พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ 1-3 ปี การเดินก้าวแรก ยิ้มครั้งแรก และการโบกมือครั้งแรก

หนูแค่ดูหน้า…ก็รู้แล้ว

อยากบอกลูกว่า “อย่าทำแบบนั้นได้ไหม!” แต่ช้าก่อน…ออมเสียงไว้ก่อน ลองขมวดคิ้วแทนดีกว่า

หนูทำตามสั่งได้แล้วนะจ๊ะแม่

ถ้านึกภาพเจ้าตัวเล็กวัยเตาะแตะ พ่อแม่คงยังไม่คิดถึงคำว่า “ลูกมือ” หรือ “ผู้ช่วย” ในเรื่องต่างๆ แน่ แต่ความจริงแล้ววัยนี้แหละเป็นโอกาสเหมาะที่จะสอนเรื่องหน้าที่และความมีน้ำใจ

เมื่อลูกเตาะแตะวีนเวลาทำอะไรไม่ได้ดังใจ ทำไงดี!

เวลาวาดรูปหรือต่อบล็อกแล้วไม่ได้อย่างใจคิด เด็กวัยนี้มักหงุดหงิด จนถึงขั้นร้องบ้านแตก จะป้องกันสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์แบบนี้อย่างไรดี

ทำอย่างไร? ให้เตาะแตะสนใจฟังแม่บ้าง

พฤติกรรมหูทวนลม ไม่สนใจฟังแม่ของลูกวัยเตาะแตะนั้นช่างน่าโมโหซะจริงเชียว แต่จริงๆ แล้วกลับเป็นเรื่องปกติสำหรับวัยนี้ แล้วจะดึงความสนใจให้ลูกมาฟังคุณอย่างไรดี

เล่น = การเรียนรู้แสนสนุก

สำหรับวัยเตาะแตะ การเล่นถือเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาการที่สำคัญ ยิ่งถ้าคุณร่วมเล่นด้วยแล้วละก็ ยิ่งสนุก มีความสุขไปเสียหมด

กฎ 3 ข้อรับมือลูกเล็กร้องไห้เอาแต่ใจให้ได้ผล!

ทำไมเด็กๆ ถึงชอบร้องไห้คร่ำครวญเสมอ? ก็เพราะการร้องไห้งอแงเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด (สำหรับคุณอาจจะน่ากวนใจที่สุด) ที่จะเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่น่ะสิ!

หนูกินช้า (มาก) ไปแล้วนะ


ถ้าลูกเป็นคนที่กินข้าวเสร็จช้าที่สุดในบ้าน คนอื่นอิ่มกันหมดแล้วก็ยังนั่งกินคนเดียวได้ตั้งนาน เพราะอยากนั่งกินไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอิ่ม จะทำให้ลูกกินเร็วขึ้นได้อย่างไร

โอย! ทำไมไม่นั่งกินดีๆ ละจ๊ะลูก

ไม่ว่าคุณจะขอร้อง อ้อนวอน พร่ำเรียก หรือดุว่าสักแค่ไหน ลูกวัยเตาะแตะก็ไม่ยอมนั่งกินดีๆจนท้องอิ่ม ผุดลุกผุดนั่งจนคุณท้อ กินได้แค่ 2-3 คำอาหารก็เย็นชืดไม่น่ากินซะแล้ว

เมื่อลูกฮา พาแม่เครียด

ทำไมหนอลูกเราถึงชอบเล่นตลก ทำท่าแปลกๆ บ๊องๆ อยู่เรื่อย ใหม่ๆ ก็น่ารักน่าชัง เรียกเสียงหัวเราะได้ดี แต่หลังๆ ชักน่ารำคาญจนคนอื่นไม่ค่อยสนุกด้วยแล้ว

พ่อแม่แสดงความรักต่อกัน…แค่ไหนถึงจะเหมาะ

การพูดเป็นประโยคง่ายๆ ที่มีแค่ 2 คำตอนอายุราว 2 ขวบ ซึ่งฟังคล้ายภาษาของพวกมนุษย์ถ้ำ เช่น พ่อไปŽ หรือ หนมอีกŽ นั้นหมายถึงการพัฒนาทางสมองของลูกที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

เทคนิคสยบ อาการ หงุดหงิด อาละวาด เหวี่ยงวีน

ถ้าลูกชอบร้องไห้แบบไม่มีเหตุผลหรือแผลงฤทธิ์เมื่อไม่ได้ดังใจ คุณจะรับมืออย่างไรดี

คิดให้ดี คำสั่งแม่นี่คลุมเครือรึเปล่า?

ไม่ว่าแม่จะสั่งให้เก็บของเล่นที่กองอยู่เต็มบ้านหรือแต่งตัวออกไปเที่ยวนอกบ้านกัน หนูน้อยก็ไม่ทำตามที่แม่สั่งเลยสักอย่าง แล้วอย่างนี้จะยอมให้ความร่วมมือกับคุณครูตอนต้องไปโรงเรียนหรือเปล่าเนี่ย

ปิดๆ เปิดๆ สนุกยังไง

อเล็กซ์วัย 2 ขวบ มีของเล่นตั้งมากมาย แต่ ของเล่นŽ ชิ้นใหญ่ที่ดึงดูดเขาได้นานที่สุดคือบานประตูอเล็กซ์สามารถเปิดปิดๆ อยู่อย่างนั้นเป็นชั่วโมง ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเขาหลงใหลกิจกรรมนี้แค่ไหน

เมื่อลูก อยากลองของ

ถ้าคุณสุดจะทนกับพฤติกรรมท้าทายของวัยเตาะแตะ เช่น หย่อนเลโก้ใส่ในช่องแอร์ทีละอัน

ป่วนทุกที เวลาที่แม่ติดสาย

อาจเหมือนเรื่องเล็ก แต่ก็เป็นประเด็นคลาสสิก ที่คุณแม่หลายคนอยากหาทางแก้แบบละมุนละม่อม คุณแม่จูเล่าว่าน้องแจ็ค ลูกชายวัย 1 ขวบ 8 เดือน จะเกิดอาการหวีดวีน ทุรนทุรายทุกทีเวลาที่แม่มีโทรศัพท์เข้า ดูเหมือนเขาต้องการความสนใจมากเป็นพิเศษในจังหวะนั้น   วัยเตาะแตะ “ไม่ปลื้ม” กับอะไรก็ตามที่มาแย่งความสนใจของคุณไป ไม่ว่าจะเป็นกระดาษบนโต๊ะที่แม่กำลังจดรายการกับข้าว อาหารในครัวที่แม่ต้องปรุงให้เสร็จ และแน่นอน เจ้าโทรศัพท์ที่ดังแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย เด็กวัยนี้ทำตัวไม่ถูก รู้สึกเคว้ง เมื่อพ่อแม่ละความสนใจจากเขาไปคุยกับวัตถุชิ้นเล็กอย่างกะทันหัน และปฏิกิริยาเดียวที่เขาพอจะนึกออกคือ “กรี๊ด” เพื่อเรียกความสนใจคืนมา และพ่อแม่ส่วนใหญ่ยอมจำนนต่อมือน้อยๆ ที่ทึ้งอยู่ตรงหัวเข่า ยอมวางสายทั้งนั้น ทั้งนี้อาการเอาชนะโทรศัพท์ขึ้นอยู่กับพื้นอารมณ์ของเด็กและวิธีรับมือของคุณด้วย คาถาให้การคุยราบรื่นคงไม่มี แต่เรามีเทคนิคให้ลูกยอมสงบชั่วครู่มาแนะนำ   ทำเป็นตื่นเต้น แทนที่จะกำชับว่า “เดี๋ยวตอนแม่คุยโทรศัพท์ลูกห้ามกวนเข้าใจไหม” เพราะแน่นอนว่ามันไม่ได้ผลหรอก เมื่อโทรศัพท์ดัง รีบรุดไปที่โทรศัพท์อย่างตื่นเต้น “อุ๊ย! ใครโทร.มาน้า”เพื่อให้รู้ว่าโทรศัพท์ไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นเพื่อนที่น่าตื่นเต้นต่างหาก   อย่าระเบิดอารมณ์กลับ ข้อนี้คือกฎเหล็กในการตอบสนองวัยเตาะแตะอยู่แล้ว ความต้องการคุณแบบปุบปับนี้ แม้คุณเองจะรู้สึกว่ามันดูไม่สมเหตุสมผลเท่าไร แต่หากยิ่งต่อต้านหรือเล่นไม้แข็งอาการวีนมีแต่จะลุกลามเท่านั้น สัมผัส ลูบหลัง กอดเขาไว้ อุ้มมานั่งตัก และเล่นกระเด้งดึ๋งๆ ช่วยลดอาการ “อิจฉาโทรศัพท์” […]

แม่อย่าเพิ่งกลุ้ม จู่ๆ ลูกไม่ยอมอาบน้ำ

น้องโรม วัยขวบครึ่ง ก่อนหน้านี้ชอบอาบน้ำมาก แต่อยู่มาวันหนึ่งก็เกิดไม่อยากถูกน้ำเสียนี่

เฮ้อ…ร่วมโต๊ะกินข้าวทีไร เละทุกที

ให้เตาะแตะกินอาหารบนโต๊ะทีไรเละทู้กที โยนอาหารลงพื้นบ้าง ละเลงบ้าง ผุดลุกผุดนั่งจนถ้วยข้าวพลิกคว่ำ แถมทำน้ำส้มหกซ้ำอีกต่างหาก

ลูกดื้อเหลือเกิน ทำไงดี

เพราะอะไรลูกถึงดื้อเหลือเกิน ไม่ยอมฟังพ่อแม่เลย จะทำอย่างไรดี

keyboard_arrow_up