ระวัง! ลูกอาเจียน เสี่ยงเป็น 6 โรคร้าย - amarinbabyandkids
ลูกอาเจียน

ระวัง! ลูกอาเจียน เสี่ยงเป็น 6 โรคร้าย

event
ลูกอาเจียน
ลูกอาเจียน

ลูกอาเจียน

อาการการขาดน้ำค่อนข้างมากที่ควรรีบพาลูกไปหาหมอ

  1. มีอาการซึม หงอยลง ไม่เล่น ไม่คุยเหมือนก่อน บางทีจะพบว่า เด็กจะเพลียเอาแต่นอน ในบางรายอาจดูกระสับกระส่าย เอะอะโวยวายสลับกับอาการซึมก็ได้
  2. ร้องไห้ไม่ค่อยมีน้ำตาออกมา น้ำลายแห้ง
  3. ไม่ค่อยมีปัสสาวะ หรือสังเกตว่าผ้าอ้อมไม่เปียกจากการที่เด็กไม่มีปัสสาวะเลยหลายชั่วโมง (6-8 ชั่วโมง)
  4. กระหม่อมหน้าบุ๋มลึก หรือมีกระบอกตาลึก ริมฝีปากแห้ง
  5. การเต้นของหัวใจหรือชีพจรค่อนข้างเบาเร็ว
  6. ผิวหนังที่เคยดูอวบตึง กลับมีความรู้สึกเหี่ยวย่น แห้งๆ ไป
  7. ในกรณีที่มีอาการชัก และซึมลง ร่วมด้วย
  8. ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 6 เดือน) เมื่อมีการอาเจียนหรือท้องเสียค่อนข้างมาก ควรพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเกิดอันตรายจากการขาดน้ำหรือการติดเชื้อรุนแรงได้ง่าย และเนื่องจากอาการของเด็กเล็ก จะสังเกตดูได้ยากกว่าเด็กโต

การวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ

ส่วนใหญ่แพทย์จะให้การวินิจฉัยเบื้องต้นจากลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ประวัติความเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว การใช้ยาต่างๆ ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด

การรักษา

  • การรักษาที่เฉพาะเจาะจงขึ้นกับสาเหตุของโรคว่าเป็นจากอะไร หากสาเหตุไม่ร้ายแรงส่วนใหญ่มักไม่เป็นปัญหาในการรักษา อย่างไรก็ตามการทีอาเจียนมากอาจจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมา เช่น ภาวะขาดน้ำ และเสียสมดุลเกลือแร่ หรือที่เรียกว่าอิเลคโทรลัยต์ในร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้ทันท่วงที
  • สำหรับลูกที่อาเจียนไม่มาก โดยทั่วไปมักจะแนะนำให้กินอาหารที่ย่อยง่ายในปริมาณที่ลดน้อยลง แต่ถ้าอาเจียนมากหรือรุนแรง อาจต้องงดอาหาร และให้สารน้ำทางหลอดเลือดหรือให้น้ำเกลือแทน แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องกระทำทุกรายไป ขึ้นกับความรุนแรงของอาการว่ามากหรือน้อย และพิจารณาสาเหตุที่ทำให้อาเจียนเป็นรายๆ ไป
  • ยาที่มีส่วนช่วยทำให้อาเจียนน้อยลง หรือที่เรียกว่ายาแก้อาเจียน มีทั้งยาที่ออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหาร และยาที่ออกฤทธิ์ในสมอง ยาที่ใช้บ่อยได้แก่ metoclopramide, domperodine, cisapride การใช้ยากลุ่มนี้ควรให้เพื่อป้องกัน ไม่ควรให้หลังจากที่มีอาการอาเจียนแล้ว ในผู้ป่วยที่อาเจียนอยู่ แนะนำให้กินหรือฉีดก่อนรับประทานอาหารประมาณ 20-30 นาที
  • ถ้าลูกอาเจียน ควรให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยให้ทีละน้อย บ่อยๆ ให้น้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปกับอาเจียน โดยให้จิบทีละน้อย และบ่อยๆ และให้ยาแก้อาเจียนตามแพทย์สั่ง ควรให้รับประทาน 1/2 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร
  • เมื่อมีอาเจียนมาก รับประทานอาหารหรือน้ำไม่ได้เลย ซึมลง มีอาการขาดน้ำ กระหม่อมบุ๋ม ปากแห้งมาก ตาโหล ผิวหนังเหี่ยว แพทย์จะพิจารณาให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด และรักษาสาเหตุต่อไป

คุณพ่อคุณแม่ควรพึงระลึกไว้เสมอว่า ลูกอาเจียน เป็นอาการแต่ไม่ใช่โรค ดังนั้นการรักษามิใช่เพียงให้ยาแก้อาเจียน แต่ต้องวินิจฉัยค้นหาสาเหตุ เพราะสาเหตุบางอย่างจะมีอันตรายถึงชีวิต เช่น อาเจียนจากโรคลำไส้อุดตัน หรืออาเจียนจากภาวะความดันในสมองสูง เป็นต้น สำหรับอาการอาเจียนที่เกิดจากยารักษามะเร็งหรือเคมีบำบัดนั้น ต้องได้รับการบำบัดรักษาเป็นกรณีพิเศษ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.bangkokhealth.com=

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up