คุณพ่อ คุณแม่คงจะทราบกันดีว่าเด็กๆ มักจะซุกซน และอยากเรียนรู้ บางครั้งอาจทำให้บาดเจ็บ ถูกของมีคมบาด คุณพ่อ คุณแม่จึงต้องพกอุปกรณ์ ห้ามเลือดให้ลูก ติดตัวเอาไว้เสมอๆ สำหรับบทความนี้ แม่น้องเล็กมีวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกน้อยถูกของมีคมบาดมาฝากค่ะ
ห้ามเลือดให้ลูก ง่ายนิดเดียว
ก่อนที่เราจะมาเรียนรู้ในการปฐมพยาบาลห้ามเลือดให้ลูกน้อย แม่น้องขอเล่าถึงชนิดของบาดแผลต่างๆ เพื่อที่จะให้คุณพ่อ คุณแม่ทำความเข้าใจ และปฐมพยาบาลกับบาดแผลชนิดนั้นๆ อย่างเหมาะสมค่ะ
บาดแผลทั้งหมด มี 7 ชนิด
1.แผลฟกช้ำ ห้อเลือด
วิธีการปฐมพยาบาลง่ายๆ คือประคบด้วยความเย็นทันที ภายใน 24 ชั่วโมงแรก แล้วประคบด้วยความร้อนภายใน 24 ชั่วโมงหลัง
2.แผลถลอก
ถ้ามีเลือดซิบๆ ให้รีบล้างแผลให้สะอาดทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการอักเสบ ทำให้แผลสะอาดอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันการลุกลามของแผลไม่ให้รุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นแบคทีเรียกินเนื้อคน
3.แผลฉีกขาด
ล้างแผล และรอบแผลด้วยน้ำสะอาด ใช้สบู่อ่อนทำความสะอาดสิ่งสกปรกแล้วกดบาดแผลเพื่อห้ามเลือดด้วยผ้าสะอาด 3-5 นาที จากนั้นทำความสะอาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้าปิดแผล ถ้าลูกน้อยมีแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วจะดีกว่าค่ะ
4.แผลถูกแทง
ทำการห้ามเลือด แล้วรีบพาส่งโรงพยาบาล ถ้ามีของมีคมปักคาอยู่ห้ามดึงออก ให้ใช้ผ้าสะอาดกดรอบแผล และใช้ผ้าพันไว้
5.แผลอวัยวะถูกตัดขาด
ทำการห้ามเลือด แล้วรีบพาส่งโรงพยาบาล ส่วนอวัยวะที่ถูกตัดขาดให้ใส่ถุงพลาสติกที่สะอาด ปิดปากถุงให้แน่น ไม่ให้น้ำเข้า แล้วแช่ในถังน้ำแข็ง นำไปด้วย
6.แผลถูกยิง
ทำการห้ามเลือด แล้วรีบพาส่งโรงพยาบาลทันที เพราะจะมีการเสียเลือดค่อนข้างมาก
7.แผลถูกความร้อน
รีบถอด หรือตัดเสื้อผ้าส่วนที่ถูกความร้อนออก ถอดเครื่องประดับ เปิดน้ำเย็นให้ไหลผ่านแผล แล้วทายาสำหรับแผลไฟไหม้ ปิดด้วยผ้าปิดแผลที่สะอาด ถ้าแผลกว้างและลึก หรือถูกอวัยวะสำคัญ ควรรีบพบแพทย์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “การห้ามเลือดสำหรับแผลภายนอก” คลิกหน้า 2
การห้ามเลือดสำหรับแผลภายนอก
วิธีการห้ามเลือดมีหลักการง่ายๆ อยู่ 2 อย่างคือ การใช้มือกด และการใช้ผ้ากดเพื่อพันแผล แต่มีเทคนิคเฉพาะจุดที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องทำความเข้าใจ ดังนี้
1.ถ้าแผลมีขนาดเล็ก ให้ล้างแผล แล้วใช้มือสะอาดกดปากแผล หรือใช้ผ้าสะอาดกดประมาณ 5-10 นาที
เครดิตภาพ: หมอชาวบ้าน
2.ถ้าแผลมีขนาดใหญ่ ให้ล้างแผล แล้วใช้ผ้าปิดปากแผลไว้ ใช้สันมือหรือฝ่ามือกดประมาณ 10-15 นาที ถ้าเลือดไม่หยุดและแผลเกิดขึ้นที่แขน-ขา ให้กดที่แขนพับหรือขาหนีบ แต่อย่ากดจนซีด แล้วนำส่งโรงพยาบาล
เครดิตภาพ: หมอชาวบ้าน
3.ถ้าเลือดออกตามไรฟัน ให้อมน้ำเย็น หรือน้ำแข็งจนกว่าเลือดจะหยุด แต่ถ้าเลือดออกเพราะฟันหลุด หรือถอนฟัน ให้กัดก้อนผ้าสะอาดประมาณ 10-15 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุด ถ้าเลือดไม่หยุดควรพบแพทย์
4.ถ้าเลือดกำเดาไหล ให้นั่งก้มหน้า บีบจมูกให้แน่น 5-10 นาที จนเลือดหยุด ระหว่างนั้นให้หายใจทางปาก ถ้าเลือดตกไปที่คอหอยให้บ้วนออกมา ใช้น้ำแข็ง หรือน้ำเย็นโปะจมูกหลัง 5-10 นาที ถ้าเลือดยังออกให้พบแพทย์
5.ถ้าเลือดออกจากก้น เป็นเลือดที่ออกมาเมื่ออุจจาระแข็ง หรือเบ่งมากจนเกินไป มักเกิดจากริดสีดวง ให้ลูกน้อยขมิบก้นไว้ แล้วนั่งทับก้อนผ้า แล้วรีบผ้าส่งโรงพยาบาล
หมายเหตุ
- การใช้มือกด ใช้มือ หรือนิ้วกดบาดแผลโดยตรง โดยการบีบปากแผลเข้าหากัน ส่วนใหญ่จะใช้นิ้วกดเส้นเลือดแดงใหญ่เหนือบาดแผล ใช้กับแผลบริเวณแขน-ขาที่มีเลือดออกมาก แต่ห้ามกดติดต่อกันนานเกิน 15 นาที เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อส่วนปลายขาดเลือดได้
- การใช้ผ้ากด และใช้ผ้าพันแผล มี 3 ขั้นตอนคือ ขยุ้มผ้าสะอาดกดลงบนแผลโดยตรง แล้วใช้ผ้าสามเหลี่ยมพันขยุ้มผ้า แล้วใช้ผ้ายืดพัน
- ห้ามให้อาหาร น้ำ และยากับลูกน้อยที่เสียเลือดมาก ห้ามขันชะเนาะเพื่อห้ามเลือด
ถ้าลูกน้อยไม่ได้กระดูกหัก ให้ยกแผลที่มีเลือดออกให้สูงกว่าหัวใจ ไม่ควรกด หรือพันแผลแน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้อวัยวะที่กด หรือพันเอาไว้ขาดเลือดได้ ถ้าผ้าปิดแผลชุ่มเลือดแล้วไม่ควรเอาออก ให้นำผ้าอีกชิ้นมาปิดทับผ้าชิ้นแรก นอกจากนี้ คุณพ่อ คุณแม่ควรระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อ จากมือ และผ้าที่ไม่สะอาด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “การห้ามเลือดสำหรับแผลภายใน” คลิกหน้า 3
การห้ามเลือดสำหรับแผลภายใน
1.ให้ลูกน้อยพักในที่สบายที่สุด ถ้าหน้ามืด เป็นลม จัดให้นอนราบ ไม่หนุนหมอน แล้วใช้หมอนหนุนขาให้สูง
2.ปลอบใจลูกน้อย ไม่ให้ตื่นตกใจ และสงบ เลือดจะออกน้อยลง พัดโบกลมให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวที่สุด
3.เก็บเลือด อาเจียน สิ่งที่ลูกน้อยถ่ายออกมาให้คุณหมอตรวจดูด้วย ห้ามให้อาหาร และน้ำ
4.ถ้าลูกน้อยไอเป็นเลือด พยายามให้ลูกไอเบาๆ จะทำให้เลือดออกน้อยลง
5.ถ้าลูกน้อยกระดูกหัก แล้วบริเวณนั้นบวมขึ้นมา แสดงว่าเลือดออกภายใน พยายามให้ส่วนนั้นอยู่นิ่งๆ
ชมคลิป ห้ามเลือดให้ลูก เมื่อถูกของมีคมบาด – easy baby & kids ได้ที่นี่
เครดิต: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, หมอชาวบ้าน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก!!
[Baby&Kids Easy Steps] ก้มหรือเงยหน้า? เวลา ลูกเลือดกำเดาไหล
[Baby&Kids Easy Steps] ปฐมพยาบาลลูก หัวโน
Kid Safety – วิธีปฐมพยาบาลเมื่อพบเด็กกินยาเกินขนาด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่