โรคเด็ก & อุบัติเหตุ
เชื้อไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิด เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะในเด็ก อุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นบ่อยในเด็กทั้งภายในบ้านเเละนอกบ้าน
อุทาหรณ์ เกือบเสียลูกรักเพราะลูกไม่ยอมเคี้ยว
มีประสบการณ์หนึ่งจากคุณแม่ ที่โพสต์เล่าเหตุการณ์เอาไว้เป็นอุทาหรณ์ เมื่อลูกรักของคุณแม่ รับประทานมะม่วงเข้าไปแต่ ไม่ยอมเคี้ยว ซึ่งปกติคุณแม่จะหั่นผลไม้ให้ลูกน้อยหยิบรับประทานเองเป็นชิ้นเล็กๆ ลูกน้อยฟันขึ้น 10 ซี่แล้ว จึงสามารถเคี้ยวได้ แต่ปัญหาคือลูกน้อยไม่ชอบเคี้ยว
โรคสุกใส
โรคสุกใส หรืออีสุกอีใส เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร อันตรายไหม และจะป้องกันได้อย่างไร เรามีทุกคำตอบที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ค่ะ
อันตรายมาก! ปล่อยคนหอมแก้มลูกน้อย เด็กเสี่ยงติดเชื้อถึงชีวิต
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อคุณแม่ชาวอังกฤษ ชื่อว่า แคลร์ เฮนเดอร์สัน ได้โพสต์ข้อความและรูปภาพผ่านเฟสบุ๊กเตือนบรรดาคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย อย่าให้ใครมาหอมหรือจูบแก้มลูกน้อยพร่ำเพรื่อ เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของลูกน้อยได้ เฮนเดอร์สันเล่าว่า บรู๊ค ลูกสาวของเธอลืมตัวดูโลกเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางญาติพี่น้องและเพื่อนๆ แวะเวียนมาเยี่ยมและแสดงความยินดีไม่ขาดสาย ในจำนวนแขกที่มาเยี่ยมนั้น ตนก็ไม่ทันระวังเพื่อนคนหนึ่งที่มีเชื้อไวรัส HSV-1 ต้นเหตุของโรคเริม สามารถติดต่อได้จากการจูบปาก หรือแม้แต่จูจุ๊บเบาๆ และหากเด็กทารกติดเชื้อไวรัสตัวนี้เข้าไปแล้วอาจทำอันตรายกับปอด รวมถึงตับและสมองจนถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ อาการติดเชื้อไม่ได้แสดงออกทันที แต่อยู่มาคืนหนึ่งระหว่างป้อนนมลูก ตนสังเกตเห็นความผิดปกติ บรู๊คมีอาการบวมแดงที่ริมฝีปาก จึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที แพทย์ระบุว่า โชคดีที่นำตัวหนูน้อยมาโรงพยาบาลทันเวลาเพราะอาการน่าเป็นห่วง โดยบรู๊คต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลถึง 5 วัน เฮนเดอร์สันจึงโพสต์ข้อความเตือนบรรดาคุณแม่คนอื่นๆให้ระมัดระหว่างอย่าใครจูบหรือหอมทารกแรกเกิด เพราะไม่อาจทราบได้เลยว่า ใครที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้ และหากพบเพื่อนหรือญาติคนใดมีแผลที่ปากให้รู้ไว้เลยว่าเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ด้านผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคติดต่อ กล่าวถึงกรณีของหนูน้อยบรู๊คว่า เป็นเคสที่พบได้ยากแต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย อย่างไรก็ตาม ทารกส่วนใหญ่ไม่ได้มีความเสี่ยงเพราะมีภูมิคุ้มกันจากแม่ ที่มา BuzzFeed ขอบคุณข้อมูลข่าวและภาพจาก : www.khaosod.co.th
Dyson digital slim เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย ตัวช่วยดีๆสำหรับแม่บ้านยุคใหม่
เชื่อว่าทุกวันนี้มีแม่บ้านหลายคนที่กำลังปวดหัวอยู่กับการกำจัดฝุ่น ทำอย่างไรก็ทำความสะอาดได้ไม่หมดสักที?
รู้จักและรับมือ “ไข้หวัดใหญ่”
เรามักคิดกันว่าโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดเฉพาะหน้าฝน แต่ความจริงแพร่ระบาดได้ตลอดทั้งปีและทุกกลุ่มอายุ ผู้ป่วยบางรายมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางรายมีอาการรุนแรงต้องเข้าโรงพยาบาล และมีจำนวนไม่น้อยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนเสียชีวิต
ใครๆก็อยากไปโรงพยาบาลคิตตี้ “Hello kitty Maternity Hospital “
เอาใจคุณแม่ที่ชื่นชอบคิตตี้ หรือคุณแม่คนไหนที่กำลังจะคลอดน้อง หาโรงพยาบาลน่ารักๆให้เหมาะกับลูกสาว
สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เพื่อรับมือกับ ‘โรคมือเท้าปาก’
จากกรณีการเสียชีวิตของเด็กหญิงอายุ 4 ขวบจากโรคมือเท้าปากหลังการติดเชื้อภายใน 3-4 วันเมื่อเร็ว ๆ นี้ นับเป็นเรื่องที่สะเทือนใจและสร้างความตกใจ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก ดังนั้น เราจึงควรรู้เรื่องโรคมือเท้าปากเพื่อการป้องกันและดูแลรักษาให้ทันท่วงที
หมอเผยคำตอบ…ลูกเป็นแผลลอกอักเสบติดเชื้อรา มาจากสัตว์เลี้ยงในบ้านหรือไม่ ?
ปัจจุบันมีข่าวเกี่ยวกับความกังวลใจของคุณแม่ เรื่องลูกเป็นตุ่ม แผลอักเสบลอก
อาการของไข้เลือดออก รู้ให้เท่าทัน ลูกน้อยปลอดภัย
ไข้เลือดออกเป็นแล้วน่ากลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการรู้ให้เท่าทัน พ่อแม่ต้องรู้จักและเข้าใจ อาการของไข้เลือดออก!
Kid Safety ไม่กล้า..เจ็บ
จะช่วยอย่างไรให้ลูกกล้ามากขึ้น ไม่กลัวเจ็บครับ เวลาเล่นกีฬาหรือเล่นอะไรที่มีโอกาสเจ็บตัวบ้างนิดๆ หน่อยๆ เขาชอบเล่นนะครับ แต่จะไม่ยอมให้ล้ม ไม่ยอมเจ็บเลย เป็นเพราะอะไร
Kid Safety เด็กเกาหลีใต้ 25% เข้าข่ายเป็นโรคติดมือถือแล้ว
นอกจากโรคติดต่ออย่างไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ ล่าสุดมีผลวิจัยของเกาหลีที่กำลังจะตีพิมพ์ในปี 2559 เผยถึงอาการติดโทรศัพท์มือถือของเด็กเกาหลีใต้ ว่ากันว่าคนเอเชียกำลังติดกันมากและผู้เป็นโรคนี้ก็มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ นักจิตวิทยาเรียกอาการของโรคนี้ว่า “โนโมโฟเบีย” (Nomophobia) โนโมโฟเบีย คือความหวาดกลัวว่าตัวเองจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีโทรศัพท์มือถือ จากการสำรวจนักเรียนเกาหลีใต้เกือบ 1,000 คน พบว่าเด็กๆ ใช้มือถือกันตั้งแต่อายุ 11-12 ปี ใช้เวลาอยู่กับมัน 5.4 ชั่วโมงต่อวัน และพบว่าเด็กเกาหลีใต้ถึง 25 % เข้าข่ายเสพติดมือถือเสียแล้ว ในเอเชียมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือราว 2,500 ล้านคน มีอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากการไม่ระวังขณะใช้โทรศัพท์มือถือเกิดขึ้นมาก เช่น ตกท่าเรือ ตกรถเมล์ ในสิงคโปร์ ที่มียอดประชากรเสพติดเทคโนโลยีมากถึงขึ้นต้องมีคลินิกบำบัดอาการติดเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยกตัวอย่างเช่น คุณครูในโรงเรียนบางแห่งสั่งการบ้านผ่าน WhatsApp ทำให้เด็กๆ ก็ต้องพลอยมีโทรศัพท์มือถือไปด้วย ในขณะที่จีนเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ระบุว่าโรคเสพติดอินเตอร์เน็ตถือเป็นโรคทางคลินิก ได้มีคลินิกเพื่อบำบัดโรคเสพติดสื่อออนไลน์ใหม่ๆ โดยมีจิตแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด นายโทมัส ลี จิตแพทย์ที่ปรึกษา ได้กล่าวว่า ประเทศอื่นๆ ในเอเชียควรจะจัดให้โรคติดโทรศัพท์มือถือเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับการติดการพนันหรือเสพติดเซ็กส์ เพราะผู้เสพติดแล้วเมื่อพยายามเลิกจะมีอาการลงแดงเหมือนกัน […]
Kid Safety – กินแต่ของเย็นๆ จะดีหรือลูก
ลูกชอบกินของเย็นๆ บางอย่างควรระมัดระวัง เช่น การเคี้ยวน้ำแข็ง หรือการกินไอศกรีม อธิบายให้ลูกเข้าใจได้ว่าของเย็นๆ ประเภทนี้กินบ่อยๆ ไม่ดีอย่างไร แต่หากเป็นผักลวกแช่เย็น หรือกินอาหารที่รอให้เย็นก่อน เพราะกินตอนร้อนๆ กลัวลวกปาก ขอให้อาหารนั้นทำสุกแล้ว ก็ทำได้ค่ะ
Kid safety เราทุกคน ต่างมีเชื้อโรคเป็นของตัวเอง
”ทำไมต้องใช้ช้อนกลาง?”“ทำไมต้องกินน้ำคนละหลอด?” เพราะเราติดโรคกันได้ทางน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ และร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันไม่เท่ากัน อาจติดโรคติดต่อง่ายๆ เช่น โรคหวัด มือเท้าปาก และโรคอื่นๆ ที่เรามองไม่เห็นด้วยตา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเจาะลึก “โมยาโมยา” โรคหายากที่เกิดกับดาราเด็ก
จากกระแสในโลกออนไลน์ ที่ตอนนี้น้องซีดี นักแสดงเด็กป่วยด้วยโรคโมยาโมยา โรคหายากที่พบเพียง 1 ใน 1 ล้านคน เรียลพาเรนต์สจึงสอบถามข้อมูลจาก แพทย์หญิงลัลลิยา ธรรมประทานกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี มาเป็นความรู้ให้กับคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
Kid safety – อาหารเสริม โปรตีนเม็ด ควรให้ลูกวัยรุ่นกินหรือเปล่า?
Kid safety – อาหารเสริม โปรตีนเม็ด ควรให้ลูกวัยรุ่นกินหรือเปล่า? ลูกวัยรุ่นก็ต้องระวังให้มาก… สิ่งที่เป็นที่นิยมในเวลานี้สำหรับลูกวัยรุ่นก็คือ “โปรตีนเม็ด” นัยว่าเพื่อ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้เติบใหญ่ ล่ำบึ๊กเร็วๆ ซึ่งได้รับการยืนยันจากวงการแพทย์แล้วว่า มันไม่ได้วิเศษวิโศไปกว่าโปรตีนจากแหล่งอาหารธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา นม และ โดยเฉพาะถั่วสารพัดอย่างต่างๆ ที่อุดมไปด้วยโปรตีนอย่างเพียบพร้อม บวกกับการหมั่นออกกำลังกายอย่างถูกต้องอย่างเป็นกิจวัตร ดังนั้นการอยากได้อะไรมาง่ายๆ เหมือนสินค้าสำเร็จรูปหลายๆอย่าง จึงเสี่ยงต่ออันตรายแก่สุขภาพ หนำซ้ำยังเสียเงินแพงๆ ประเทศชาติก็ขาดดุลการค้าไปไม่ใช่น้อยๆ… เรื่องที่น่าห่วงใยกว่านั้น ก็คือ…ขณะนี้เกิดมีวัยรุ่นบางกลุ่มใช้ยาในกลุ่มฮอร์โมนเพศชาย เช่น แอนโดรสตีนไดโอน (Amdrostenedione) เพราะหลงเชื่อกันว่าทำให้กล้ามบึก และโตเร็วทันใจ แต่ผลที่ได้รับ กลับทำให้สิวเห่อ ผู้ชายเต้านมใหญ่ขึ้น ในบางรายถึงกับเส้นเลือดหัวใจตีบ แท้แล้วยาชื่อแปลกๆข้างต้นมันก็คือ “ยาโด๊ป” ที่พวกนักกีฬาขี้โกงใช้กันมาก่อน ซึ่งหลายๆรายก็เกิดอันตรายมาแล้วทั้งโดยฉับพลัน หรือเรื้อรัง…. ปัญหากลุ้มใจของคุณพ่อคุณแม่ก็คือ ลูก ไม่ยอมกินผัก ไม่กินผลไม้ ไม่กินหมู ไม่ยอมกินอาหารหลายๆอย่าง […]
Kid Safety – ภัยจากรังสีที่แผ่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือ
ในบางการศึกษากับสัตว์ทดลองพบว่าคลื่นโทรศัพท์มือถือ สามารถทำอันตรายแก่ DNA และเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยทำให้เกิดการเสียหายอย่างถาวรได้ ทำให้เกิดความสงสัยว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นโทรศัพท์มือถือกับการเกิดมะเร็งสมองหรือไม่ ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ชัดเจน
Kid Safety – อาการผิดปกติจากการกดโทรศัพท์มือถือรัวๆ
เดี๋ยวนี้มือถือไม่ได้มีไว้โทรอย่างเดียว แต่ใช้ส่งข้อความได้ด้วย เด็กๆ ก็ยอดฮิตติดตลาดครับ ป 3 ป 4 ก็ส่งกันเป็นแล้ว ไม่อยากบอกเลยครับว่าคุณหมอไม่เคยส่งข้อความด้วยมือถือเลย! มีรายงานจากประเทศอังกฤษว่าในแต่ละวันมีคนส่งข้อความหรือส่ง message กันกว่า 100 ล้านข้อความ มีผู้ใช้โทรศัพท์ส่งข้อความมีอาการบาดเจ็บจากการส่งข้อความ (text-related injuries) ถึง 3.8 ล้านคน อาการของการบาดเจ็บดังกล่าวคือเกิดจากการใช้เส้นเอ็นของนิ้วโดยการเกร็ง กด เร็วๆ ถี่ๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นเอ็นซ้ำๆกันเรียกว่า การบาดเจ็บแบบอา เอส ไอ หรือ repetitive strain injuries นอกจากนั้นท่าทางการจับมือถือเพื่อส่งข้อความโดยมีการเกร็งหัวไหล่ ต้นแขนในขณะพยายามใช้นิ้วกดไปตามตัวอักษรเพื่อพิมพ์ข้อความทำให้การไหลเวียนโลหิตของบริเวณปลายแขนและมือลดน้อยลง ทั้งๆ ที่การทำงานหนักของนิ้วมือนั้นต้องการโลหิตที่ไหลเวียนมากขึ้น ผลที่ตามมาคือมีอาการปวดของนิ้วโดยเฉพาะนิ้วโป้งและนิ้วชี้ รวมทั้งข้อมือ นานๆเข้าเมื่อกำมือลงแล้วเหยียดมืออก ปรากฎว่านิ้วชี้และนิ้วโป้งไม่ยอมเหยียดออกตามนิ้วอื่น เรียกว่าโรคนิ้วล๊อค ลงเอยต้องพบหมอกระดูกเพื่อฉีดยา หรือผ่าตัดเส้นเอ็นครับ การป้องกัน อ่านรายงานมากแล้วมาสรุปการป้องกันดีกว่าครับ คืออย่าให้เด็กใช้โทรศัพท์นานๆครับ เอาอย่างในทีวีละก็ “ดิ้นชักแหง๊กแหง๊กแหง๊ก” สมองโป่งแน่เลย ดังนั้นอย่างน้อยไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีใช้มือถือ […]
แพทย์แนะวิธีดูแลผู้ป่วยลมชัก รอดชีวิต ลดพิการ
อันตรายจากโรคลมชักเป็นเหตุให้เกิดภาวะทุพพลภาพทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาผู้ป่วยอาจเกิดอาการผิดปกติจนไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ เรามาทำความรู้จักกับโรคลมชักและวิธีดูแลหากลูกน้อยเกิดอาการชักกันดีกว่าค่ะ