AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

การใช้ยาในเด็ก ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยตามวัย

การใช้ยาในเด็ก ให้ยาเด็กสำคัญ

ยาเป็นสิ่งที่ใช้ในการรักษาโรค ไม่ว่าจะในผู้ใหญ่ หรือเด็ก เมื่อมีอาการเจ็บป่วยก็ต้องใช้ยาในการรักษา หลัก การใช้ยาในเด็ก เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมียาหลายชนิดที่จำเป็นที่ต้องใช้ในเด็ก แต่ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนยาที่เหมาะสม บางครั้งทำให้ไม่ทราบถึงขนาดยา การใช้ยาที่เหมาะสมกับเด็ก

สูตรคำนวณการใช้ยาในเด็ก

การกำหนดการใช้ยาในเด็กมีวิธีต่างๆ กัน โดยอาศัยขนาดยาจากผู้ใหญ่ แล้วคำนวณขนาดยาสำหรับเด็ก

สูตรคำนวณการใช้ยาในเด็ก

สูตรคำนวณเหล่านี้เป็นสูตรที่ใช้ในการคำนวณมาเป็นเวลานาน และแพร่หลายในโรงพยาบาล เพราะมีการพิสูจน์ความถูกต้อง และสามารถใช้กับเด็กแรกเกิด – 12 ขวบ อาจมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย

อ่านต่อ “ตัวอย่างการใช้ยาลดไข้ในเด็ก” คลิกหน้า 2

ตัวอย่างการใช้ยาลดไข้ในเด็ก

ยาลดไข้ในเด็กที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 ชนิด คือ พาราเซตามอล แอสริน และไอบูโพรเฟน

การใช้ยาลดไข้ในเด็ก

1.พาราเซตามอล

เป็นยาลดไข้ แก้ปวด แก้ตัวร้อนได้ผลดี มีความปลอดภัยเมื่อใช้ติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ มีแบบชนิดหยอดสำหรับเด็กแรกเกิด – 1 ขวบ และชนิดน้ำของเด็กตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป

การใช้ยาลดไข้ในเด็ก

2.แอสไพริน

แอสไพริน เป็นยาลดไข้ แก้ตัวร้อน ได้ผลดีและนิยมใช้กันในอดีต แต่เกิดผลข้างเคียงบ่อย เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ยับยั้งการแข็งตัวของเกล็ดเลือด เมื่อเป็นแผลแล้วเลือดจะไหลไม่หยุด ทำให้คนส่วนใหญ่หันมารับประทานพาราเซตามอล ซึ่งไม่พบผลข้างเคียง แต่ก็ยังมีใช้อยู่บ้าง เพราะออกฤทธิ์เร็วกว่า และช่วยขับเหงื่อ

ยาที่นิยมใช้กับเด็กมี 2 ขนาด คือ 60-65 มิลลิกรัม และ 300-325 มิลลิกรัม แนะนำให้ใช้ในเด็กมากกว่า 1 ขวบ

3.ไอบูโพรเฟน

ยานี้เป็นยาที่นิยมใช้กันมากขึ้น เพราะสามารถออกฤทธิ์ได้นาน 8 ชั่วโมง ทำให้ไม่จำเป็นต้องปลุกลูกขึ้นมารับประทานยา แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้เป็นเวลานาน เพราะยังไม่มีรายงานความปลอดภัยในเด็กที่ใช้ยานี้เป็นเวลานานๆ แนะนำให้ใช้ยาหลังอาหารทันที และไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันเกิน 7 วัน

การใช้ยาเด็กส่วนใหญ่จะใช้ชนิดน้ำ ใน 1 ช้อนชา ประกอบด้วยตัวยา 100 มิลลิกรัม เด็กตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ขวบ ใช้ขนาด 5 – 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 6 – 8 ชั่วโมง เช่น น้ำหนัก 12 กิโลกรัม ใช้ยา 1 ช้อนชา, 24 กิโลกรัม ใช้ยา 2 ช้อนชา

อ่านต่อ “วิธีการเก็บรักษายาสำหรับเด็ก” คลิกหน้า 3

วิธีการเก็บรักษายาสำหรับเด็ก

คุณพ่อ คุณแม่ควรเก็บรักษายา และทิ้งเมื่อยาเสื่อมสภาพ โดยการเก็บยาแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ตรวจดูวันหมดอายุทุกครั้งก่อนใช้ยา เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

การเก็บยาที่ถูกต้อง

เครดิต: ภัทรินทร์ พิทักษ์โชติวรรณ และวีรยา กุลละวณิชย์ เภสัชศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, หมอชาวบ้าน

Save

Save