เด็ก 1-3 ปี
พัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในวัย เด็ก 1-3 ปี เด็กจะ พูดจาโต้ตอบได้ดี เคลื่อนไหวของร่างกายได้มากขึ้น ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
เย้าแหย่ แบบไหน ลูกไม่รู้สึกแย่
เราชอบพูดแหย่ลูกเล่นสนุกๆ และเขาก็ดูเหมือนสนุกไปกับเราด้วย แต่เคยได้ยินมาว่า
เมื่อลูก อยากลองของ
ถ้าคุณสุดจะทนกับพฤติกรรมท้าทายของวัยเตาะแตะ เช่น หย่อนเลโก้ใส่ในช่องแอร์ทีละอัน
ป่วนทุกที เวลาที่แม่ติดสาย
อาจเหมือนเรื่องเล็ก แต่ก็เป็นประเด็นคลาสสิก ที่คุณแม่หลายคนอยากหาทางแก้แบบละมุนละม่อม คุณแม่จูเล่าว่าน้องแจ็ค ลูกชายวัย 1 ขวบ 8 เดือน จะเกิดอาการหวีดวีน ทุรนทุรายทุกทีเวลาที่แม่มีโทรศัพท์เข้า ดูเหมือนเขาต้องการความสนใจมากเป็นพิเศษในจังหวะนั้น วัยเตาะแตะ “ไม่ปลื้ม” กับอะไรก็ตามที่มาแย่งความสนใจของคุณไป ไม่ว่าจะเป็นกระดาษบนโต๊ะที่แม่กำลังจดรายการกับข้าว อาหารในครัวที่แม่ต้องปรุงให้เสร็จ และแน่นอน เจ้าโทรศัพท์ที่ดังแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย เด็กวัยนี้ทำตัวไม่ถูก รู้สึกเคว้ง เมื่อพ่อแม่ละความสนใจจากเขาไปคุยกับวัตถุชิ้นเล็กอย่างกะทันหัน และปฏิกิริยาเดียวที่เขาพอจะนึกออกคือ “กรี๊ด” เพื่อเรียกความสนใจคืนมา และพ่อแม่ส่วนใหญ่ยอมจำนนต่อมือน้อยๆ ที่ทึ้งอยู่ตรงหัวเข่า ยอมวางสายทั้งนั้น ทั้งนี้อาการเอาชนะโทรศัพท์ขึ้นอยู่กับพื้นอารมณ์ของเด็กและวิธีรับมือของคุณด้วย คาถาให้การคุยราบรื่นคงไม่มี แต่เรามีเทคนิคให้ลูกยอมสงบชั่วครู่มาแนะนำ ทำเป็นตื่นเต้น แทนที่จะกำชับว่า “เดี๋ยวตอนแม่คุยโทรศัพท์ลูกห้ามกวนเข้าใจไหม” เพราะแน่นอนว่ามันไม่ได้ผลหรอก เมื่อโทรศัพท์ดัง รีบรุดไปที่โทรศัพท์อย่างตื่นเต้น “อุ๊ย! ใครโทร.มาน้า”เพื่อให้รู้ว่าโทรศัพท์ไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นเพื่อนที่น่าตื่นเต้นต่างหาก อย่าระเบิดอารมณ์กลับ ข้อนี้คือกฎเหล็กในการตอบสนองวัยเตาะแตะอยู่แล้ว ความต้องการคุณแบบปุบปับนี้ แม้คุณเองจะรู้สึกว่ามันดูไม่สมเหตุสมผลเท่าไร แต่หากยิ่งต่อต้านหรือเล่นไม้แข็งอาการวีนมีแต่จะลุกลามเท่านั้น สัมผัส ลูบหลัง กอดเขาไว้ อุ้มมานั่งตัก และเล่นกระเด้งดึ๋งๆ ช่วยลดอาการ “อิจฉาโทรศัพท์” […]
เท้างอ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
สำหรับช่วงต้นขวบปีที่ 2 อาการปลายเท้างอเข้าหาตัวหรือ Pigeon Toe นั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ โดยส่วนมากมักมีสาเหตุจากการบิดงอของกระดูกบริเวณหน้าแข้ง
ลูกเริ่มไม่อยากนอนกลางวัน
หนึ่งชั่วโมง…สองชั่วโมง…นอนแค่ไหนถึงจะพอนะ สำหรับวัยหัดเดินจอมซน ที่การจับนอนกลางวันดูจะ ยากขึ้นเสียแล้ว
เฮ้อ…ร่วมโต๊ะกินข้าวทีไร เละทุกที
ให้เตาะแตะกินอาหารบนโต๊ะทีไรเละทู้กที โยนอาหารลงพื้นบ้าง ละเลงบ้าง ผุดลุกผุดนั่งจนถ้วยข้าวพลิกคว่ำ แถมทำน้ำส้มหกซ้ำอีกต่างหาก
“แม่จ๋า! ทำไมหัวใจหนูเต้นแรง”
วัยเตาะแตะ (ราว 1ขวบ 8 เดือนขึ้นไป) เป็นช่วงที่เริ่มค้นพบว่า เวลาที่เขากลัวอะไรมากๆ หัวใจจะเต้นกระหน่ำ “ตุบๆ ๆ” อยู่ในอก คุณสามารถอธิบายกับลูกว่า อาการนี้ไม่น่ากลัวอะไร และร่างกายของเราทุกคนจะเป็นเช่นนี้เวลาตกใจหรือรู้สึกกลัว แสดงให้ลูกดูวิธีสูดหายใจเข้าลึกๆ1 – 2 ครั้ง สอนให้เขาคิดถึงสิ่งดีๆ (อย่างพี่บาร์นี่หรือเพลงโปรด) บอกเขาว่า“ถ้าเป็นอีก หนูปีนขึ้นมาบนตักแม่ แม่จะกอดหนูเอาไว้แน่นๆ ดีไหมจ๊ะ” วิธีหลังนี้ก็ช่วยได้มาก บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
5 เทคนิคฝึกลูกสั่งน้ำมูก
เมื่อเข้าช่วงวัยก่อนเรียน เด็กๆ ส่วนใหญ่จะพัฒนาทักษะเกี่ยวกับระบบหายใจ โดยเฉพาะการสั่งน้ำมูก แต่ก็อาจมีหนูๆ บางคนที่ขนาดเข้าโรงเรียน
อาการ ” เสียหน้า ” พาลูกน้อยเสียน้ำตา
ผ้าอ้อมกลิ่นตุ (เพราะมีอึกองโตอยู่ในนั้น) หรือน้ำผลไม้ที่หกเลอะ
หลบหน่อย หนูกำลังพุ่งไปแล้ว!
บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องตกอกตกใจกับ จรวดตัวจิ๋ว ที่ร่อนหวือไปทั่วบ้าน เด็กวัยเตาะแตะพิสมัยการออกตัวและพุ่งไปให้เร็วที่สุดเท่าที่ขาเล็กๆ จะพาไปได้ พวกเขามีความสุขที่ได้วิ่งไปรอบๆ สำรวจทุกสิ่งรอบกาย
ลูกดื้อเหลือเกิน ทำไงดี
เพราะอะไรลูกถึงดื้อเหลือเกิน ไม่ยอมฟังพ่อแม่เลย จะทำอย่างไรดี
พี่-น้อง ง่วงนอนไม่พร้อมกัน ทำยังไงดี
อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว ฯลฯ พร้อมเข้านอนในเวลาเดียวกันทั้งพี่ – น้อง แต่อ่านนิทานให้น้องฟังเรื่องหนึ่งก่อน แล้วห่มผ้า
ปรับเปลี่ยนวิธี Timeout
ถ้าการใช้ เวลานอก ในช่วงนี้ไม่เวิร์คอีกต่อไป ก็คงถึงเวลาต้องปรับกลยุทธ์กันหน่อยแล้ว คือแทนที่จะใช้วิธีนี้รับมือหลังจากที่ลูกทำผิด
เทคนิคชวนลูกอาบน้ำ ชนิดไม่มีปฎิเสธ
น้องโมไม่ชอบอาบน้ำเลยค่ะ ลงอ่างทีไร ร้องไห้โยเยทุกที จะแก้ไขอย่างไรดีคะ
นักลอกเลียนแบบรุ่นจิ๋ว
การที่เด็กในวัยนี้ชอบทำอะไรเลียนแบบพ่อแม่หรือคนที่โตกว่า นั่นเพราะว่าการเลียนแบบพฤติกรรมหรือการกระทำต่างๆ นั้นเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก ที่เป็นไปเพื่อการเรียนรู้ทักษะของชีวิต
ฮา โหล ๆๆ สวัสดีครับ
คุณยายโทร.มาทีไร น้องเพลงเป็นต้องอยากคุยด้วยทุกครั้ง
นักร้องเสียงใสประจำบ้าน
การร้องเพลงแบบ หลงคีย์ ถือเป็นเรื่องปกติของเด็กวัย 2 ขวบ
เทคนิคเอาใจวัย 1-3
เมื่อต้องป้อนข้าววัยเบบี๋ เคยสังเกตบ้างไหมว่า พอถึงเวลาที่น้องเล็กวัยเบบี๋ต้องกินข้าว พี่ใหญ่วัยเตาะแตะก็เริ่มต้องการตัวคุณแม่ขึ้นมาทันที