ตัวอย่างการใช้ยาลดไข้ในเด็ก
ยาลดไข้ในเด็กที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 ชนิด คือ พาราเซตามอล แอสริน และไอบูโพรเฟน
1.พาราเซตามอล
เป็นยาลดไข้ แก้ปวด แก้ตัวร้อนได้ผลดี มีความปลอดภัยเมื่อใช้ติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ มีแบบชนิดหยอดสำหรับเด็กแรกเกิด – 1 ขวบ และชนิดน้ำของเด็กตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป
- ยาชนิดหยด เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด – 1 ขวบ ความเข้มข้นสูง เมื่อใช้ในปริมาณน้อยก็ช่วยลดไข้ แก้ตัวร้อนได้ดี ขนาดที่ใช้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของเด็ก ให้ยาทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อตัวร้อน เป็นไข้
- ยาชนิดน้ำเหมาะสำหรับเด็ก 1 ขวบขึ้นไป มีทั้งแบบน้ำเชื่อม และแขวนตะกอน โดยแบ่งเป็นชนิดปกติ และชนิดเข้มข้น สามารถรับประทานโดยการคำนวณจากน้ำหนักตัวตามตารางข้างบน
2.แอสไพริน
แอสไพริน เป็นยาลดไข้ แก้ตัวร้อน ได้ผลดีและนิยมใช้กันในอดีต แต่เกิดผลข้างเคียงบ่อย เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ยับยั้งการแข็งตัวของเกล็ดเลือด เมื่อเป็นแผลแล้วเลือดจะไหลไม่หยุด ทำให้คนส่วนใหญ่หันมารับประทานพาราเซตามอล ซึ่งไม่พบผลข้างเคียง แต่ก็ยังมีใช้อยู่บ้าง เพราะออกฤทธิ์เร็วกว่า และช่วยขับเหงื่อ
ยาที่นิยมใช้กับเด็กมี 2 ขนาด คือ 60-65 มิลลิกรัม และ 300-325 มิลลิกรัม แนะนำให้ใช้ในเด็กมากกว่า 1 ขวบ
- เด็ก 1 – 5 ขวบ ใช้ขนาด 60-65 มิลลิกรัมต่ออายุ 1 ขวบ เช่น 1 ขวบ 1 เม็ด, 2 ขวบ 2 เม็ด
- เด็ก 5 – 10 ขวบ ใช้ขนาด 300 – 600 มิลลิกรัม ทุก 4 – 6 ชั่วโมง หรือเวลาตัวร้อนและมีไข้
3.ไอบูโพรเฟน
ยานี้เป็นยาที่นิยมใช้กันมากขึ้น เพราะสามารถออกฤทธิ์ได้นาน 8 ชั่วโมง ทำให้ไม่จำเป็นต้องปลุกลูกขึ้นมารับประทานยา แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้เป็นเวลานาน เพราะยังไม่มีรายงานความปลอดภัยในเด็กที่ใช้ยานี้เป็นเวลานานๆ แนะนำให้ใช้ยาหลังอาหารทันที และไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันเกิน 7 วัน
การใช้ยาเด็กส่วนใหญ่จะใช้ชนิดน้ำ ใน 1 ช้อนชา ประกอบด้วยตัวยา 100 มิลลิกรัม เด็กตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ขวบ ใช้ขนาด 5 – 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 6 – 8 ชั่วโมง เช่น น้ำหนัก 12 กิโลกรัม ใช้ยา 1 ช้อนชา, 24 กิโลกรัม ใช้ยา 2 ช้อนชา