AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

วิธีสังเกตและทดสอบว่า ลูกหูหนวก หรือไม่ (ตั้งแต่แรกเกิด- 2ปี)

เปิดคลิปเรียกน้ำตา ของคุณแม่ที่มีลูกหูหนวก กับการที่หนูน้อยได้ยินเสียงแม่บอกรักเป็นครั้งแรกหลังใส่เครื่องช่วยฟัง ตามไปดูปฏิกิริยาของหนูน้อยกันเลยค่ะว่าจะซึ้งขนาดไหน

ซึ่งหนูน้อยคนนี้มีชื่อว่า ชาร์ลี ลูกสาวตัวน้อยของคุณแม่คริสตี้ เคน ออกมาลืมตาดูโลกเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา แต่โชคร้าย ที่เกิดมาพร้อมกับสภาพผิดปกติจากการได้ยิน หูทั้ง 2 ข้างของหนูน้อยชาร์ลี ไม่สามารถรับฟังเสียงใด ๆ ได้เลย ไม่มีการตอบสนองกับเสียงใดๆ ที่พ่อแม่พูด

เมื่อลูกหูหนวก นี่คือปฏิกิริยาครั้งแรกของหนูน้อย
หลังใส่หูฟังและได้ยินเสียงคุณแม่บอกรัก

ทำให้เกิดความสงสัย คุณแม่จึงพาชาร์ลีไปหาแพทย์เพื่อตรวจสอบหาอาการผิดปกติ และพยายามหาวิธีช่วยเหลือให้ลูกสาวได้ยินเสียง กระทั่งในที่สุดเธอก็ได้รับเครื่องช่วยฟังขนาดจิ๋วสำหรับเด็กมาให้ลูกน้อยของเธอ

หลังจากใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว ผู้เป็นแม่ก็พยายามสื่อสารกับหนูน้อยชาร์ลี พร้อมกับบอกรักลูกด้วยเสียงแห่งความหวังและห่วงใย ระหว่างนั้นเองท่าทีตอบสนองของลุกน้อยก็ทำเอาคนเป็นแม่และผู้ที่ชมคลิปวิดีโอถึงกับน้ำตาไหลตาม หลังหนูน้อยชาร์ลีตอบสนองด้วยการแสดงอารมณ์พร้อมน้ำตาที่ไหลออมาจากดวงตาใส ๆ

ผู้เป็นแม่ กล่าวว่า “พวกเราได้มีช่วงเวลาที่สุดมหัศจรรย์ หลังจากพวกเราเฝ้าอธิษฐานให้วันนี้มาถึง วันที่หนูน้อยชาร์ลีได้รับเครื่องช่วยฟัง พวกเราแทบไม่อยากจะเชื่อว่าเธอจะได้ยินเสียงจริง ๆ มันเหลือเชื่อมากเกินกว่าจะบรรยายได้ เส้นทางการเรียนรู้และพัฒนาด้านภาษาของเธอเริ่มต้นได้อย่างน่าอัศจรรย์มาก”

ชมคลิป >> วินาทีหนูน้อยมีปฏิกิริยาสุดซึ้งหลังได้ยินเสียงแม่ครั้งแรก” คลิกหน้า 2


ขอบคุณข้อมูลจาก : baby.kapook.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ขอบคุณเรื่องและคลิปวีดีโอจาก : DramaNews 24

รวมปฏิกิริยาของเด็กๆ หลังการได้ยินเสียงครั้งแรก

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : RWL de Bruijn

หู ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญเกือบจะที่สุดสำหรับมนุษย์ รองจากดวงตา โดย หู มีหน้าที่รับเสียง และสั่งการไปทางสมองเพื่อให้ร่างกายของเรานั้นทำตามสมองสั่ง ถ้าหากเกิดขึ้นกับตัวเองหรือลูกน้อยของเรา การใช้ชีวิตอยู่กับสังคมในปัจจุบันนั้นก็อาจค่อนข้างที่จะลำบากมากในยุคนี้ เพราะการสื่อสารหรือการพูดคุยเพื่อเจรจาจะทำได้ยาก

ทั้งนี้เด็กทารกที่ไม่มีความผิดปกติทางด้านการฟัง จะได้ยินเสียงของคุณแม่ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แล้วเป็นระยะๆ แต่เสียงของครรภ์นั้นต้องนับว่าต้องเป็นเสียงที่ดังมาก พอเด็กคลอดออกมา ประสาทสัมผัสแรกที่รับรู้ก็คือเสียง ในช่วงแรกเด็กทารกจะได้ยินเสียงแตกต่างกับผู้ใหญ่ และค่อยๆ พัฒนาการรับรู้เสียงได้ดีขึ้นก็ต่อเมื่อมีอายุครบ 1 ปีเต็ม

ความบกพร่องทางการได้ยินในทารก

อาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม การติดเชื้อบางประเภท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) การได้รับยาที่ก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและเส้นประสาทในการได้ยิน การฟังเสียงที่ดังเกินไป รวมไปถึงปัจจัยด้านอายุ

ทั้งนี้แม้ว่าความบกพร่องทางการได้ยินจะนำไปสู่ปัญหาทางด้านพฤติกรรม สังคม อารมณ์ และการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งยังส่งผลกระทบในระยะยาวเพราะอาจเป็นอุปสรรคต่อชีวิตการทำงานในอนาคต รวมทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป อย่างไรก็ตาม งานวิจัยกล่าวว่ากว่าครึ่งของอาการหูตึงและหูหนวกสามารถป้องกันไม่ให้ลุกลามได้ หากได้รับการรักษาที่สาเหตุด้วยสาธารณสุขมูลฐาน

สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน

สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยอันเกิดแต่กำเนิดและปัจจัยที่ได้รับมาหลังกำเนิด

ปัจจัยอันเกิดแต่กำเนิด  นำไปสู่ภาวะบกพร่องทางการได้ยินในทันทีหลังกำเนิด หรือหลังกำเนิดเพียงเล็กน้อย โดยอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ ปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ หรืออาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน ตอนอยู่ในครรภ์ รวมทั้งในช่วงแรกเกิด ซึ่งโดยทั่วไป สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยินอันเกิดแต่กำเนิด มักได้แก่

อ่านต่อ >> “วิธีการสังเกตการได้ยินของลูก (ตั้งแต่แรกเกิด-2ปี)” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ปัจจัยที่ได้รับมาหลังกำเนิด (Acquired causes) สามารถนำไปสู่ภาวะบกพร่องทางการได้ยินได้ในทุกช่วงอายุ ซึ่งมัก ได้แก่

ทั้งนี้ สำหรับเด็กแล้ว การสะสมของของเหลวในหู จนทำให้หูชั้นกลางอักเสบถือเป็นสาเหตุหลักอันนำไปสู่ปัญหาความบกพร่องทางการได้ยิน

การทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูก ทำได้ 2 วิธี

วิธีสังเกตความบกพร่องต่อการได้ยินของลูกน้อย

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่นั้นจะรู้ทันท่วงทีว่าลูกมีความบกพร่องต่อการรับรู้ ดูได้จากวิธีการคร่าวๆ ดังนี้

วิธีเริ่มแรก ของเด็กทั่วไป หลังคลอดจะส่งเสียงร้องออกมา เพราะความตกใจ หรือได้ยินเสียงของโลกภายนอกเสียงที่ไม่เคยได้ยิน การส่งเสียงของเด็กที่แสดงให้เรารู้ว่า มีพฤติกรรมรับรู้เสียงชัด ส่วนเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน จะไม่แสดงอาการส่งเสียงร้องออกมามากนัก เนื่องจาก ไม่ได้ยินเสียงของคุณหมอ มักจะร้องต่อเมื่อหิวอาหาร หรือป่วยหนักๆเท่านั้น

จุดสังเกตเบื้องต้น พูด หรือส่งเสียงเรียกเขา หากไม่มีการตอบรับ ต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายของเด็กให้เร็วที่สุด

ใช้วิธีเรียก หรือส่งเสียงให้เขารับรู้ หากได้ยิน เด็กจะแสดงพฤติกรรมการเอียงหู หรือหันหน้ามาหาเรา หากไม่พบสิ่งที่ได้เอ่ยมา แสดงว่าเด็กอาจจุมีการสูญเสียการได้ยินไปบ้างเล็กน้อย

สังเกตพฤติกรรม การรับชมทีวี การหัวเราะ ว่ามีพฤติกรรม นอกเหนือจากเด็กทั่วไปหรือไม่ ปกติแล้วหากเด็กรับชมการ์ตูน หรือดูทีวี จะแสดงท่าทีที่ชอบ และหยอกล้อกับสิ่งที่เขาเห็น เช่นการ์ตูน

ปกติแล้ว อายุครบ 2 ปี ถือว่าเด็กต้องมีการพูดคุยกับคุณพ่อ และคุณแม่ได้พอสมควรแล้ว และการรับรู้หรือการรับเสียง จะเต็มที่สุดในอายุครบ 2 ปี หากเด็ก มีความบกพร่องทางการได้ยิน แนะนำควรปรึกษาแพทย์อย่างเร่งด่วน

สรุปการสังเกตลูกหูหนวก หรือบกพร่องทางการได้ยิน หากอายุครบ 2 ปี ยังไม่พูด หรือแสดงกิริยาที่ผิดปกติ ไม่มีการโต้ตอบเหมือนเด็กทั่วไป แสดงว่าเด็กอาจจะพิการทางด้านหูแล้ว แต่สมัยนี้นวัตกรรมของคุณหมอ มีความเชียวชาญและทันสมัยมากขึ้น การรับรู้ของเด็กที่พิการทางด้านหูก็อาจจะมีสิทธิกลับมาได้ยินเหมือนเด็กทั่วไปอีกครั้ง ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์อย่างเร่งด่วน

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.abnormalbehaviorchild.com