พัฒนาการเด็ก พฤติกรรมลูก เด็ก 1-3 ปี พัฒนาการด้านภาษาและการพูดสื่อสาร

พาลูกออกสำรวจ

ยังรอไม่เก่ง ต้องล่อใจด้วยพืชผักโตไว ถ้าจะให้ลูกวัยนี้สนุกหรือสนใจการทำสวนก็ต้องดึงความสนใจแบบรวดเร็ว เช่น เพาะถั่วงอกบนกระดาษทิชชูหรือก้อนสำลีชุ่มน้ำ

ลูกฉายแวว ฉลาดด้านดนตรี บ้างหรือยัง?

เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องความถนัดอีกด้านหนึ่งของลูกน้อย นั่นคือความฉลาดทางด้านดนตรี ที่คุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยมักเลือกให้เป็นหนึ่งในการเรียนเสริมของลูกๆ

” สมอง ” มหัศจรรย์ และซับซ้อนกว่าจักรวาล

รากฐานสำคัญของการพัฒนาลูกน้อย (มีแต่เรื่องที่คุณอยากรู้ทั้งนั้น)

พาลูกน้อยวิ่งฝ่า “ความกลัว”

ความกลัวของเด็กวัยเตาะแตะทั้งที่มีเหตุผลและดูไม่มีเหตุผล มีสาเหตุ*อาจนำไปสู่ผลเสียต่อพัฒนาการต่างๆ ได้ วิธีรับมือก็คือ…

” ชมลูกเข้าไว้ ” คาถาป้องกันไม่ให้ลูกซ่าเกินควร

เวลาที่พาลูกไปเพลย์กรุ๊ปจะมีเด็กคนหนึ่งมักท้าทายความอดทนของเราเสมอเลยค่ะ เวลาดิฉันบอกลูกว่า อย่าทำอะไร เด็กคนนั้นจะทำตรงข้ามกับที่ดิฉันสั่งลูกทันที ดิฉันควรทำอย่างไรดีคะ กลัวลูกจะทำตามเด็กคนนั้นจังเลย

แก้นิสัยชอบกัดเล็บของลูก


มีเทคนิคง่ายๆ แก้อาการกัดเล็บของเด็กๆ มาฝากค่ะ เมื่อไรที่ลูกเริ่มจะยกนิ้วขึ้นแทะ ให้คุณแม่รีบบีบจมูกน้อยๆ ของลูกทันที(ระวังอย่าให้หนักมือเกินไป)

ควรแคะขี้หูให้ลูกๆไหม

คุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจว่า “ขี้หู” เป็นของเสียจากร่างกายที่ต้องกำจัดทิ้ง ด้วยการแคะ เช็ด ล้าง ฯลฯ แต่ความจริง ขี้หูมีประโยชน์กว่าที่เราคิดเยอะ ไม่เชื่อลองมาฟังกันดู

ชวนเจ้าตัวเล็ก รู้จักเรื่อง “เวลา”

ถามเรื่องเวลา เด็กวัยขวบกว่าๆ รู้จักแต่คำว่า “เดี๋ยวนี้” ส่วนเรื่องอดีตหรืออนาคตน่ะหรือ หนูน้อยของเราเขาไม่สนใจหรอก หนูหิวก็ต้องเดี๋ยวนี้

หนูมอง “สิ่งที่คล้ายกัน” ว่าเป็น “สิ่งเดียวกัน”

สิ่งแรกๆ ที่วัยเตาะแตะพูดได้ มักจะเป็นชื่อเรียกสิ่งของหรือบุคคล แต่ก็ใช่ว่าเขาจะแยกแยะอะไรต่อมิอะไรได้เสียทีเดียว เพราะถ้าเป็นสิ่งที่คล้ายกัน

สอนลูกเตาะแตะรู้จักคำว่า “โกง”

เด็กวัยก่อนเรียนมีธรรมชาติของการพยายามสร้างกฎใหม่ๆ ตามใจชอบ เพราะอยากชนะเป็นหลัก เราจึงมีวิธีให้คุณพ่อคุณแม่แก้นิสัยนี้แบบง่ายๆ มาฝากกัน

เมื่อ ” แม่ ” แอบอิจฉาพี่เลี้ยง

ดิฉันให้คุณแม่เลี้ยงลูกวัย 1 ขวบในตอนกลางวันที่ไปทำงาน ตอนนี้ลูกชอบไปอ้อนคุณยายมากกว่า จนดิฉันเกิดความรู้สึกอิจฉา จะทำอย่างไรดีคะ จะส่งลูกไปอยู่ที่เนิร์สเซอรี่แทนคุณยายดีไหม

“ฝึกทักษะการเข้าสังคม” ก่อนเปิดเทอม

จากจอมซนที่อยู่บ้านมีแต่ผู้ใหญ่ประคบประหงม ทำโน่นทำนี่ให้ตลอด เจ้าตัวเล็กกำลังจะเข้าโรงเรียน จะต้องไปอยู่กับเด็กๆ วัยเดียวกันวันละหลายๆ ชั่วโมง และต้องทำตามกฎกติกาของคนหมู่มาก

3 วิธีสยบลูก เมื่อไม่ยอมฟังคำสั่ง

1. มั่นใจในตัวเองเข้าไว้ สิ่งที่คุณบอกไม่ใช่คำขอร้องหรือข้อเสนอแนะ แต่เป็น “คำสั่ง” ดังนั้นเมื่อคุณจะบอกให้ลูกทำอะไร ใช้น้ำเสียงที่จริงจังและอย่าเปิดโอกาสให้เขาโต้แย้ง   2. ประสานสายตา ก่อนที่จะบอกให้ลูกทำอะไร ขยับเข้าไปใกล้และประสานสายตากับเขา อย่าเพิ่งออกปากสั่งจนกว่าลูกจะหันมามองตาคุณ   3. ชัดเจน บอกลูกว่า “แม่อยากให้หนูทำ…และ…” รอจนกระทั่งลูกตอบว่า “โอเค” หรือ “ไม่เอา” ก่อน ถ้าเขาไม่ยอมทำตามหรือทำเป็นไม่ได้ยิน ทวนคำสั่งอีกครั้งโดยไม่แสดงอาการโกรธหรือหงุดหงิด ลูกจะรู้ว่าคุณตั้งใจให้เขาทำสิ่งนั้นๆ จริงๆ และจะไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามด้วย     บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

9 เทคนิค ฝึกลูกให้รักการกิน

1. เสิร์ฟอาหารทีละน้อยๆ ถ้ากลัวลูกไม่อิ่มค่อยเติมให้อีกทีหลัง   2. ไม่เสิร์ฟของว่างระหว่างมื้อ   3. จำกัดเครื่องดื่มระหว่างมื้อและในมื้ออาหาร ของเหลวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำผลไม้ นม หรือแม้แต่น้ำเปล่าก็กินพื้นที่ในกระเพาะทั้งนั้น   4. ลอง Finger Food การกินอาหารเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เรื่องความมั่นใจในตัวเอง หนูๆ จะกินได้มากขึ้นถ้าเขาสามารถควบคุมจังหวะหรือปริมาณของอาหารที่จะเอาเข้าปากได้   5. ทำให้น่าสนใจขึ้น เช่น เพิ่มสีสัน รูปร่าง หรือพื้นผิวของอาหารให้หลากหลาย   6. รับประทานด้วยกัน ถ้าเจ้าจอมซนต้องนั่งกินอาหารคนเดียว เขาอาจคิดว่าตนเองถูกกักขังและบังคับ เพราะฉะนั้น ชวนทุกคนในบ้านมากินข้าวพร้อมกันดีกว่า   7. ปิดทีวี   8. ชวนเพื่อนๆ ของลูกมากินข้าวหรือขนมด้วยกัน (บางมื้อ) เด็กๆ จะรู้สึกสนุกกับการกินอาหารมากขึ้น   9. รอดูท่าที เสิร์ฟอาหาร และรออยู่เงียบๆ สัก 20 นาที หากว่าลูกยังไม่ยอมแตะช้อนจึงค่อยออกปากเตือน ถ้าลูกยังไม่ยอมฟังก็เก็บโต๊ะไปได้เลย […]

หาวิธีบอกลูกเตาะแตะ เมื่อแม่เล่นด้วยไม่ได้

บางเวลาคุณก็เล่นกับลูกไม่ได้ หรือไม่ว่างจะเล่นด้วยจริงๆ แม้จะรู้ว่าช่วงที่เราเล่นกับลูกเป็นเวลาสำคัญของการพัฒนาทักษะต่างๆ ของลูก และเพิ่มพูนความผูกพันของคุณกับลูก เรามีวิธีแก้ปัญหานี้มาฝาก

รวมเหตุ “ความกลัว” ของวัย 1-3 ปี

ย่างเข้าสู่ขวบปีที่ 2 พัฒนาการของลูกจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เป็นหนังคนละม้วนกับขวบปีแรกทีเดียว ด้วยพัฒนาการนี้เองเป็นที่มาต่างๆ ของความกลัวร้อยแปด…

สอนลูกให้เข้มแข็ง + ป้องกันตัวเองเมื่อยื้อแย่งกับเพื่อน

เมื่อต้องเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน การทะเลาะกันของเด็กๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา เรามีวิธีแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกน้อยเรียนรู้ความเข้มแข็ง และปกป้องตัวเองได้ค่ะ

ทำอย่างไรไม่ให้เบื่อ เมื่อต้องเล่นเกมแบบเด็กๆ

ต่อให้รักแค่ไหน แต่คนเป็นผู้ใหญ่ก็อาจมีอารมณ์เบื่อกันได้บ้าง เวลาต้องเล่นแบบเด็กๆ กับลูก

keyboard_arrow_up