อันตรายจากของเล่น เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องระวังโดยเฉพาะกับลูกน้อยวัยซนตัวเล็ก ๆ เพราะของเล่นที่ไม่เหมาะสม หรือของเล่นที่ไม่เหมาะกับวัยของลูก ก็อาจทำให้ของเล่นนั้นเป็นอันตราย เกิดโทษได้โดยที่คุณไม่ทันคาดคิด
เช่นเดียวกับเหตุการณ์นี้ที่ผู้เป็นพ่อได้นำคลิปออกมาเผยแพร่ เพื่อเตือนเป็นอุทาหรณ์ให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนเฝ้าระวังลูกน้อยให้เป็นอย่างดี ซึ่งคลิปนี้ที่โพสต์โดยสมาชิกเฟซบุ๊ก ปืน วชิรพันธ์ เสตะรุจิ เป็นภาพจากกล้องวงจรปิดในบ้าน ซึ่งสามารถจับเหตุการณ์ไว้ได้ ในนาทีที่ลูกน้อยวัย 11 เดือน ซึ่งอยู่ในวัยที่หัดเกาะยืนได้แล้ว และได้เล่นของเล่นที่ไม่เหมาะกับวัย (เป็นของเล่นที่ซื้อมาให้พี่คนโต) และเพียงเสี้ยววินาที หนูน้อยก็ได้ล้มลงหัวฟาดพื้นจนต้องหามส่งโรงพยาบาล
อันตรายจากของเล่น พ่อโพสต์เตือน! ลูกเล่นของไม่เหมาะกับวัย หามส่งโรงพยาบาล
โดยคุณพ่อเล่าว่า…
(คลิปน้องโฮมมี่) แชร์ได้ครับ
อุทาหรณ์ของเด็กที่เล่นของเล่นไม่เหมาะสมกับวัย
น้องโฮมมี่อายุ 11 เดือน เป็นวัยที่กำลังชอบเกาะยืนเกาะทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อหัดยืน แต่น้องยังยืนเองไม่ได้ เล่นของเล่นพี่สาว โดยเล่นรถไฟฟ้าพี่เป็นรถ 3 ล้อจนถึงตอนที่ทุกคนก็ดูน้องอย่างใกล้ชิด… แต่แค่เสี้ยววินาที รถ 3 ล้อได้ล้มลงบนแผ่นรองคลานดูเหมือนไม่มีอะไร หัวน้องได้ฟาดพื้นอย่างแรง น้องทั้งเจ็บแล้วตกใจ ร้องแบบไม่มีเสียง ร้องกลั้น สักพักแขนขาเกร็ง และหมดสติไป 5-10 วิ มึนอยู่ 1 ชม. จึงรีบพาน้องขึ้นรถเพื่อไปรพ.
ขณะเดินทาง น้องก็มึน ๆ งง ๆ ไม่รู้เรื่องอะไร ตาจะปิดอย่างเดียว จนถึงมือหมอห้องฉุกเฉิน น้องก็รู้เรื่องแบบช้า ๆ ตอบรับช้า ๆ แต่พอ 1 ชม. ผ่านไปก็ดีขึ้นเรื่อยๆ นำตัวน้องเข้าเอกซเรย์สมอง และหมอให้นอนรพ.ดูอาการ 1 คืน ซึ่งน้องก็มีอาการอ๊วกไป 2 ครั้ง
⇒ Must read : เลือกของเล่นดี ๆ ให้เบบี๋ 7 - 12 เดือน
ชมคลิป >> “วินาทีที่หนูน้อยวัย 11 เดือนเล่นของเล่นจนเกิดอุบัติเหตุ” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
(คลิปน้องโฮมมี่) แชร์ได้ครับอุทาหรณ์ของเด็กที่เล่นของเล่นไม่เหมาะสมกับวัย น้องโฮมมี่อายุ11เดือน เป็นวัยที่กำลังชอบเกาะยืนเกาะทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อหัดยืน แต่น้องยังยืนเองไม่ได้ เล่นของเล่นพี่สาว โดยเล่นรถไฟฟ้าพี่เป็นรถ3ล้อ จนถึงตอนที่ทุกคนก็ดูน้องอย่างไกล้ชิดแต่แค่เสี้ยววินาที รถ3ล้อได้ล้มลงบนแผ่นรองคลานดูเหมือนไม่มีอะไร หัวน้องได้ฟาดพื้นอย่างแรง น้องทั้งเจ็บแล้วตกใจ ร้องแบบไม่มีเสียง ร้องกลั้น สักพักแขนขาเกร็ง และหมดสติไป จึงรีบพาน้องขึ้นรถเพื่อไปรพ. ขณะเดินทาง น้องก็มึนๆงงๆ ไม่รู้เรื่องอะไร ตาจะปิดอย่างเดียว จนถึงมือหมอห้องฉุกเฉิน น้องก็รู้เรื่องแบบช้าๆตอบรับช้าๆ แต่พอ1ชม. ผ่านไปก็ดีขึ้นเรื่อยๆ นำตัวน้องเข้าเอกซเรย์สมอง และหมอให้นอนรพ.ดูอาการ1คืนครับหัวใจพ่อแม่ กับลูกสาววัย11เดือนที่หมดสติมันไม่รู้จะอธิบายยังไงได้เลยครับ ตัวแม่น้องนั้นสติแตก ส่วนผมทำยังไงให้ขับรถไปถึงหมอให้เร็วที่สุดและต้องปลอดภัยตอนนี้น้องอาการดีขึ้นแล้วครับซนได้แล้ว แต่ยังทานไม่ค่อยได้ เมื่อเย็นวันนี้ได้ให้หมอเด็กตรวจดูอีกครั้งแล้ว น้องปกติดีแล้วครับ ขอบคุณทุกคนมากครับ
โพสต์โดย ปืน วชิรพันธ์ เสตะรุจิ บน 5 กันยายน 2017
ขอขอบคุณคลิปวีดีโอและเรื่องราวจากคุณ ปืน วชิรพันธ์ เสตะรุจิ
โดยล่าสุดคุณพ่อบอกกล่าวถึงอาการของลูกน้อยว่า…
หัวใจพ่อแม่ กับลูกสาววัย 11 เดือน ที่หมดสติมันไม่รู้จะอธิบายยังไงได้เลยครับ ตัวแม่น้องนั้นสติแตก ส่วนผมทำยังไงให้ขับรถไปถึงหมอให้เร็วที่สุดและต้องปลอดภัย
ตอนนี้น้องอาการดีขึ้นแล้วครับ ซนได้แล้ว แต่ยังทานไม่ค่อยได้ เมื่อเย็นวันนี้ได้ให้หมอเด็กตรวจดูอีกครั้งแล้ว น้องปกติดีแล้วครับ ขอบคุณทุกคนมากครับ
อย่างไรก็ดีจากคลิป จะเห็นได้ว่า แม้จะมีคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองคอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด แต่แม้เพียงเสี้ยววินาทีอุบัติเหตุก็สามารถเกิดขึ้นได้ นั่นเพียงเพราะการให้ลูกน้อยเล่นของเล่นที่ไม่เหมาะสมกับวัยนั่นเอง เนื่องจากรถ 3 ล้อของเลนประเภทนี้ จะเหมาะกับเด็กวัย 3 ขวบขึ้นไปเนื่องจากสามารถยันขาถึงพื้นและทรงตัวได้แล้วนั่นเอง
การเล่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก
“การเล่นเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของพัฒนาการในวัยเด็ก ผู้ใหญ่ต้อง เข้าใจและเห็นคุณค่าการเล่นของเด็ก”
การเล่นที่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน กระตุ้นการเรียนรู้ ค้นคว้า ท้าทาย จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็ก กระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมรักการเรียนรู้ด้วยตนเอง การแสวงหาประสบการณ์ใหม่ การค้นคว้า ทดลอง โดยกระบวนการเล่นมีประโยชน์ ดังนี้
- กระบวนการเล่นเป็นกระบวนการที่กระตุ้นระบบ ประสาทสัมผัสทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส การมอง การได้ยิน
- กระบวนการเล่นยังมีผลอย่างมากต่อ พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก และการประสานงานของกล้ามเนื้อเหล่านั้น นอกจากนั้นการเล่นยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา การสื่อสาร
- กระบวนการเล่นยังสร้างความคิดสร้างสรรค์แก่เด็ก (creative play) ฝึกการแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล (cognitive play) ตอบสนองต่อจินตนาการในวัยเด็ก (imaginative play)
นอกจากนั้นการเล่นยังทำให้เด็กผ่อนคลาย ลดความเครียด เด็กสามารถระบายความ เครียดที่อยู่ใต้จิตสำนึกที่ไม่สามารถบอกออกมาเป็นคำพูดได้ โดยใช้การเล่นแบบจินตนาการ หรือแบบบทบาทสมมุติ ตัวอย่างเช่น เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีความรุนแรง เด็กที่สูญเสียคนที่รัก หรือเด็กที่ตกอยู่ในสถานการณ์น่ากลัวรุนแรงต่างๆ
ของเล่นเป็นเครื่องมือในการเล่นของเด็ก
ของเล่น คือเครื่องมือที่จะนำเด็กไปสู่กระบวนการเล่นของเล่นมีหลายชนิด สามารถแบ่งออกได้ตามวัตถุประสงค์ของการเล่น เช่น ของเล่นเพื่อการพัฒนากล้ามเนื้อ ของเล่นเพื่อสร้างความคิด เป็นต้น
ทั้งนี้ของเล่นที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นของแพง แต่จะต้องเป็นของเล่นที่ปลอดภัย เหมาะสมกับอายุเด็ก และมีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้านใดด้านหนึ่ง ตัวอย่างของเล่น เช่น ตุ๊กตา รถจำลอง เครื่องดนตรีจำลอง เครื่องกีฬา เครื่องมือศิลปะ เกมต่างๆ หรือแม้แต่ทราย ก็จัดเป็นของเล่นของเด็กๆ ได้
อ่านต่อ >> “อันตรายจากของเล่นที่พ่อแม่ควรรู้” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อันตรายจากของเล่นกับลูกน้อย
ของเล่นที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันก็มีอันตรายแอบแฝงอยู่ในตัวด้วยเช่นกัน โดยในแต่ละปีมีเด็กบาดเจ็บจากของเล่นที่ต้องมารับการตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉินต่าง ๆ รวมกว่า 72,000 ราย ซึ่งครึ่งหนึ่งของตัวเลขนี้เกิดจากเครื่องเล่นต่างๆ ในสนามเด็กเล่น ซึ่งมักไม่มีความปลอดภัย เช่น การติดตั้งที่ยึดรากฐานไม่มั่นคงทำให้ล้มทับเด็ก กระทั่งต้องตกเป็นข่าวพาดหัวอันน่าสะเทือนใจมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
ส่วนพื้นสนามก็ไม่ดูดซับแรงกระแทก แถมมีก้อนกรวดก้อนหินเกลื่อนไปหมด และเป็นสนิมเขรอะ ส่วนการจัดวางเครื่องเล่นแต่ละชิ้น ก็แทบไม่เหลือช่องว่างที่ห่างเพียงพอ ทำให้เด็กต้องเสี่ยงกับการวิ่งชนกันเองหรือชนโครมเข้ากับเครื่องเล่นทั้งหลาย
ขอบคุณภาพจาก : http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000028320
ซึ่งจากการสำรวจของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ในประเทศไทยมีเครื่องเล่นที่ไม่ปลอดภัยกว่า 95% ของเล่นที่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่มีชิ้นส่วนเล็กกว่า 3.2 x 6 ซม. เป็นส่วนประกอบ จะมีโอกาสทำให้สำลักอุดตันทางเดินหายใจได้มาก เช่น ตุ๊กตุ่นตุ๊กตาพลาสติกตัวเล็ก ๆ ที่มักมาในรูปของเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ขวัญใจเด็ก ๆ เช่น ไอ้มดแดง อุลตร้าแมน เต่านินจา ฯลฯ (ให้ระวัง..ส่วนหัวของตุ๊กตุ่นฮีโร่แมนทั้งหลาย กระทั่งแท่งลิปสติกของตุ๊กตาผู้หญิง) เด็กเล็กเห็นเข้าก็มักเอาเข้าปาก เคี้ยวๆ อมๆ แล้วในที่สุดก็ติดคอ ติดหลอดลมจนขาดอากาศหายใจและเสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ
ดังนั้นของเล่นของเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ซึ่งชอบเอาของเข้าปาก ต้องไม่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่มีขนาดเล็กกว่า 3.2 ซม. ถ้าเล็กกว่านี้ต้องยาวกว่า 6 ซม.
ส่วนของเล่นมีสายยาวกว่า 22 ซม. ขดเป็นวงทำให้รัดคอเด็ก เช่น สายโทรศัพท์ กีตาร์ รถลาก หรือของเล่นที่มีช่องรู ก็มักทำให้นิ้วติด มือติด หัวติดได้ เช่น ของเล่นชุดปราสาท คฤหาสน์ ชุดครัว ของเล่นลูกกระสุนที่แรงกว่า.08 จุล เช่น ปืนอัดลม ปืนลูกดอก หากโดนลูกนัยน์ตาก็อาจมีอันตรายถึงขั้นตาบอด จึงห้ามให้ลูกเล่นปืนอัดลม หรือปืนลูกดอกทุกชนิดที่กระสุนไม่อ่อนนิ่ม
ของเล่นที่แหลม ๆ คม ๆ เช่น รถเด็กเล่นที่ท้ายแหลม ลูกข่าง หุ่นยนต์ที่มีส่วนหัวแหลมๆ จรวดพลาสติกหรือโลหะที่มีทรงแหลมๆ คมๆ ของเล่นที่ติดไฟง่าย แล้วเอามาสวมหัว สวมตัว เช่น ชุดแต่งตัวต่างๆ ไอ้มดแดงบ้าง สไปเดอร์แมนบ้าง ทั้งผ้าทั้งวัสดุที่ใช้บุให้มีรูปทรง ต้องผ่านการทดสอบการต้านการติดไฟมาก่อน
ของเล่นที่เสียงดัง หลาย ๆ อย่างมันดังเกินกว่าความปลอดภัยของเด็ก (เกินกว่า 110 เดซิเบล เมื่อดังครั้งเดียวไม่เกิน1 วินาที หรือ ไม่เกิน 80 เดซิเบลเมื่อเป็นการดังต่อเนื่อง) เรื่องนี้พึงระวังให้มาก เพราะมันอาจทำลายเซลล์ประสาทการรับเสียงของลูก ๆ ได้ โดยเฉพาะของเล่นใช้ไฟฟ้า รถไฟปู๊น ๆ ปืนกล ปืนเลเซอร์ที่กดแล้วมีเสียงดัง
รวมไปถึงของเล่นเคลื่อนที่เร็ว เช่น รถไถ จักรยานสองล้อสามล้อ ที่ออกแบบมาไม่เหมาะสม หรือแม้แต่รถหัดเดิน รถพยุงตัว ก็ไม่ควรใช้เพราะเสี่ยงต่อการหกล้มพลิกคว่ำ
ทั้งนี้ของเล่นเด็กทุกชนิดสร้างความสนุกสนานได้ แต่อย่างไรก็ดี อันตรายจากของเล่น เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะในกระบวนการเล่นของเด็กเราไม่สามารถเฝ้าดูได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เสมอ แต่ต้องรู้จักที่จะสร้างเการะป้องกันเพื่อความปลอดภัยให้ลูกน้อยด้วย ทั้งอุปกรณ์ทุกอย่างในบ้านและของเล่นเด็กก็ต้องดูแลเพื่อความปลอดภัยเช่นเดียวกัน
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- 10 ของเล่นสุดอันตรายในประเทศไทย ปี 2017
- Kid Safety อันตรายจากของเล่นมีล้อ
- เมื่อแม่ ละสายตาจากลูก ทำให้ของเล่นทับจนเสียชีวิต!
- การเลือกของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.doctor.or.th , www.shawpat.or.th