ทารก 0-1 ปี
แหล่งรวบรวมความรู้ ทารก 0-1 ปี บทความ ด้านโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ของทารกแรกเกิด 1 เดือนถึง 1 ปี ลูกจะเปลี่ยนไปยังไงบ้าง รวบรวมพัฒนาการทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ
โกนผมไฟ ประเพณีไทยทำอย่างไรให้เป็นมงคล?
ผมไฟ คือผมของเด็กแรกเกิดที่มีมาตั้งแต่อยู่ในท้อง ในการ โกนผมไฟ จะนิยมไปหาพระอาจารย์ที่วัด เพื่อหาฤกษ์ที่นิยมทำกันคือ เดือน 4 – 6 และเดือน 12 ตามความเชื่อ
หน้าฝนมาเยือน เตือนพ่อแม่ระวัง! ไข้ออกผื่น ในเด็ก
โรคหัดเป็นโรค ไข้ออกผื่น (exanthematous fever) ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก นับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่ง เพราะอาจมีโรคแทรกซ้อนทำให้ถึงเสียชีวิตได้
ท่านอนของลูกแต่ละวัย นอนท่าไหนถึงจะดี และเหมาะสม
คุณพ่อ คุณแม่หลายคน หวังว่าอยากให้ลูกมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีรูปร่างของศีรษะที่สวย ที่ใครๆ เรียกกันว่า หัวทุย ไม่เบี้ยว ไม่แบน แต่ก็กังวลว่าถ้าจับลูกนอนคว่ำจะเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตลูก เรามีวิธีจัด ท่านอนของลูกแต่ละวัย ให้ดีและเหมาะสมตั้งแต่แรกเกิด – 1 ปี
เลี้ยงลูกอารมณ์ดี มีความสุข ไม่ก้าวร้าว
คุณพ่อ คุณแม่หลายคนคงคาดหวังให้ลูกเป็นเด็กน่ารัก อารมณ์ดี มีความสุข และไม่ก้าวร้าว คงไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกเป็นคนเจ้าอารมณ์ และก้าวร้าว สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ สาเหตุมาจากพ่อแม่ทั้งสิ้น เรามาดูวิธี เลี้ยงลูกอารมณ์ดี ด้วยการเริ่มต้นจากการให้น้ำนมแม่ค่ะ
วิธีเล่นสนุกสร้างเสียงหัวเราะ เสริมพัฒนาการให้กับลูกน้อยวัย 0-1 ปี
แท้จริงแล้วหนูๆ วัยเบบี๋ก็มีงานต้องรับผิดชอบนะคะ ซึ่งงานสำหรับเด็กๆ คือ “การเล่น” สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำก็คือหาวิธีเล่นสนุกเพื่อช่วยเสริมพัฒนาการให้กับลูกน้อย
วิธีฝึกลูกนอนง่าย ไม่งอแง พ่อแม่หลับสบายขึ้น
คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกนอนหลับสบายขึ้น และนอนเป็นเวลา โดยการพยายามจัดตารางเวลาให้ลูกเข้านอน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ และกิจวัตรประจำวันให้สม่ำเสมอ จะช่วยให้ลูกคุ้นเคย และจดจำ ยอมปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น เรามาดู วิธีฝึกลูกนอนง่าย ไม่งอแง กันเลยค่ะ
รีวิวยาสีฟันสำหรับเด็ก เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับลูกน้อย
รีวิวยาสีฟันสำหรับเด็ก ต่อไปนี้เป็นยาสีฟันผสมฟลูออไรด์สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อ คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยใช้ได้ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น เมื่อฟันขึ้นกี่เดือนก็สามารถใช้ได้เลย ไม่จำเป็นต้องใช้ตามอายุที่เขียนกำกับไว้ข้างกล่อง ไม่จำเป็นต้องรอให้บ้วนปากเป็น เพียงแปรงฟันแล้วเช็ดฟองออก
ทารกขึ้นผื่น หมอบอกผิวหนังอักเสบแนะนำให้ใช้ครีมสเตียรอยด์ แต่คุณแม่ก็พบว่ามันไม่ใช่!
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อหนูน้อย Isaiah อายุเพียง 3 เดือน แก้มของเธอก็เริ่มเป็นผื่นแดง ตอนนั้นไม่ว่าคนที่เข้ามาใกล้จะใส่น้ำหอม หรือใส่เสื้อผ้าที่ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม อาการผื่นบนผิวหนังของหนูน้อยก็จะมีอาการยิ่งแย่ลง เมื่อไปพบแพทย์ หมอสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นผื่นผิวหนังอักเสบ และแนะนำให้ใช้ครีมสเตียรอยด์ ผู้เป็นแม่เล่าว่า หลังจากใช้ยาผิวของลูกก็ดีขึ้นเล็กน้อย แต่พอสัปดาห์หนึ่งผ่านไปก็กลับมาแย่อีก ก็เลยก็ใช้ยาในปริมาณมากขึ้น ผมของลูกน้อยเริ่มร่วง และมีอาการเวียนหัว แต่ไม่ว่าจะพาลูกไปหาหมอสักกี่คน หมอทุกคนก็บอกว่าน่าจะเป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบ พวกหมอยังแนะนำให้เธอหยุดในลูกกินนมแม่ เพราะว่าโปรตีนในนมแม่อาจจะทำให้อาการของทารกน้อยแย่ลงอีก 5 วันหลังจากที่แพทย์เพิ่มปริมาณสเตียรอยด์ให้มากขึ้น แถมยังฉีดยาเพิ่มให้ ผิวหนังของหนูน้อย Isaiah ก็มีอาการดีขึ้นเล็กน้อย แต่ 48 ชั่วโมงผ่านไป ผิวก็เริ่มกลับมาเป็นผื่นแดงอีกครั้ง แถมมีของเหลวซึมออกมาจากผิว ทำให้หนูน้อยร้องไห้ไม่หยุด ซึ่งคุณแม่เห็นกับตาว่าผิวหนังของลูกน้อยเริ่มเป็นตุ่มน้ำ เหมือนจะละลาย เมื่อเห็นลูกน้อยเจ็บปวดทรมาน คุณแม่ก็แทบจะทนไม่ได้ พูดอย่างเจ็บปวดว่าลูกของเธอต้องทนทุกข์ทรมาน โดยที่ยังไม่รู้ว่าผลจะออกมาเป็นยังไง ผิวหนังของทารกเหมือนจะละลายจนซึมเข้าไปในดวงตาเขาอย่างไรอย่างนั้น “ราวกับว่าหนูน้อยไม่มีผิวหนัง เขาเจ็บปวดมาก บางครั้งฉันก็เคยคิดว่า ถ้าทั้งชีวิตเขาต้องทนทุกข์ทรมานไปอย่างนี้ตลอด ก็หวังว่าสวรรค์จะพาเขาไปให้เร็วขึ้นหน่อย เขาจะได้ไม่ต้องทนเจ็บปวดอีก” คุณแม่วางผ้าตะข่ายที่ใช้หลังผ่าตัดบนใบหน้าของหนูน้อย และผูกมือของเขาต้องผ้ากระดาษเพื่อไม่ให้เขาเกาตัวเอง ไม่ว่าพาหนูน้อยไปที่ไหน คุณแม่ก็ต้องเตรียมเสื้อผ้าหลายๆชุดเพื่อให้เขาเปลี่ยนได้ตลอดเวลา คุณแม่บอกว่าแม่แต่ตัวเธอเองก็จับต้องลูกไม่ได้ เพราะทุกครั้งที่ผิวลูกน้อยถูกสัมผัสจะขึ้นเป็นตุ่มน้ำ แล้วก็มีของเหลวไหลออกมา ยิ่งไปกว่านั้นฉันไม่สามารถกอดหรือหอมลูกได้เลย […]
ภาวะความดันเลือดในปอดสูง PPHN สังเกตอาการก่อนจะเสียลูกไป
จากประสบการณ์คุณแม่ ที่เล่าเรื่องราวแสนสะเทือนใจของลูกน้อย โดยคุณแม่เล่าว่าเมื่อคลอดน้องแล้ว ลูกแข็งแรงปกติดีทุกอย่าง แต่หลังจากออกจากโรงพยาบาลลูกน้อยเริ่มมีอาการหายใจเร็ว และแรง คุณแม่พาไปหาหมอหลังจากนั้น พบว่าลูกน้อยมี ภาวะความดันเลือดในปอดสูง
แม่ให้นม “กินอาหารไม่ครบหมู่” มีผลให้ลูกน้ำหนักน้อยหรือไม่?
หากคุณแม่ให้นมกินอาหารไม่ครบหมู่ พอมีน้ำนมน้อย จะส่งผลให้ลูกทารกน้ำหนักน้อยตามไปด้วยจริงหรือไม่?
พาลูกไปเรียนเสริมทักษะตั้งแต่เล็ก ช่วยลูกสมองดีจริงหรือ?
อาจเป็นคำถามในใจคุณพ่อคุณแม่หลายท่านที่มีลูกเล็กโดยเฉพาะในวัยทารก ว่าจำเป็นต้องพาลูกไปเข้าเรียนสถาบันเสริมทักษะหรือพัฒนาการต่างๆ ที่เปิดกันมากมายหรือเปล่า? เรามาพบคำตอบของคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กันดีกว่าค่ะ
ผ่าคลอดแบบธรรมชาติมีด้วยหรือ? จะเป็นอย่างไรต้องดู!
เราคงเคยได้ยินการคลอดลูก ทั้งคลอดเองแบบธรรมชาติ และการผ่าท้องคลอด ซึ่งการคลอดแบบธรรมชาติ ถือเป็นมาตรฐานและมีความปลอดภัยสูง ในขณะที่การผ่าตัดคลอดก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีมากสำหรับการทำคลอดเช่นกัน ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการทำคลอดคือ “แม่รอด ลูกปลอดภัย” ดังนั้นการเลือกวิธีจึงต้องขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ
เพลงกล่อมเด็ก แบบไทยๆ ช่วยพัฒนาสมองและให้ลูกน้อยหลับสบาย
เพลงกล่อมเด็ก ทั้งเสียงเพลงและทำนองนี้เอง จะช่วยทำให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายสบายใจขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเป็นเสียงของแม่ที่ร้องเพลงกล่อมลูก
ล้างจมูกลูก อย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย
เหตุผลที่ควร ล้างจมูกลูก เพราะน้ำมูกเป็นสิ่งอุดตันประเภทหนึ่งที่สร้างความรำคาญให้แก่ลูกน้อย เพราะในช่วงเด็กวัยไม่ถึงขวบจะยังสั่งน้ำมูกออกเองไม่เป็น ซึ่งมีผลทำให้เขาหายใจไม่สะดวก รู้สึกอึดอัดรวมทั้งนอนหลับไม่สนิท อยากให้เรานึกถึงตอนเราเป็นหวัดคัดจมูก มีน้ำมูกมาก ๆ ในรูจมูก ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็สามารถออกแรงสั่งดังปี้ดป๊าดออกมาในกระดาษทิชชูได้ แต่เด็กทารกไม่สามารถทำได้อย่างนั้น เขาต้องอาศัยการดูแลจากคุณพ่อคุณแม่ ล้างจมูกลูก ดูดน้ำมูกออกให้
เหตุผลที่ควรเล่านิทานและเทคนิคการเล่านิทานให้ลูกน้อยเพลิดเพลินและมีความสุข
แม้ว่าทารกตัวน้อยๆ จะยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาสาระจากหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้ฟังก็ตาม ไม่ต้องกังวลเลยค่ะ เพราะนั่นไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยจะไม่สามารถเรียนรู้อะไรเลย เพราะการที่เด็กทารกได้ยินได้ฟังเสียง จะเริ่มให้ความสนใจ เริ่มหัดแยกแยะระดับเสียงที่แตกต่างกัน ทารกตัวน้อยๆ ชื่นชอบที่จะได้ยินเสียงของพ่อแม่ขณะอ่านหนังสือ ขณะร้องเพลง หรืออุ้มในช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกัน พ่อแม่ควรถือโอกาสส่งเสียงหรือพูดคุยตั้งแต่ลูกยังแบเบาะ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้การฟังไปด้วย
ลูกเป็นออทิสติกเทียม เพราะดูทีวีมากเกินไป
คุณแม่ท่านหนึ่งได้เล่าเรื่องราวของน้องสาวของตัวเอง เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้พ่อแม่ท่านอื่นๆ ถึง อันตรายจากทีวี ที่น้องสาวถูกคุณแม่เลี้ยงดูและโตมากับทีวี ทีวีมีประโยชน์อยู่อย่างหนึ่งคือ ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากรายการที่ดีมีสาระ แต่ถ้า ลูกเป็นออทิสติกเทียม จากการดูทีวีจะทำอย่างไร
ลูกติดเชื้อในกระแสเลือดอันตราย แต่ป้องกันได้
คุณพ่อ คุณแม่คงรู้จักกันดีกับคำว่าติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งพบได้ในข่าวโรคภัย และประสบการณ์ของคุณแม่หลายคน แม่น้องเล็กเองก็เกิดความวิตกกังวลว่าลูกของเราจะมีโอกาสเป็นด้วยหรือไม่ เรามาอ่านความรู้จากคุณหมอว่า ติดเชื้อในกระแสเลือดอันตราย แค่ไหน?
รู้ทัน…ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ในเด็ก
ถ้าลูกเคยเป็น “ไวรัสลงกระเพาะ” แล้ว จะมีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่ มีวัคซีนอะไรบ้างไหมที่ช่วยป้องกันโรคนี้? มาดูคำตอบจากคุณหมอกันค่ะ