การดูแลเด็กวัยเตาะแตะ
การดูแลเด็กวัยเตาะแตะ หรือเด็กวัยก่อนเรียน พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กวัย 1-3 ปี จินตนาการ การเรียนรู้เด็กจำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยทารก วัยเตาะแตะจนถึงวัยอนุบาล
ให้ลูกกินขนมหวานบ้างได้ไหม
ลูกสาวอายุ 1 ขวบค่ะ ดิฉันและสามีตกลงกันว่าจะไม่ตามใจลูกเวลาที่เขาขอกินของที่มีน้ำตาลผสมอยู่ด้วย แต่บางครั้งดิฉันก็เผลอหยิบให้เพราะอยากเอาใจเขา ควรทำอย่างไรดีคะ ดิฉันละอายใจมากๆ เลย
ไม้เด็ด สยบอารมณ์ร้ายใกล้ระเบิดของลูก
บ่ายวันหยุดที่คุณและลูกพากันไปช็อปปิ้ง คุณกำลังจะจ่ายเงินเสร็จภายใน 3 นาที แต่เจ้าตัวเล็กของคุณก็กำลังจะระเบิดอารมณ์ชนิดเต็มขั้นภายใน 1 นาทีข้างหน้านี้แล้ว และนี่คือบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อควบคุมสถานการณ์ในเร็วพลัน “ลูกอย่าเพิ่งตะโกนนะ รอให้เราออกไปข้างนอกก่อน เพราะแม่จะไม่ได้ยินที่ลูกพูดเลยตอนที่อยู่ในที่คนเยอะๆ แบบนี้” “อุ๊ย! ดูสิลูก ตอนนี้เราอยู่โซนผักผลไม้ เดี๋ยวลูกไปร้องที่โซนขนมดีมั้ย ระหว่างที่เดินไปตรงนั้น เราร้องเพลงเอบีซีไปด้วยกันนะ” “เอามือปิดปากไว้จนกว่าเราจะไปถึงที่รถนะ อย่าเพิ่งเปิดปากนะลูก! ปิดไว้อย่าให้ใครเห็นปากลูกนะ” “หนูช่วยถือกุญแจอันนี้ให้แม่ก่อนได้มั้ย (หรือจะเป็นอย่างอื่นก็ได้ เช่น กระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์ แว่นตา ฯลฯ) แล้วรอให้แม่จ่ายเงินเสร็จก่อนนะ แป๊บเดียวลูก” “รู้มั้ย ตอนที่แม่โมโหนะ แม่จะหิวมาก ลองไปหาอะไรอร่อยๆ กินกันนะ”แต่ถ้าทุกวิถีทางดูเหมือนไม่ได้ผล นั่นน่าจะเป็นเพราะความอดทนของคุณ (และลูก) เริ่มหมดแล้วละ พาลูกกลับบ้านดีกว่าค่ะ บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
ลูกเดินได้เร็ว หรือ ช้า อย่ากังวล
การตามติดลูกทารกเข้าวัยเตาะแตะ เรื่องเดินเป็นพัฒนาการสำคัญที่พ่อแม่มือใหม่จับจ้องมาก ทั้งรอ ลุ้นตื่นเต้นเวลาเห็นลูกขยับ ไปจนถึงกังวลสุดๆ ที่ไม่เห็นลูกเดิน
แต่งตัว + อาบน้ำ + กิน วัยนี้ควรทำอย่างไร
คุณอาจช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูก ด้วยการเตรียมอุปกรณ์ที่เอื้อให้เขาลงมือทำอะไรๆ เองได้
ลูกกลัวการพยายามด้วยตัวเอง
เมื่อลูกวาดรูป เล่นตัวต่อ สวมถุงเท้า หรืออะไรก็ตาม เขามักจะไม่พอใจสิ่งที่ตัวเองทำ และให้คุณแม่ช่วยตลอด ไม่อยากให้เขาติดนิสัยนี้ จะทำอย่างไรดีคะ
ง่ำ ง่ำ ง่ำ เคี้ยวแต่ของไม่น่าเคี้ยว
คุณแม่น้องเกมวัย 3 ขวบ 5 เดือนกำลังกังวลใจกับพฤติกรรมการชอบเคี้ยวเสื้อตัวเอง
ก่อนนอนชอบหอบของเล่นมาไว้บนเตียง
ก่อนนอนทุกคืน บนเตียงของน้องบุ๊ควัย 2 ขวบ 2 เดือน จะต้องมีผ้าห่มสีฟ้าประจำตัว ผ้าเล็กๆ อีก 4 ผืน ตุ๊กตาสัตว์นับสิบตัว หมอนรูปแมวใบคู่ใจ
ลูกชอบทำตัวมอมแมม
ลูกสาวทำตัวมอมแมมอยู่ตลอดเวลา ต่อให้จับอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ใหม่ก็นั่งสวยๆ อยู่ได้ไม่เกิน 2 นาที เจ้าตัวดีก็ทำเสื้อเปรอะอีกแล้ว ไม่ทราบจะแก้ปัญหาอย่างไรดี
“คำไหน” ไม่ควรพูดกับลูก
วิธีที่ดีที่สุดในการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี นั่นคือมีทัศนคติเชิงบวกเมื่อพูดคุยกับลูก
เมื่อหนูไม่รู้จักคำว่า “รอ”
คงเป็นเรื่องน่าปวดหัวไม่ใช่เล่นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เมื่อต้องรับมือกับอาการ “จะเอาเดี๋ยวนี้” ของเจ้าตัวเล็ก
เปลี่ยนคำว่า ” ไม่ ” เป็น ” ได้ ” บ้างเถอะนะ
การตอบปฏิเสธลูกวัยเตาะแตะมักเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่วิธีนี้ก็คงทำให้ทั้งคุณและลูกเสียความรู้สึกมิใช่น้อย เพราะฉะนั้นเรามาลดจำนวนครั้งที่จะพูดคำว่า ไม่ กับลูกกันดีกว่า
กอดอย่างไร ไม่ทำให้ลูกอึดอัด
ทำไมอยู่ดีๆ ลูกน้อยที่เคยชื่นชอบอ้อมแขนของผู้เป็นแม่ถึงดิ้นรนผลักไสทุกครั้งที่แม่พยายามจะกอดให้ชื่นใจ ลูกไม่รักแม่แล้วหรือไงนะ
ไปกินข้าวนอกบ้าน (แบบราบรื่น) กันนะลูก
วัยเตาะแตะสามารถอ้อยอิ่งได้ทุกที่ ยกเว้นบนเก้าอี้ที่นั่งกินข้าวอยู่! เรามีเคล็ดลับในการพาลูกวัย 1 – 2 ขวบไปกินข้าวข้างนอกบ้านอย่างสันติ และทำให้ทุกคนสนุกกับกิจกรรมนี้มากขึ้นมาฝากกัน
พูดเบาๆ หน่อยสิลูก
เด็กๆ ชอบทำเสียงดัง (มาก…ก) กันทุกคน ทั้งกรี๊ดทั้งตะโกนเวลาตื่นเต้นหรือต้องการเรียกร้องความสนใจ ทั้งที่พูดด้วยความดังปกติก็ได้ แล้วจะสอนลูกอย่างไรดี
9 วิธี สยบสงคราม ยามสระผมเตาะแตะ
ถึงเวลาสระผมทีไร เจ้าตัวน้อยเป็นต้องทั้งดิ้นทั้งร้องกรี๊ดๆ จนสระเสร็จ ทำเอาเหนื่อยและเข็ดขยาดกันทั้งสองฝ่าย จะมีทางออกดีๆ บ้างไหมนะ
เมื่อลูกต้องนอน “ต่างที่”
การต้องนอนในที่ใหม่ๆ ที่ไม่ใช่บ้านเช่น ศูนย์รับเลี้ยงเด็กหรือบ้านญาติพี่น้อง
เคล็ดลับจัดการของเล่นเกลื่อนบ้าน
“อธิบายกับลูกว่าเรากำลังจะทำความสะอาดบ้านกันนะ และจะต้องแยกประเภทของเล่นเป็น 3 กองด้วยกัน หนึ่ง คือของเล่นที่อยากจะให้กับคนที่ไม่มี สองของเล่นที่เราสามารถเอาไปขายและเอาเงินไปซื้อของเล่นชิ้นใหม่ได้ (กองนี้ดูจะมีน้อยที่สุด) และกองสุดท้าย เป็นของเล่นที่จะเก็บไว้เล่นอีก หลังจากจัดการแยกประเภทแล้วเราก็จะแบ่งกองสุดท้ายเป็น 2 กองกองหนึ่งเป็นของเล่นประจำ และอีกกองเป็นของเล่นที่จะเอาออกมาในโอกาสพิเศษ” วาริธร คุณแม่น้องเมย์ 4 ขวบ และน้องมิ้ม 2 ขวบ “ขอสารภาพว่าแม่ชอบจัดการเหล่าของเล่นเมื่อตอนที่ลูกหลับ แต่แม่ก็อธิบายกับลูกอยู่เสมอว่าเราต้องแบ่งปันของเล่นบางอย่างให้กับคนที่ไม่มีบ้าง เราจะได้มีห้องว่างขึ้นสำหรับของเล่นวันเกิดของลูกน่าประหลาดใจมากที่เขาก็เข้าใจด้วยค่ะ” นพวรรณ คุณแม่น้องวาว วัย 5 ขวบ 6 เดือน “ลูกชายคนนี้จะช่วยคุณพ่อคุณแม่เลือกของเล่นที่อยากจะบริจาคให้พี่เลี้ยง (ซึ่งก็คือคุณน้าของเขาเองค่ะ) และเขาก็จะเอาไปให้หลานๆ คนอื่นเล่นบ้าง หรือไม่ก็บริจาคบ้างเทคนิคคือ เราจะเก็บกวาดของเล่นหลังจากโอกาสพิเศษ เช่น งานวันเกิด เพราะเขาจะมีของเล่นชิ้นใหม่มาดึงความสนใจแทน สุพิชญา คุณแม่น้องพีช วัย 4 ขวบ 3 […]
ทีวีจะมีประโยชน์ ถ้าเลือกรายการ
คุณแม่หลายท่านปล่อยให้ลูกดูโทรทัศน์อยู่คนเดียว เพราะคิดว่า “ปล่อยไว้หน้าทีวีไม่เป็นไรหรอก รายการนี้เป็นของเด็ก แถมเราจะได้มีเวลา