องไห้แบบไม่มีเหตุผลหรือแผลงฤทธิ์เมื่อไม่ได้ดังใจ คุณจะรับมืออย่างไรดี
คิดให้ดี คำสั่งแม่นี่คลุมเครือรึเปล่า?
ไม่ว่าแม่จะสั่งให้เก็บของเล่นที่กองอยู่เต็มบ้านหรือแต่งตัวออกไปเที่ยวนอกบ้านกัน หนูน้อยก็ไม่ทำตามที่แม่สั่งเลยสักอย่าง แล้วอย่างนี้จะยอมให้ความร่วมมือกับคุณครูตอนต้องไปโรงเรียนหรือเปล่าเนี่ย
ปิดๆ เปิดๆ สนุกยังไง
อเล็กซ์วัย 2 ขวบ มีของเล่นตั้งมากมาย แต่ ของเล่น ชิ้นใหญ่ที่ดึงดูดเขาได้นานที่สุดคือบานประตูอเล็กซ์สามารถเปิดปิดๆ อยู่อย่างนั้นเป็นชั่วโมง ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเขาหลงใหลกิจกรรมนี้แค่ไหน
เมื่อลูก อยากลองของ
ถ้าคุณสุดจะทนกับพฤติกรรมท้าทายของวัยเตาะแตะ เช่น หย่อนเลโก้ใส่ในช่องแอร์ทีละอัน
ป่วนทุกที เวลาที่แม่ติดสาย
อาจเหมือนเรื่องเล็ก แต่ก็เป็นประเด็นคลาสสิก ที่คุณแม่หลายคนอยากหาทางแก้แบบละมุนละม่อม คุณแม่จูเล่าว่าน้องแจ็ค ลูกชายวัย 1 ขวบ 8 เดือน จะเกิดอาการหวีดวีน ทุรนทุรายทุกทีเวลาที่แม่มีโทรศัพท์เข้า ดูเหมือนเขาต้องการความสนใจมากเป็นพิเศษในจังหวะนั้น วัยเตาะแตะ “ไม่ปลื้ม” กับอะไรก็ตามที่มาแย่งความสนใจของคุณไป ไม่ว่าจะเป็นกระดาษบนโต๊ะที่แม่กำลังจดรายการกับข้าว อาหารในครัวที่แม่ต้องปรุงให้เสร็จ และแน่นอน เจ้าโทรศัพท์ที่ดังแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย เด็กวัยนี้ทำตัวไม่ถูก รู้สึกเคว้ง เมื่อพ่อแม่ละความสนใจจากเขาไปคุยกับวัตถุชิ้นเล็กอย่างกะทันหัน และปฏิกิริยาเดียวที่เขาพอจะนึกออกคือ “กรี๊ด” เพื่อเรียกความสนใจคืนมา และพ่อแม่ส่วนใหญ่ยอมจำนนต่อมือน้อยๆ ที่ทึ้งอยู่ตรงหัวเข่า ยอมวางสายทั้งนั้น ทั้งนี้อาการเอาชนะโทรศัพท์ขึ้นอยู่กับพื้นอารมณ์ของเด็กและวิธีรับมือของคุณด้วย คาถาให้การคุยราบรื่นคงไม่มี แต่เรามีเทคนิคให้ลูกยอมสงบชั่วครู่มาแนะนำ ทำเป็นตื่นเต้น แทนที่จะกำชับว่า “เดี๋ยวตอนแม่คุยโทรศัพท์ลูกห้ามกวนเข้าใจไหม” เพราะแน่นอนว่ามันไม่ได้ผลหรอก เมื่อโทรศัพท์ดัง รีบรุดไปที่โทรศัพท์อย่างตื่นเต้น “อุ๊ย! ใครโทร.มาน้า”เพื่อให้รู้ว่าโทรศัพท์ไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นเพื่อนที่น่าตื่นเต้นต่างหาก อย่าระเบิดอารมณ์กลับ ข้อนี้คือกฎเหล็กในการตอบสนองวัยเตาะแตะอยู่แล้ว ความต้องการคุณแบบปุบปับนี้ แม้คุณเองจะรู้สึกว่ามันดูไม่สมเหตุสมผลเท่าไร แต่หากยิ่งต่อต้านหรือเล่นไม้แข็งอาการวีนมีแต่จะลุกลามเท่านั้น สัมผัส ลูบหลัง กอดเขาไว้ อุ้มมานั่งตัก และเล่นกระเด้งดึ๋งๆ ช่วยลดอาการ “อิจฉาโทรศัพท์” […]
แม่อย่าเพิ่งกลุ้ม จู่ๆ ลูกไม่ยอมอาบน้ำ
น้องโรม วัยขวบครึ่ง ก่อนหน้านี้ชอบอาบน้ำมาก แต่อยู่มาวันหนึ่งก็เกิดไม่อยากถูกน้ำเสียนี่
เฮ้อ…ร่วมโต๊ะกินข้าวทีไร เละทุกที
ให้เตาะแตะกินอาหารบนโต๊ะทีไรเละทู้กที โยนอาหารลงพื้นบ้าง ละเลงบ้าง ผุดลุกผุดนั่งจนถ้วยข้าวพลิกคว่ำ แถมทำน้ำส้มหกซ้ำอีกต่างหาก
ลูกดื้อเหลือเกิน ทำไงดี
เพราะอะไรลูกถึงดื้อเหลือเกิน ไม่ยอมฟังพ่อแม่เลย จะทำอย่างไรดี
สอนเจ้าตัวเล็กหัดใช้กรรไกร
เด็กช่วงวัย 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบ มีพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างการมองเห็นและการสัมผัสแล้ว การให้ลูกได้ลองใช้กรรไกรก็เป็นสิ่งที่เสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงได้เป็นอย่างดี
เตาะแตะ = ตัวตลกประจำบ้าน จริงไหม?
ทำไมเตาะแตะถึงชอบทำให้พ่อแม่พี่ป้าน้าอาหัวเราะกันนะ? แล้วมุกของเจ้าตัวน้อยมีอะไรบ้าง มาดูกัน!
เทได้ เทดี ลูกคนนี้
การทำน้ำหกเลอะโดยไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้คุณแม่กวางเหนื่อยพอแล้ว แต่ช่วงนี้น้องอะตอมวัย 2 ขวบยังสนุกกับการจงใจเทน้ำรดพื้น โต๊ะกินข้าวหรือแม้แต่เทรดตัวเองเสียอีกแน่ะ
หนูเตะบอลเป็นแล้วนะ!
ลูกวัยเตาะแตะของคุณยังเดินไม่ค่อยเก่งเลยด้วยซ้ำ แต่อยู่ๆเขาก็เตะลูกบอลยางให้คุณเห็นเข้าพอดี เอ๊ะ! นี่คุณตาฝาดไปหรือเปล่าเนี่ย
หนูอารมณ์ ‘บ่จอย’ นะแม่!
บางวัน เจ้าตัวเล็กวัยเตาะแตะก็หงุดหงิดกับทุกคนและทุกเรื่อง ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นยันพระอาทิตย์ตก ทำไมถึงเป็นแบบนี้…
ลูกพร้อม ‘เรียนเสริม’ แล้วหรือยัง?
เวลาคุณมองลูกชายจอมซนจ้องดูพี่ๆ ว่ายน้ำในสระตาไม่กระพริบ หรือตอนที่แม่หนูตัวน้อยกระโดดโลดเต้นเข้ากับจังหวะเพลงพี่เบิร์ดแบบนี้
ตัวแค่นี้ เลือกเสื้อผ้าใส่เองแล้วนะ
เรื่องแต่งตัวของหนุงหนิงมักเป็นประเด็นปวดเศียรเวียนเกล้าของคุณแม่เสมอ ตั้งแต่อายุได้ขวบเศษๆ คราวจะพาออกงานแต่งงาน แม่เตรียมชุดสวยให้ ลูกสาวกลับเลือกใส่ยีนส์
ชวนแม่เล่นซ่อนหา
“แอบ แอบ แอบ!” มะเหมี่ยวร้องตะโกนขณะวิ่งออกไปยังลานหน้าบ้าน แม่หนูรู้จักการเล่นซ่อนหาตอนอายุ 2 ขวบครึ่ง
เมื่อพี่ไปโรงเรียน
วันแรกที่พี่สาวไปโรงเรียน น้องต๊อบวัย 2 ขวบได้แต่เดินไปเดินมารอบๆบ้าน และถามว่า “พี่หนูอยู่หนาย…”