หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้

หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้ ครม.เห็นชอบแก้กฎหมาย

account_circle
event
หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้
หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้

ครม.เห็นชอบในการแก้กฎหมาย หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้หญิงและเด็ก หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การกำหนดให้หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกมีความผิดอาญานั้น เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของหญิงเกินจำเป็น

เล็งแก้กฎหมาย หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้!

คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก โดยน.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ว่า ที่มาคือ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 กำหนดให้หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกมีความผิดอาญานั้น เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของหญิงเกินจำเป็น ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และเพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ 305 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพิ่มเติมว่า ได้กำหนดอายุครรภ์สำหรับความผิดฐานใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ มีความผิดและต้องรับโทษ เพื่อคุ้มครองสิทธิของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้เกิดความสมดุลกัน กล่าวคือหากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้โดยไม่มีความผิด อย่างไรก็ตาม เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูก ให้ครอบคลุมกรณีต่างๆ ที่จำเป็นและสมควรต้องทำแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ให้กับหญิง และกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องทำตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาเพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ

แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 301 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ “ไม่เกิน 12 สัปดาห์” สามารถทำแท้งได้ จากเดิมที่ห้ามหญิงตั้งครรภ์ทำแท้งโดยเด็ดขาด ซึ่งการกำหนดอายุครรภ์ดังกล่าวเป็นไปตามความเห็นของแพทยสภาและราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ปลอดภัยที่สุดในการทำแท้ง ไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ทำแท้งเกิดอาการแทรกซ้อนและเป็นอันตรายแก่ชีวิต นอกจากนี้ได้มีการแก้ไขลดอัตราโทษเพื่อให้เหมาะสมกับการที่ผู้ทำแท้งต้องได้รับความเจ็บปวดทางร่างกายอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดโทษสูงอีก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากเดิมที่กำหนดให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 305 มีการแก้ไขเพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูก ให้ครอบคลุมกรณีที่จำเป็นและสมควรต้องทำแท้ง หรือยุติการตั้งครรภ์ให้กับหญิง คือ มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกาย หรือจิตใจของหญิงนั้น (2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากทารกคลอดออกมาจะมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติทางกายหรือจิตใจถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง (3) หญิงมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ (4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์

ในลำดับต่อไปจะส่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาโดยด่วน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ก่อนวันที่ 12 ก.พ. 2564

หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้

การแท้งที่ไม่ปลอดภัย ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ

ข้อมูลจากสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ทุกประเทศทั่วโลกได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการแท้งที่ไม่ปลอดภัยในลำดับต้น ๆ ปัญหานี้แตกต่างจากปัญหาสาธารณสุขอื่น ๆ และสัมพันธ์กับปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ ศีลธรรม จริยธรรม ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม การเมือง และกฎหมาย โดยการแท้งเป็นการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม การแท้งที่ไม่ปลอดภัย การแท้งที่ไม่ครบ (Incomplete abortion) การแท้งซ้ำซ้อน (Inevitable abortion) และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการแท้งยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในอันดับต้น ๆ ของประเทศที่ควรจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยแบ่งออกเป็น

  1. การแท้งเอง (Spontaneous abortion) หมายถึง การสิ้นสุดลงของการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้เกิดจากการชักนำด้วยวิธีการใด ๆ และอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์
  2. การทำแท้ง (Induced abortion) หมายถึง การสิ้นสุดลงของการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการชักนำด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์โดยอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์ และไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และไม่จำกัดอายุครรภ์โดยทารกในครรภ์มีหรือไม่มีชีวิต

หญิงมีครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้

การแท้งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการแท้ง เช่น

ไม่ว่าจะเป็นการแท้งเองหรือการทำแท้ง ควรอยู่ภายใต้การดูแลและรักษาของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความสะอาดและปลอดภัย

อ้างอิงข้อมูล : amarintv.com และ rh.anamai.moph.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

ทำแท้ง อันตรายไหม? สธ.เปิดสายด่วนรับปรึกษาทำแท้งถูกกฎหมาย

ทำอย่างไร ให้ห่างไกลจาก แท้งซ้ำ

ความเชื่อของคนไทย แม่ท้องให้นมลูกเสี่ยงแท้ง!?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up