แม่น้องเล็ก
คุณแม่ผู้สนใจ เรื่องราวเฝ้าระวัง เตือนภัย และสิทธิประโยชน์ เพราะโรคภัยและอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา จึงไม่ควรละเลยสิ่งนี้ เพื่อความปลอดภัยของลูกและทุกคนในครอบครัว
รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัยลูกน้อยแรกเกิด-12เดือน
ช่วงแรกเกิด – 12 เดือน คุณพ่อคุณแม่อาจจะคาดไม่ถึงว่า มีการบาดเจ็บของเด็กเกิดขึ้นได้เช่นกัน จากสถิติทั่วโลกที่ผ่านมาพบว่า การบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในช่วงวัยนี้คือ ศีรษะกระแทก พลัดตกหกล้ม และการกลืนสารพิษหรือวัตถุเข้าไปในร่างกาย เรามา รู้ทันพัฒนาการเสี่ยงภัย กันค่ะ
รู้จริงก่อนแชร์ แมลงชนิดนี้ไม่ได้ทำให้ถึงตาย
มีข่าวลือในสื่อโซเชียล ว่าพบ แมลงพิษร้าย ชนิดหนึ่งที่ถ้ามาเกาะตัว ห้ามตบมันโดยเด็ดขาด เพราะภายในตัวมีสารพิษชนิดเหลว เมื่อสัมผัสผิวแล้วตายสถานเดียว จึงเตือนให้เด็กๆ ระมัดระวัง และพบผู้เสียชีวิตแล้ว เรื่องจริงเป็นอย่างไร แม่น้องเล็กหาข้อมูลมาให้อ่านกันค่ะ
ข้อเท็จจริง มิจฉาชีพ ทำไมถึงลักพาตัวเด็กน้อย
มีข้อมูลหนึ่งจากเพจ ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา น่าสนใจ เกี่ยวกับการลักพาตัวเด็ก ทำให้ทราบว่าทำไม มิจฉาชีพ ถึงลักพาตัวเด็กน้อย และมีวิธีการอย่างไรในการลักพาตัว แม่น้องเล็กจึงขอหยิบเรื่องราวนี้มาให้คุณพ่อ คุณแม่ได้อ่านกัน เพื่อให้ระมัดระวังตัวเองไม่ให้ลูกถูกลักพาตัว
จัดบ้านปลอดภัย ป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเสียชีวิต
จากข้อมูลในเพจของคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ที่แม่น้องเล็กไปอ่านเจอ เกี่ยวกับการ ป้องกันอุบัติเหตุ ไม่ให้ลูกน้อยเสียชีวิต ซึ่งจากข้อมูลของคณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุแห่งชาติ ระบุว่า ปี 2542 มีเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 3,000-4,000 คน แถมแม่น้องเล็กมีวิธีจัดบ้านปลอดภัยมาฝากด้วยนะ
#Thai Moms Top of Mind ที่สุดของแม่ไทย
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา แม่น้องเล็กได้มีโอกาสได้ไปร่วมฟังผลงานวิจัย #Thai Mom Top of Mind ที่สุดของแม่ไทย โดยมีทีมผู้บริหาร Amarin Baby & Kids ตัวแทนจากบริษัท วิดีโอ รีเสิร์ช อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด และผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นเข้าร่วม
Step by Step ทารกแต่ละช่วงวัยกินอะไร อย่างไร
คุณพ่อ คุณแม่หลายคน เริ่มให้ลูกน้อยรับประทานอาหารตั้งแต่ 6 เดือน โดยให้นมแม่ร่วมกับอาหารเสริมเล็กน้อย ถือเป็นการเตรียมความพร้อม อาหารต้องบดละเอียดเนียนเป็นเนื้อเดียว ให้เริ่มทีละน้อยก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณ แม่น้องเล็กมีวิธี เลือกอาหารให้ลูก มาฝากค่ะ
เลือกของเล่นดี ๆ ให้เบบี๋ 7 – 12 เดือน
ลูกน้อยวัย 7 – 12 เดือนเริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองได้ หัดหยิบจับสิ่งของด้วยนิ้วมือได้ดีขึ้น มีความกระตือรือร้นในการเล่นมากขึ้น เราจะปล่อยให้ช่วงเวลาอันมีค่าอย่างนี้ผ่านไปเปล่าๆ ทำไม มาหา ของเล่นกระตุ้นพัฒนาการ ที่เหมาะกับเจ้าหนูวัยนี้กันดีกว่าค่ะ
กลยุทธ์พ่อลูกผูกพัน 6 เดือนแรก
คุณพ่อ และลูกน้อยสามารถสร้างสายสัมพันธ์ และความรักผูกพันกันได้ไม่แพ้สายใยแม่ลูก ด้วยการที่คุณพ่อช่วยทำทุกหน้าที่ที่คุณแม่ทำนั่นเอง มาดูกันซิว่ามีกลยุทธ์อะไรช่วยได้บ้างในการ สร้างความผูกพันพ่อลูก ในช่วง 6 เดือนแรกของลูกน้อย คุณพ่อลองทำตามกันดูนะคะ
การเล่นทำให้เด็กฉลาด แนะ 9 ของเล่นสร้างลูกอัจฉริยะ
คุณแม่เป็นคนสำคัญที่ลูกน้อยต้องการมากที่สุด แต่ลูกน้อยจ้องหน้าคุณแม่ทั้งวัน (นอกเหนือจากการนอน กิน และขับถ่าย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำแน่ๆ) คงไม่สนุกแน่ สิ่งที่คุณแม่ทำได้ และดีที่สุดกับลูกน้อย คือการเล่นกับเขา เพราะมีงานวิจัยมากมายพบว่า การเล่นทำให้เด็กฉลาด เรียนรู้เร็ว
4 ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงน้ำนมเหือดหาย
6 เดือนแรกของลูกน้อยเป็นวัยที่สำคัญ ลูกน้อยจะต้องได้รับสารอาหารจากนมแม่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แต่มี ปัจจัยเสี่ยงน้ำนมหด ที่คุณแม่ต้องระวัง ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้น้ำนมของคุณแม่มีโอกาสเหือดแห้ง ลดน้อยลง หรือท่อน้ำนมเกิดการอุดตันได้ ลองมาสำรวจกันเลยค่ะ
โรคคาวาซากิ ประสบการณ์โรครุนแรงในเด็กเล็ก
ในเด็กเล็กๆ ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรงมากนัก ฉะนั้นจึงเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายและบ่อย ซึ่งในบางครั้งอาจป่วยไข้ขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุ อย่าง คาวาซากิ ที่ถือเป็นโรคร้ายแรงกับเด็ก เพราะสามารถทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจขึ้นได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลการป่วยจาก “คาวาซากิ” มาให้ทุกครอบครัวได้ทราบและระวังกันค่ะ
ระวัง! 4 จุดบอบบางของเบบี๋ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
โดยปกติเราต้องระวังทารกทุกกระเบียดนิ้วอยู่แล้ว แต่มีอยู่ 4 จุดนี้ ที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นกว่าจุดอื่นๆ คือ 4 จุดบอบบาง ได้แก่ ไขมันบนหนังศีรษะ เล็บมือ สายสะดือ อวัยวะเพศ แม่น้องเล็กมีเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับการดูแล 4 นี้ของลูกน้อยมาฝากคุณพ่อ คุณแม่ค่ะ
การเลี้ยงลูกในโลกยุคไอที ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
IT ย่อมาจาก Information and Technology ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในศตวรรษที่ 21 ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มาก แต่ก็มีโทษมากเช่นเดียวกัน เด็กยุคใหม่จึงต้องมีทักษะทางด้านไอที เพื่อเอาตัวรอด และเพื่ออนาคตที่ดี แม่น้องเล็กมีคำแนะนำในการ เลี้ยงลูกยุคไอที ให้ได้ประโยชน์มาฝากค่ะ
เด็กจมน้ำ ช่วงปิดเทอมหน้าร้อน เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง
คุณพ่อ คุณแม่คงเคยได้ยินข่าว เด็กจมน้ำ กันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนปิดเทอม มักจะมีข่าวนี้ออกมาถี่กว่าปกติ เพราะหลายครอบครัวใช้เวลาในช่วงปิดเทอมหน้าร้อนไปกับท่องเที่ยว ทั้งไปทะเล เที่ยวน้ำตก หรือเล่นน้ำตามแม่น้ำลำคลองเพื่อคลายร้อน จึงต้องงระวังให้มากๆ
เตือนพ่อแม่ นั่งเบาะหลังไม่คาดเข็มขัดอันตราย
คุณพ่อ คุณแม่ทราบหรือไม่คะว่าตอนนี้มีคำสั่งใหม่จาก พล.อ.ประยุทธ์ ใช้มาตรา 44 สั่งให้ผู้โดยสารรถยนต์ทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ถ้าทำผิดไม่จ่ายค่าปรับจะโดนฟ้องศาล ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ หรือลูกน้อย นั่งเบาะหลังไม่คาดเข็มขัด ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ไม่ต่างกับนั่งหน้า
หยุดพฤติกรรมเสี่ยง ทำลายรังไข่ และมดลูก
คุณแม่ทุกคนนอกจากจะใส่ใจและให้ความสำคัญกับลูกน้อยแล้ว อย่าลืมให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเอง ซึ่งโรคที่ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงคือ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม การดูแลตัวเองและหยุด พฤติกรรมเสี่ยงทำลายรังไข่ และมดลูก จะช่วยให้คุณแม่อยู่กับลูกน้อยไปได้อีกยาวนาน
สัญญาณเตือนภัย เมื่อลูกน้อยขาดสารอาหาร
เมื่อคุณแม่ให้กำเนิดลูกน้อย อาหารอย่างแรกที่ลูกน้อยจะได้รับประทานคือนมแม่ และเมื่อถึงวัย 6 เดือนขึ้นไปลูกน้อยก็สามารถรับประทานอาหารเสริมได้แล้ว คุณแม่หลายคนอาจเป็นกังวลว่าลูกน้อยจะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ แม่น้องเล็กจึงมีวิธีสังเกตสัญญาณเตือน เมื่อลูกน้อย ขาดสารอาหาร มาฝากค่ะ
13 ของใช้ในบ้านอันตราย พ่อแม่ต้องระมัดระวัง
คุณพ่อ คุณแม่ทราบหรือไม่คะว่าภายในบ้านของเรามี ของใช้อันตราย แอบแฝงอยู่ อาจจะเป็นเพราะความเคยชินที่เราต้องใช้สิ่งของเหล่านี้อยู่เป็นประจำ จึงหลงลืมที่จะระมัดระวังในการใช้งาน จนบางครั้งอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพของคุณพ่อ คุณแม่ และลูกน้อยได้ โดยที่ไม่รู้ตัวเลย