การดูแลเด็กวัยเตาะแตะ
การดูแลเด็กวัยเตาะแตะ หรือเด็กวัยก่อนเรียน พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กวัย 1-3 ปี จินตนาการ การเรียนรู้เด็กจำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยทารก วัยเตาะแตะจนถึงวัยอนุบาล
วิธีเลือกเครื่องนอน เด็กวัย 1-3 ปี
ผมสงสัยว่า ลูกวัย 11 เดือนจะใช้หมอนหรือผ้าห่มได้หรือยังครับ เพราะที่ผ่านมา บ้านเรายังไม่ได้ใช้ด้วยกลัวว่าจะเกิดอันตรายกับลูก
เมื่อต้องดูแลทั้งพี่และน้อง พร้อมกัน ทำไงดี
ดิฉันมีลูกสองคนค่ะ คนหนึ่งอายุสองขวบครึ่งส่วนอีกคนหนึ่งยังเล็กอยู่เลย ปัญหาคือ เวลาที่ต้องกล่อมคนเล็กนอน ดิฉันจะปล่อยคนโตไว้กับทีวีพร้อมของว่าง แต่ก็ห่วงว่าเขาโตพอที่จะดูแลตัวเองได้หรือยังคะ
อย่าให้ “สนามเด็กเล่น” ทำร้ายลูก
ต้นปีอากาศดีๆ แบบนี้เหมาะที่สุดสำหรับกิจกรรมนอกบ้าน ตอนเช้าไปรับแดดอุ่นๆหรือยามเย็นอากาศสบายๆ ชวนกันไปสนามเด็กเล่น
เตาะแตะงอแงแต่เช้า! ไม่เอานะลูก
ช่วงเวลาเช้าของบ้านส่วนใหญ่มักเป็นอะไรที่ยุ่งมากๆ ไหนจะต้องหุงหาข้าวปลาอาหาร ไหนจะต้องรีบแต่งตัวไปทำงาน และอีกหลายบ้านก็อาจเพิ่มกิจวัตรปราบเจ้าเซียนตัวน้อยเข้าไปด้วย
ไม่ว่าชิ้นไหน ก็เป็นของ “หนู”
“ของหนูนะ” เป็นคำพูดประจำตัวของเด็กวัยนี้ทุกคน ทั้งของตัวเอง หรือของแม่ ของพ่อ ฯลฯ ทุกอย่างเป็นของหนูได้หมด แถมพร้อมจะหอบของมากมายไปด้วยกันหมดในคราวเดียว
ขี้มูกนะลูก ไม่ใช่ของเล่น!
แม้เด็กๆ จะค้นพบว่า การแคะขี้มูกเป็นเรื่องน่าสนุก และเด็กๆ ทุกคนจะทำกัน แต่เห็นทีไรก็น่ายี้อยู่ดี มาลองหาทางลดพฤติกรรมสนุกแต่ชวนสกปรกนี้ดีกว่า
วิธีหยุดลูกป่วนในร้านอาหาร
จะทำอย่างไรให้ลูกเตาะแตะ นั่งสงบๆ กินอาหารในร้านอาหารได้ ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปสำหรับคำถามนี้ แต่เรามีปัจจัยที่ทำให้เขาอยู่นิ่งหรือไม่นิ่งมาให้คุณลองปรับใช้ดู
“น้องหมาหาย” อธิบายให้ลูกฟังยังไงดี
ถ้าวันหนึ่งสัตว์เลี้ยงแสนรักของลูกวัยอนุบาลต้องหายตัวไป คุณจะอธิบายให้ลูกวัยนี้เข้าใจได้อย่างไร
กลวิธี ช่วยลูกเข้าสังคมง่ายขึ้น
ถึงจะพูดได้ว่า วัยเตาะแตะเป็นวัยจุ้นจ้านเป็นที่สุด อยู่นิ่งไม่เป็น เพราะความต้องการแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นตัวของตัวเองได้
เมื่อ ” แม่ ” แอบอิจฉาพี่เลี้ยง
ดิฉันให้คุณแม่เลี้ยงลูกวัย 1 ขวบในตอนกลางวันที่ไปทำงาน ตอนนี้ลูกชอบไปอ้อนคุณยายมากกว่า จนดิฉันเกิดความรู้สึกอิจฉา จะทำอย่างไรดีคะ จะส่งลูกไปอยู่ที่เนิร์สเซอรี่แทนคุณยายดีไหม
3 วิธีสยบลูก เมื่อไม่ยอมฟังคำสั่ง
1. มั่นใจในตัวเองเข้าไว้ สิ่งที่คุณบอกไม่ใช่คำขอร้องหรือข้อเสนอแนะ แต่เป็น “คำสั่ง” ดังนั้นเมื่อคุณจะบอกให้ลูกทำอะไร ใช้น้ำเสียงที่จริงจังและอย่าเปิดโอกาสให้เขาโต้แย้ง 2. ประสานสายตา ก่อนที่จะบอกให้ลูกทำอะไร ขยับเข้าไปใกล้และประสานสายตากับเขา อย่าเพิ่งออกปากสั่งจนกว่าลูกจะหันมามองตาคุณ 3. ชัดเจน บอกลูกว่า “แม่อยากให้หนูทำ…และ…” รอจนกระทั่งลูกตอบว่า “โอเค” หรือ “ไม่เอา” ก่อน ถ้าเขาไม่ยอมทำตามหรือทำเป็นไม่ได้ยิน ทวนคำสั่งอีกครั้งโดยไม่แสดงอาการโกรธหรือหงุดหงิด ลูกจะรู้ว่าคุณตั้งใจให้เขาทำสิ่งนั้นๆ จริงๆ และจะไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามด้วย บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
9 เทคนิค ฝึกลูกให้รักการกิน
1. เสิร์ฟอาหารทีละน้อยๆ ถ้ากลัวลูกไม่อิ่มค่อยเติมให้อีกทีหลัง 2. ไม่เสิร์ฟของว่างระหว่างมื้อ 3. จำกัดเครื่องดื่มระหว่างมื้อและในมื้ออาหาร ของเหลวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำผลไม้ นม หรือแม้แต่น้ำเปล่าก็กินพื้นที่ในกระเพาะทั้งนั้น 4. ลอง Finger Food การกินอาหารเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เรื่องความมั่นใจในตัวเอง หนูๆ จะกินได้มากขึ้นถ้าเขาสามารถควบคุมจังหวะหรือปริมาณของอาหารที่จะเอาเข้าปากได้ 5. ทำให้น่าสนใจขึ้น เช่น เพิ่มสีสัน รูปร่าง หรือพื้นผิวของอาหารให้หลากหลาย 6. รับประทานด้วยกัน ถ้าเจ้าจอมซนต้องนั่งกินอาหารคนเดียว เขาอาจคิดว่าตนเองถูกกักขังและบังคับ เพราะฉะนั้น ชวนทุกคนในบ้านมากินข้าวพร้อมกันดีกว่า 7. ปิดทีวี 8. ชวนเพื่อนๆ ของลูกมากินข้าวหรือขนมด้วยกัน (บางมื้อ) เด็กๆ จะรู้สึกสนุกกับการกินอาหารมากขึ้น 9. รอดูท่าที เสิร์ฟอาหาร และรออยู่เงียบๆ สัก 20 นาที หากว่าลูกยังไม่ยอมแตะช้อนจึงค่อยออกปากเตือน ถ้าลูกยังไม่ยอมฟังก็เก็บโต๊ะไปได้เลย […]
หาวิธีบอกลูกเตาะแตะ เมื่อแม่เล่นด้วยไม่ได้
บางเวลาคุณก็เล่นกับลูกไม่ได้ หรือไม่ว่างจะเล่นด้วยจริงๆ แม้จะรู้ว่าช่วงที่เราเล่นกับลูกเป็นเวลาสำคัญของการพัฒนาทักษะต่างๆ ของลูก และเพิ่มพูนความผูกพันของคุณกับลูก เรามีวิธีแก้ปัญหานี้มาฝาก
สอนลูกให้เข้มแข็ง + ป้องกันตัวเองเมื่อยื้อแย่งกับเพื่อน
เมื่อต้องเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน การทะเลาะกันของเด็กๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา เรามีวิธีแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกน้อยเรียนรู้ความเข้มแข็ง และปกป้องตัวเองได้ค่ะ
ควรแคะขี้หูให้ลูกๆไหม
คุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจว่า “ขี้หู” เป็นของเสียจากร่างกายที่ต้องกำจัดทิ้ง ด้วยการแคะ เช็ด ล้าง ฯลฯ แต่ความจริง ขี้หูมีประโยชน์กว่าที่เราคิดเยอะ ไม่เชื่อลองมาฟังกันดู
” ชมลูกเข้าไว้ ” คาถาป้องกันไม่ให้ลูกซ่าเกินควร
เวลาที่พาลูกไปเพลย์กรุ๊ปจะมีเด็กคนหนึ่งมักท้าทายความอดทนของเราเสมอเลยค่ะ เวลาดิฉันบอกลูกว่า อย่าทำอะไร เด็กคนนั้นจะทำตรงข้ามกับที่ดิฉันสั่งลูกทันที ดิฉันควรทำอย่างไรดีคะ กลัวลูกจะทำตามเด็กคนนั้นจังเลย
แก้นิสัยชอบกัดเล็บของลูก
มีเทคนิคง่ายๆ แก้อาการกัดเล็บของเด็กๆ มาฝากค่ะ เมื่อไรที่ลูกเริ่มจะยกนิ้วขึ้นแทะ ให้คุณแม่รีบบีบจมูกน้อยๆ ของลูกทันที(ระวังอย่าให้หนักมือเกินไป)
วางแผนพาลูกท่องป่า…จะไหวไหมนี่
“ไปกางเต็นท์เที่ยวป่ากันเถอะ” คุณพ่อชวน “นอนนอกบ้าน…แค่คิดก็สยองแล้วนะ” แม่ว่า อาจฟังดูยากไปใช่ไหมเรื่องการที่จะพาลูกไปเที่ยวป่าเขาลำเนาไพร แถมประสบการณ์ใหม่…นอนเต็นท์!