โรคที่มักเกิดกับเด็ก โรคเด็กมีอะไรบ้าง อุบัติเหตุ ที่มักเกิดกับเด็ก ป้องกันอย่างไร

โรคปอดบวมในเด็ก ภัยของเจ้าตัวเล็กที่มักมากับอากาศหนาว

โรคปอดบวมในเด็ก เป็นหนึ่งใน 6 โรคที่ สธ.ประกาศเตือนให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงอากาศเย็น และยังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

Kid safety – โรงเรียนลูกยัง “ปลอดภัย” อยู่ไหม!?

พ่อแม่ควรไปกันเป็นกลุ่มๆ สองสามเดือนครั้ง เดินสำรวจโรงเรียนของลูกมองหาว่ามีจุดเสี่ยงดังต่อไปนี้หรือไม่

Kid Safety ระวังภัย…ในพื้นที่เล่น

            เมื่อลูกผ่านพ้นวัยเด็กน้อย กำลังจะก้าวสู่วัยเรียนรู้โลก ( 6 – 9 ขวบ) “โลก” สำหรับพวกเขาจึงไม่ใช่แค่ในรั้วบ้านแล้วละครับ แต่มันคือ ทุกพื้นที่ที่พบล้วนตื่นตาตื่นใจ น่าลองน่ารู้อย่างสนุกสนาน ระวังภัย…ในพื้นที่เล่น สนามเด็กเล่น คือพื้นที่เรียนรู้โลกกว้างของเด็กอีกแห่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ พื้นสนามต้องเป็นแบบที่สามารถดูดซับพลังงาน ป้องกันการกระแทกของศีรษะ และลดภาวะเลือดออกในสมองได้ เครื่องเล่นต้องยึดติดฐานรากไม่ล้มทับเด็ก และต้องจำกัดความสูงของเครื่องเล่น ไม่เกิน 1.8 เมตร พื้นสนามที่ดีต้องประกอบด้วยวัสดุอ่อนนิ่มดูดซับพลังงานได้ เช่น ทราย ขี้เลื่อย ที่หนาอย่างน้อย 30 เซนติเมตร หรือพื้นสนามสังเคราะห์ที่ทำจากยาง หรือวัสดุอื่นที่มีการทดสอบแล้ว ขณะที่พื้นสนามที่เป็นพื้นแข็ง เช่นซีเมนต์ อิฐสนาม ก้อนกรวด ยางมะตอย ทรายอัดแข็ง พื้นหญ้าธรรมดา มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บศีรษะรุนแรง   ข้อสังเกตเพื่อพ่อแม่ เลือกพื้นที่เล่นให้ลูกปลอดภัย พื้นที่เดินและพื้นที่เล่นของเด็กในชุมชนต้องแยกออกจากถนนที่มียานพาหนะสัญจร ในต่างประเทศการออกแบบหมู่บ้านจัดสรรที่มีสถานที่พักผ่อน เช่น สวนหย่อม สนามเด็กเล่น หรือสระว่ายน้ำ มักมีทางเดินเท้า หรือทางจักรยานที่เด็กและผู้ใหญ่มาถึงได้โดยไม่ต้องข้ามถนนเลย ขณะที่ในชุมชนเรามักอำนวยความสะดวกกับผู้ใหญ่มากกว่า เช่น ถนนในหมู่บ้านกว้างขวาง […]

Kid Safety ระวังภัยจมน้ำ

มีผู้ใหญ่ไม่น้อยที่คิดว่า “เด็กโตแล้ว” จึงวางใจเกินไป คิดเอง (เออเอง) ว่าเด็กวัยนี้เข้าใจดีแล้วเรื่องเสี่ยงไม่เสี่ยง หลีกเลี่ยงภัยได้เองแล้ว จึงไม่ต้องดูแลใกล้ชิดจนอาจถึงขั้นปล่อยปละละเลย

Kid Safety – พิชิตปัญหาลูกติดเกม

ในบรรดาสิ่งของที่เด็กสนใจ สำหรับเด็กยุคนี้แล้ว คงไม่มีอะไรจะ “แรง” เท่ากับของเล่นไฮเทคที่เรียกว่า “เกม”

Kid Safety – 10 วิธี ดูแลลูกยุคไซเบอร์

ในช่วงปิดเทอมนี้ พี่โตส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างไปกับอินเตอร์เน็ตเสียเยอะ ทั้งเล่นเกมออนไลน์ และแชท จนอาจเผลอลืมเวลาที่ควรจะช่วยเหลือคุณดูแลคุณตาคุณยายที่บ้าน วันนี้เราขอนำบทความดีๆ จากเว็บไซต์ Thaihotline.org เพื่อสร้างเสริมนิสัยการใช้อินเตอร์เน็ตที่ดีให้แก่เด็กๆ มาฝากกันค่ะ   10 วิธี ดูแลลูกยุคไซเบอร์   สร้างวินัยและความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเล็ก กำหนดเวลาอย่างชัดเจนแก่ลูกว่าเล่นได้วันละกี่ชั่วโมง และถ้ายังทำการบ้านหรือทำหน้าที่ของตัวเองไม่เรียบร้อยก็จะไม่ได้เล่นเกมนะ   ลดโอกาสการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต อย่าเพิ่งให้สิทธิ์ว่าเด็กเป็นเจ้าของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ กำหนดว่ามันคือของคุณพ่อคุณแม่ เพื่อลดโอกาสการเข้าถึงสื่อเหล่านี้ และจัดวางไว้ในห้องส่วนรวม ไม่นำไว้ในห้องนอนหรือห้องส่วนตัวของลูกเด็ดขาด เพื่อคนในบ้านจะได้ช่วยเป็นหูเป็นตาได้ว่าลูกเข้าเว็บไซต์อะไร และติดต่อกับใครอยู่บ้าง   ใช้มาตรการทางการเงินช่วย ไม่ให้เงินลูกมากเกินไป หากเขายังใช้เงินไม่เป็น และให้เขารู้รายรับรายจ่ายของครอบครัว เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ตต่อเดือน บางบ้านใช้วิธีให้ลูกช่วยออกค่าใช้จ่ายในส่วนของเขาด้วย   ฟังและพูดดีต่อกัน หากเขามีพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไม่เหมาะสม อย่าเพิ่งตำหนิลูก เปลี่ยนเป็นใช้คำพูดที่น่าฟัง ใช้ภาษาเดียวกับลูก ให้เกียรติฟังลูกให้จบและตกลงกันดีๆ   จับถูกมากกว่าจับผิด หาข้อดีในการใช้อินเตอร์เน็ตของลูกมาพูดคุยกับเขา เช่น เกมนี้ดูทำให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษขึ้นนะ ส่วนในมุมที่ไม่ดี ลองหาข้อดีของการใช้อินเตอร์เน็ตลักษณะอื่นมาพูดเปรียบเทียบให้เขาได้ตัดสินรับรู้ได้ตัวเอง   ร่วมกำหนดกติกาอย่างเป็นรูปธรรม หาตรงกลางระหว่างคุณกับลูก เช่น […]

มาเป็นคุณแม่สนุกๆ กันเถอะ

คุณแม่อย่างเราจริงอยู่ว่าภาระหน้าที่ต่างๆ ทั้งการเลี้ยงลูก ดูแลบ้านช่อง หรือหน้าที่การงาน ไม่ค่อยจะอำนวยให้อาชีพแม่อย่างเรารู้สึกสนุกสนานมากนัก แต่…ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลย มาดูเคล็ดลับง่ายๆ ที่ทำให้ทุกๆวันของการเป็นแม่มีความสุขและน่าจดจำกันดีกว่า ตื่นเร็วขึ้นอีกนิด ในทุกๆวัน คุณแม่ต้องรีบตื่นเช้าอยู่แล้วเพื่อเตรียมตัวลูกคนโตไปโรงเรียน วุ่นวายกับลูกคนเล็กที่คอยเอามือแหย่ปลั๊กไฟตลอดเวลา ต้องวิ่งไปหาถุงเท้าให้คุณพ่อผู้ที่ไม่เคยหาอะไรเจอ และไหนจะต้องเตรียมตัวไปทำงานอีก ดูแล้วแทบไม่มีเวลาให้ตัวเองเลย ดังนั้นวิธีง่ายๆที่จะช่วยเพิ่มความสดชื่นและพลังให้คุณแม่ได้คือ ลองตื่นเช้ากว่าเดิมสักครึ่งชั่วโมง แล้วหากิจกรรมผ่อนคลายทำ อย่างดื่มกาแฟสักถ้วย ฟังเพลงที่ชอบ หรืออ่านหนังสือเล่มโปรด การได้ปลดปล่อยความตึงเครียดแค่ 10-15 นาที ก็ช่วยชาร์จพลังคุณแม่ได้ทั้งวันแล้วล่ะค่ะ   หาเวลาทำสิ่งที่ตัวเองชอบ ลองหันหลังกลับไปมองดูว่า ที่เรารู้สึกว่าตัวเองยุ่งทั้งวันจนไม่มีเวลานั้นเป็นเพราะเราจัดการทุกอย่างมากไปหรือเปล่า บางครั้งคุณแม่อาจต้องปล่อยวางให้ตัวเองได้พักบ้าง แล้วเจียดเวลาตรงนั้นมาทำสิ่งที่ตัวเองชอบ เช่น ทาเล็บ อ่านนิยาย ปลูกต้นไม้ ต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น ใช้เวลากับลูกอย่างจริงจัง อ่านเรื่อง “มาเป็นคุณแม่สนุกๆ กันเถอะ” คลิกหน้า 2

ไขปัญหา “ภูมิแพ้ในเด็ก” โรคใกล้ตัวที่น่าเป็นห่วงอนาคตลูกน้อย

ภูมิแพ้ในเด็ก สำหรับปัจจุบันไม่ใช่เรื่องใหม่ เด็กรุ่นใหม่เป็นภูมิแพ้กันมากขึ้น เพราะอะไร จะป้องกันได้ไหม มาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันค่ะ

Kid Safety – “ภูมิแพ้” โรคฮิตในเด็ก

สิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ลูกน้อยมักซ่อนตัวอยู่ใกล้แค่เอื้อมและมาในนามของความรัก

Kid Safety – ระวังโรค ‘หวัดลงกระเพาะ’ ในเด็ก

                  อาการ ถ้าท้องร่วงและอาเจียน ลูกก็อาจจะติดเชื้อโนโรไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรค “หวัดลงกระเพาะ” และแพร่กระจายได้ง่ายมาก แต่อาการก็ควรจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน                 กรณีที่ต้องถึงมือแพทย์   ถ้าลูกมีอาการคล้ายปวดท้องหรือเพลียจนไม่มีแรงดูดนม อุจจาระมีมูกเลือดหรือมีอาการที่บ่งชี้ว่าอาจจะมีภาวะขาดน้ำ (กระหม่อมบุ๋ม ผิวขาดความยืดหยุ่นหรือปัสสาวะน้อยมาก) คุณก็ควรจะพาไปพบแพทย์                 วิธีรับมือ  คอยระวังอย่าให้ลูกมีภาวะขาดน้ำโดยพยายามให้นมแม่หรือนมขวดบ่อยๆ แม้เขาจะกินได้แค่ทีละนิดก็ตาม   จากเรื่อง: Surviving baby’s first cold and flu season ใน parents.com แปลและเรียบเรียง:จิรประภา ภาพ:Shutterstock

Kid Safety – ป้องกันโรค ‘ไอกรน’ ในเด็ก

แพทย์จะรักษาการติดเชื้อไอกรนโดยใช้อะซิโทรมัยซินซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะ และถ้าลูกมีอาการไออย่างรุนแรงร่วมกับอาเจียน

Kid Safety – ป้องกัน ‘ไข้หวัดใหญ่’ ในเด็ก

ถ้าเห็นว่าลูกมีอาการคล้ายกับจะเป็นไข้หวัดใหญ่ คุณก็ไม่ควรจะชะล่าใจ เพราะเด็กอเมริกันวัยต่ำกว่า 5 ขวบซึ่งต้องนอนโรงพยาบาลเนื่องด้วยภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้มีจำนวนถึงปีละกว่า 20,000 คน

Kid Safety – ติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี

อาการ ในผู้ใหญ่และเด็กโต อาการจะดูเหมือนไข้หวัด แต่ในลูกวัยแรกเกิด การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีที่ปอดอาจทำให้หลอดลมฝอยอักเสบหรือปอดบวม จึงต้องคอยสังเกตว่าลูกหายใจเสียงวี้ดๆ หายใจลำบาก (เวลาที่พยายามสูดลมหายใจ หน้าอกจะบุ๋มลงไป) และไข้สูงหรือเปล่า กรณีที่ต้องถึงมือแพทย์ ให้คุณโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งที่ลูกไอหรือหายใจเสียงวี๊ดๆ และถ้าเขาหายใจลำบากอย่างเห็นได้ชัด ก็ต้องพาไปพบแพทย์ทันที วิธีรับมือ สำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนดและทารกที่หัวใจ/ปอดมีปัญหาแต่กำเนิด ไวรัสอาร์เอสวีจะอันตรายมากเป็นพิเศษ แพทย์จึงอาจจะแนะนำให้ใช้ยาฉีดที่ช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อโดยให้ฉีดเดือนละ 1 เข็ม และถ้าลูกติดเชื้อ น้ำเกลือล้างจมูก ลูกยางแดงและเครื่องทำความชื้นก็ช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาลดไข้   บทความแนะนำ >> 10 ข้อปฏิบัติป้องกันให้ทารกป่วยน้อยลง จากเรื่อง: Surviving baby’s first cold and flu season ใน parents.com แปลและเรียบเรียง:จิรประภา ภาพ:Shutterstock

กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ (คอตีบเทียม)

อาการที่ชัดเจนคือการไอเสียงก้อง ซึ่งมักจะแย่ลงตอนกลางคืนและอาจฟังดูน่ากลัว

Kid Safety – รู้จักกับไข้หวัดทั่วไปในเด็ก

ถ้าคัดจมูก การดูดนมแม่หรือนมขวดก็จะกลายเป็นเรื่องยาก

Kid Safety – 10 ข้อปฏิบัติป้องกันให้ทารกป่วยน้อยลง

ใส่ใจดูแลลูกน้อยอย่างรอบคอบแล้ว สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวคุณแม่เองด้วย

Kid safety – ช่วงให้นม ใช้ยาอย่างไร แม่และเบบี๋ปลอดภัย ตอนที่ 2

แม้ช่วงที่ยังให้นมลูก รอบเดือนของคุณแม่อาจยังไม่มาตามปกติ แต่การตกไข่ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นถ้าเคยกินยาคุมกำเนิด การเลือกยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโพรเจสทินอย่างเดียวก็ยังใช้ในช่วงให้นมได้อย่างปลอดภัย

Kid safety – ช่วงให้นม ใช้ยาอย่างไร แม่และเบบี๋ปลอดภัย

วิธีรับมือกับนานาปัญหาสุขภาพของแม่ลูกอ่อนทั้งแบบพึ่งและไม่พึ่งการใช้ยา ซึ่งถึงจะอยู่ในช่วงให้นม ก็ไม่เป็นอันตรายต่อเบบี๋อย่างแน่นอน

keyboard_arrow_up