พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กวัยประถม
พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กวัยประถม เมื่อเข้าช่วงปลายของวัยเรียนเข้าใกล้วัยรุ่นในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงมาก ทั้งด้านการเข้าสังคม ความคิด
ลูกมีพฤติกรรมไม่ตรงเพศ แก้ยากที่ตรงไหน
ปัญหาเรื่องลูกเล็กวัย 1-10 ขวบเล่นอะไรไม่ตรงเพศ ลูกมีพฤติกรรมไม่ตรงเพศ เราควรเป็นห่วงลูกแค่ไหน จะทำอย่างไรหากลูกเข้าข่าย ไปดูกันค่ะ Q: มีคำถามเรื่อง ลูกมีพฤติกรรมไม่ตรงเพศ 3 ข้อจากสามครอบครัวค่ะ ลูกชายแอบใช้เครื่องสำอางคุณแม่แต่งหน้า เราไม่ได้ดุว่าอะไร แต่บอกเขาว่าไม่ใช่ของเล่น และเปลี่ยนที่เก็บ ลูกอายุ 7 ขวบค่ะ เขาค่อนข้างสนใจเวลาคุณแม่แต่งหน้า แต่งตัว แต่พฤติกรรมอื่นๆ ก็เป็นลูกชายค่ะ จะคิดว่าเขาอยากรู้อยากทำตาม ได้หรือเปล่า ควรทำอะไรหรือไม่ค่ะ ลูกสาวอายุ 5 ขวบ ชอบพูดครับ ครอบครัวมีทั้งพ่อแม่และญาติทั้งผู้หญิงผู้ชาย ควรแก้ไขหรือไม่ อย่างไร ลูกชายชอบเอาแอบเสื้อชั้นในคุณแม่และพี่สาวมาใส่ คนในบ้านก็ช่วยกันอธิบาย และชวนให้ไปสนใจทำอย่างอื่น แต่เขาก็ยังทำบ่อยๆ ลูกชายอายุ 6 ขวบ ควรทำอย่างไร พ่อแม่เป็นกังวลค่ะ A: ก่อนจะคุยกันถึงตัวอย่างทั้ง 3 ข้อ ทบทวนความรู้ที่การแพทย์มีในปัจจุบันก่อน ข้อแรก วัย 1-10 ขวบ อย่างไรก็เป็นวัยแสวงหา ยังไม่มีอะไรชัดเจนว่าเขาจะไปทางไหน แม้ว่าเราจะควรกังวล แต่มีโอกาสกังวลฟรีๆ […]
ไอเดียพับกระดาษ สุดปัง! ลูกน้อยได้ประโยชน์กว่าที่คิด
Amarin Baby & Kids ขอนำเสนอ 16 ไอเดียการพับกระดาษ ที่ทำให้ลูกน้อยและคุณพ่อคุณแม่สนุกสนานไปด้วยกัน พร้อมเสริมสร้างจินตนาการ และความสัมพันธ์ในครอบครัว
ลูกโตที่เล่น “ไม่เป็น” ทำอย่างไรดี
หากสังเกตพบว่าลูกมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังไม่มาก เคร่งเครียดโดยไม่มีวิธีผ่อนคลายให้ตัวเอง คุณพ่อคุณแม่จะสามารถช่วยลูกได้อย่างไร?
ส่งเสริมลูกโตเล่น “เป็น” หาสิ่งที่ชอบ ชีวิตแฮ็ปปี้
วัยทวีน 10-12 ปี จะมีความกระตือรือร้น มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ อยากทำในสิ่งที่ชอบ การเล่นที่เหมาะสมและถูกใจจะช่วยให้ค้นหาตัวเองเจอเร็วขึ้น มีความสุขกับชีวิตมากขึ้น
เด็กสมาธิสั้นก็ใกล้ “อัจฉริยะ” ได้นะ
ข้อดีของอาการสมาธิสั้นก็มีนะคะ เพียงคุณพ่อคุณแม่จัดรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสม เด็กกลุ่มนี้อาจเข้าใกล้คำว่า “อัจฉริยะ” ได้เหมือนกัน
ลูกวัยรุ่นเก็บเงินซื้อไอแพดเอง ต้องแลกด้วยความรับผิดชอบ
เมื่อลูกอายุ 12 ขวบประกาศเก็บเงินซื้อไอแพดเอง เพราะอยากได้จริง พ่อแม่เลยอนุญาต เพราะคิดว่าเงินเยอะขนาดนั้นกว่าจะเก็บครบก็คงลืมแล้ว แต่สมมติว่าเขาเก็บเงินได้จริงๆ ควรจะอนุญาตให้ซื้อไหมนะ?
เครื่องดนตรีราคาแพง… คุณแม่ซื้อหรือไม่ซื้อดี…?
มีคำแนะนำว่าถ้ายังอายุไม่ถึง 13 ปี คุณไม่ควรจะซื้อเครื่องดนตรีราคาแพงเหล่านี้ให้กับเด็กๆ
ลูกดื้อตาใส…พ่อแม่ยิ่งแรง จอมซนยิ่งร้าย
ช่วงวัยนี้ลูกยังคงความดื้ออยู่ แต่ดีกรีจะน้อยกว่าตอนเล็กกว่านี้ที่เคยหัวฟัดหัวเหวี่ยงมาออกสไตล์ดื้อเงียบมากกว่า
เทคนิคขั้นเทพ ฝึกลูกเหลือเก็บเงินค่าขนม
ลูกวัย 8-10 ปีส่วนใหญ่คุณแม่ให้เงินค่าขนมไปบริหารจัดการเองกันแล้วใช่ไหมคะ แต่ปัญหาคือให้ไปเท่าไรก็ไม่เคยเหลือเก็บ
ลูกชอบเล่นเกม แต่เรียนดีไม่มีตก มีอะไรต้องห่วงไหม?
ลูกเริ่มเล่นเกมตั้งแต่อนุบาล 2 ตอนนี้อยู่ป.5 แล้ว ยังเล่นเป็นประจำ เรื่องการเรียนก็ไม่เสีย จะรอดจากผลกระทบของการเล่นเกมไหม
พ่อแม่ต้องเปิดใจ “ฟังเสียง” ลูกวัย 8-12 ขวบ
เด็กในวัยนี้ทั้งร่างกายและจิตใจของเขากำลังเปลี่ยนแปลง ลูกเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง และต้องการอิสรภาพ ฟังเราน้อยลง ให้ความสำคัญกับเพื่อนมากขึ้น เริ่มโต้เถียงมากกว่าเดิม แล้วพ่อแม่จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นมารในสายตาลูก
สังเกตตรงไหน ลูกเรามีความคิดสร้างสรรค์หรือเปล่า
Q: คุณสมบัติของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์มีอะไรบ้างคะ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ มักจะ… มีความอยากรู้ อยากเห็น อะไรที่ไม่รู้จะถามทันที ชอบตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลา เช่น ถามว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ หรือถ้าเราไม่ทำตามแบบนี้ แต่ลองทำแบบอื่น แล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร มีความคิดแบบลู่ออก กระจายออก เวลาที่คิดอะไรมักจะคิดเผื่อหลายๆ อย่าง มีความคิดที่หลากหลาย เช่น ถ้าถามว่า ลูกเห็นสีเขียวแล้วนึกถึงอะไร ลูกจะไม่ตอบเพียงแค่ว่า ต้นไม้ แต่จะนึกไปถึงสิ่งอื่นๆอีก เช่น ทหาร หรือบรอคโคลี่ ชอบทำงานที่ยากและท้าทาย มีสมาธิสูง เวลาที่มีปัญหาหรือคำถามจะพยายามค้นหาคำตอบ พยายามอย่างไม่ลดละเพื่อเอาชนะอุปสรรคต่างๆ สนุกกับเกมที่ยุ่งยากต้องทุ่มเทเวลา เช่น ต่อเลโก้ ต่อแบบจำลอง หรือต่อจิ๊กซอว์ มีความเป็นตัวของตัวเอง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออก แต่ก็มีความยืดหยุ่น รับฟังเหตุผล และไม่ยึดติดแม้จะกล้าคิด แต่เมื่อเข้าใจว่าสิ่งที่คิดไม่มีความเป็นไปได้ ก็รู้จักที่จะรับฟังความคิดเห็น ข้อมูลจากคนรอบข้างแล้วนำมาประยุกต์เข้ากับความคิดของตนเอง มีแรงจูงใจสูง อยากได้อยากทำอะไร จะพยายามคิดทำ […]
ปฏิเสธซื้อของแพงให้ลูกโตอย่างนุ่มนวล
ลูกร้องขอซื้อแต่ของแพงๆ โดยให้เหตุผลว่า ‘ใครๆ เขาก็มีกัน’ แต่คุณแม่ไม่คิดว่าของเหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นหรือมีประโยชน์เพียงพอ ควรให้เหตุผลกับลูกอย่างไรดีคะ
ช่วยลูกแยกแยะโลกความจริงกับโลกในโทรทัศน์
บางครั้งบางคราว เด็กๆ ก็สับสนระหว่างภาพที่ปรากฎในรายการโทรทัศน์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง คุณพ่อคุณแม่คือคนสำคัญที่ต้องเพิ่มทักษะการดูโทรทัศน์อย่างมีสติให้ลูก
พ่อแม่ต้องไม่ละเลย! เมื่อลูกเลือกคบเพื่อน
แม้ลูกจะเริ่มโตจนรับผิดชอบตัวเองได้หลายเรื่องแล้ว แต่เรื่องเพื่อน เด็กวัยนี้มักหาความพอดีได้ยาก จะดูแลอย่างไรให้พอดี และลูกไม่รู้สึกต่อต้าน
ลูกสาววัยรุ่นเลียนแบบ เซเล็บส์
Q: ลูกสาววัยทวีน เป็นพวกเสพติดเซเล็บส์ ทั้งการแต่งตัว ท่าทาง การพูดจา รู้สึกว่าจะอินจนเกินน่ารักไปซะแล้ว A: สิ่งที่ควรชี้แจ้งปลูกฝังอันดับแรกคือ ค่านิยมที่เหมาะสม พ่อแม่คือคนสำคัญที่จะชี้ให้ลูกเข้าใจว่า ความสวยงามหรือรูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้นำมาซึ่งความสุข และไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต อันดับแรก คุณควรคอยสังเกตและพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ว่า ลูกชอบดาราหรือคนดังคนไหน และชอบเพราะอะไร ลองรับฟังเขาอย่างไม่มีอคติ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เช่น “เลดี้กาก้าอาจเป็นคนเด่นเพราะการแต่งตัว แต่เขารักษาความดังอยู่ได้เพราะตั้งใจทำงานและฝึกฝนอยู่เสมอ” อย่าลืมชื่นชมคนธรรมดาที่อยู่ใกล้ตัวให้ลูกฟัง เช่น “น้าเก๋เป็นพยาบาลที่ใส่ใจคนไข้ คนทั้งโรงพยาบาลชอบและชมให้แม่ฟังบ่อยๆ” เป็นต้น ที่มา: กองบรรณาธิการเรียลพาเรนติ้ง
กิจกรรมเพิ่มความคิดสร้างสรรค์
“การเปิดโอกาสให้ลูกทำกิจกรรมสันทนาการตามความต้องการและความสมัครใจของเขา โดยไม่บีบบังคับ จะเป็นการช่วยกระตุ้นและคงไว้ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ของลูกได้” ผศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำกิจกรรมเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้ เล่นดนตรี ฟังดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงบรรเลง และเพลงคลาสสิก เพราะการฟังเพลงที่มีเนื้อร้อง จะจูงใจให้คิดไปตามแต่ความหมายของเนื้อเพลง เป็นการจำกัดความคิดให้อยู่กับเรื่องที่เนื้อเพลงบอก ขณะที่เพลงบรรเลง หรือเพลงคลาสสิกจะเกิดจากเครื่องดนตรีหลายชนิด มีความหลากหลายของระดับเสียง ทำให้ระบบประสาทการฟังแยกแยะเสียงได้ละเอียดขึ้น ฟังแล้วกระตุ้นให้เกิดความคิดที่หลากหลายซับซ้อนขึ้น เล่นกีฬา ทำให้เกิดการวางแผน ได้ออกกำลังกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงทั่วร่างกาย รวมถึงสมองด้วย เล่นเกมส์เสริมความคิดสร้างสรรค์ เช่น ต่อจิ๊กซอว์ โกะ หมากรุก หมากฮอส เกมเศรษฐี เพราะเหล่านี้ต้องใช้ความคิดวางแผนล่วงหน้า มีหลากหลายทางเลือกในการตัดสินใจ สามารถเล่นได้หลายแบบ มีความแตกต่างแทบทุกครั้งที่เล่น ซึ่งต่างจากของเล่นสำเร็จรูปที่กดปุ่มอย่างมาก การเล่นสนุกแบบเด็กๆ เช่น เล่นบทบาทสมมุติ ทำให้ใช้ความคิดที่หลากหลาย ก็นับเป็นการเล่นที่เสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน ที่มา: กองบรรณาธิการเรียลพาเรนติ้ง
ปกป้องลูกจาก สื่อเรื่องเพศ
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ควรรู้ไว้คือ ต้องใส่ใจกับพฤติกรรมของลูก แต่ไม่ปิดกั้นเขาจากสื่อ (เชื่อเถอะ คุณปิดกั้นเขาไม่ได้หรอก) ควรสอนให้เขารู้ว่า สิ่งใดไม่เหมาะสมหรืออันตราย พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้เป็นประจำ