คงไม่มีพ่อแม่คนไหนทำใจได้เมื่อรู้ว่า ลูกหาย หรือถูกลักพาตัวไป ดังนั้นวิธีที่จะป้องกันได้ดีที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยลูกน้อยให้คลาดสายตา และเมื่อลูกโตขึ้น ฟังรู้เรื่องแล้วควรสอนเรื่องคนแปลกหน้า และวิธีป้องกันตัวเมื่อหลงทางกลับพ่อแม่
เล่ห์เหลี่ยมโจร! ลูกหาย เพราะถูกลักพาตัวต่อหน้า โดยพ่อไม่รู้ตัว (มีคลิป)
ซึ่งคลิปวีดีโอที่จะให้ดูต่อไปนี่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์การจำลอง ให้เห็นถึงเล่ห์เหลี่ยมโจร ที่ลักพาตัวลูกน้อยไปอย่างง่ายดาย ต่อหน้าพ่อ โดยไม่ทันรู้ตัว
ABDUCTING CHILD IN FRONT OF DAD (Social Experiment)
ABDUCTING CHILD IN FRONT OF DAD (Social Experiment)ADD ME ON INSTAGRAM @JoeySalads
โพสต์โดย Joey Salads เมื่อ 8 พฤษภาคม 2017
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Joey Salads
จากคลิป อาจกล่าวได้ว่า เพราะพ่อแม่ อาจไม่สามารถดูแลลูกได้ตลอดเวลา หรือเพียงพ่อแม่ปล่อยให้ลูกคาดสายตาไป ลูกก็อาจหายไปได้เช่นกัน พ่อแม่ควรใส่ใจดูแลลูกให้ปลอดภัยจากคนแปลกหน้าที่เราไม่สามารถทราบได้ว่าจะมาในรูปแบบไหน
พ่อแม่ควรสอนเรื่องคนแปลกหน้าให้ลูกได้อย่างไร?
ก่อนอื่น พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจเรื่องคนแปลกหน้า ทั้งเรื่องที่เด็กควรเรียนรู้ สังคมรอบตัว และภัยที่อาจจะได้รับจากคนแปลกหน้า สังคมรอบตัวที่เด็กจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้น ควรเกี่ยวกับการมีบุคคลอื่นเข้ามาอยู่ในชุมชนเรามากขึ้น เพราะสังคมไทยเปลี่ยนแปลงมีการติดต่อกับคนทั่วโลก เด็กจะต้องรู้จักคนอื่นเพิ่มขึ้นซึ่งมีทั้งคนดีและคนไม่ดี เด็กต้องเรียนรู้จากการสอนของผู้ใหญ่ ให้สังเกตที่จะแยกแยะคนแปลกหน้า และใช้วิธีสอนแบบให้คิดเชิงเหตุผล (ฟังดูยากนะคะ) เด็กปฐมวัย วัยนี้เด็กๆ จะใช้เหตุผลจากสิ่งที่พบเห็นหรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวโยงกับเหตุการณ์นั้นๆ การสังเกต การเปรียบเทียบ ซึ่งพ่อแม่ต้องทำความเข้าใจเรื่องคนแปลกหน้าให้ได้ดีในจุดหนึ่งด้วย
อ่านต่อ >> “3 กฎง่ายๆ เพื่อป้องกนลูกหายตัวไปกับคนแปลกหน้า” คลิกหน้า 2
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- เตือนภัย!! พ่อแม่โปรดระวังแม้เพียงคุณเผลอไปเพียงเสี้ยววินาที ลูกน้อยก็อาจถูกลักพาตัวไปต่อหน้าได้ (มีคลิป) พร้อมเผยกลวิธีของ “แก๊งลักเด็ก” ที่มักใช้ในปัจจุบัน
- จะเป็นอย่างไร!? เมื่อ‘ตั๊ก-บริบูรณ์’ ปล่อย ลูกหลงทาง เพื่อเป็นบทเรียน (มีคลิป)
- ข่มขืน ภัยมืดของสังคม กับความเสี่ยงทั้งแม่ลูก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การป้องกันให้ลูกหลานให้ปลอดภัยจากการถูกลักพาตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากพ่อแม่ไม่สามารถจะดูแลลูกได้ตลอดเวลา ไม่สามารถที่จะไปที่ไหนๆ กับพวกเขาได้ทุกวัน ทุกเวลา ดังนั้น พ่อแม่จึงควรสอนให้พวกเขารู้จักเอาตัวรอด และไม่ควรไว้ใจคนแปลกหน้าหรือแม้แต่คนรู้จัก เพราะคนรู้จักก็อาจจะเป็นหนึ่งในคนร้ายที่ทำร้ายลูกหลานของเราก็เป็นไปได้ Amarin Baby & Kids จึงมีเคล็ดลับดีๆ 3 ข้อในการสอนลูกให้ระวังตัวจากคนแปลกหน้ามาฝากค่ะ โดยคุณพ่อคุณแม่อย่าลืมทบทวนสามข้อนี้กับลูกเป็นประจำนะคะ ลูกๆ จะได้สามารถจดจำได้อย่างขึ้นใจค่ะ
เคล็ดลับ 3 ข้อสอนลูกให้ระวังตัวจากคนแปลกหน้า
ข้อที่ 1 คนแปลกหน้าคือใคร
คนแปลกหน้าคือทุกคนที่เด็กไม่รู้จักค่ะ แต่ยังมีคนที่เด็กๆ ไม่รู้จัก แต่สามารถเข้าไปขอความช่วยเหลือได้ นั่นก็คือคนที่ใส่เครื่องแบบตำรวจ หมอ หรือพยาบาล ถ้าหากเกิดอันตรายเด็กๆ สามารถไปขอความช่วยเหลือจากคนในเครื่องแบบเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีคนที่เด็กไม่รู้จักชื่อ แต่พบเห็นอยู่เป็นประจำ เช่นคุณแม่ของเพื่อนที่โรงเรียน คนเหล่านี้เด็กๆ ก็สามารถเข้าไปขอความช่วยเหลือได้เช่นกันค่ะ
ข้อที่ 2 ออกกฎข้อห้ามที่ชัดเจน
สำหรับเด็กเล็ก การออกกฎข้อห้ามที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่สำคัญมากค่ะ ตัวอย่างกฎข้อห้ามมีดังนี้ค่ะ
- ห้ามเปิดประตูให้ใครเข้าบ้าน ถ้าไม่มีผู้ใหญ่อยู่ในบ้าน
- ห้ามไปไหนกับคนที่ไม่รู้จักเด็ดขาด แม้ว่าคนๆนั้นบอกว่าจะให้ขนมหรือของเล่นก็ตาม
- ถ้ามีคนที่ไม่รู้จักมาขอให้ช่วยทำอะไร ให้รีบวิ่งหนีทันที เพราะธรรมดาผู้ใหญ่จะไม่ขอความช่วยเหลือจากเด็ก
- ถ้าพ่อแม่ไม่อยู่บ้าน ห้ามรับโทรศัพท์เด็ดขาด
ข้อที่ 3 แสดงบทบาทสมมุติ
คุณพ่อคุณแม่และลูกๆ ควรแสดงบทบาทสมมุติจำลองสถานการณ์เมื่อลูกต้องพบเจอกับคนแปลกหน้า ตัวอย่างเช่น “ถ้าลูกเดินเล่นอยู่ แล้วมีคนแปลกหน้ามาชวนให้ไปเล่นกับลูกหมาที่น่ารักมากๆ ตัวนึง ลูกจะทำยังไงจ้ะ” ให้ลูกแสดงบทบาทสมมุติว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง และทบทวนกับลูกบ่อยๆ ค่ะ
♦ 6 พื้นที่เสี่ยงถูกลักพาตัว ♦
สถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด คือสถานที่ที่อันตรายที่สุด เพราะการก่อเหตุลักพาตัว มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น และเป็นบริเวณที่พ่อแม่มักนิ่งนอนใจ เพราะคิดว่าคุ้นชิน และปลอดภัยสำหรับลูกหลาน ได้แก่
1.บ้าน ทั้งบริเวณหน้าบ้าน และภายในบ้านของเราเอง
2.วัด โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีงานวัด
3.โรงพยาบาล
4.สวนสาธารณะ
5.ห้างสรรพสินค้า
6.บริเวณใกล้ที่ทำงานของคุณพ่อ คุณแม่เอง
X 5 ไม่! ป้องกันการลักพาตัว X
1.ไม่พา ลูกน้อยไปยังที่ที่มีคนพลุกพล่านเกินไป โดยไม่จำเป็น
2.ไม่ปล่อย ให้ลูกน้อยไปวิ่งเล่นตามลำพัง แม้ว่าจะใกล้บ้านก็ตาม
3.ไม่ให้ คนอื่นมารับลูกน้อยที่โรงเรียน นอกจากจะโทรศัพท์บอกคุณครูเอาไว้แล้วทุกครั้งที่มีคนมารับแทน
4.ไม่ทิ้ง ลูกน้อยไว้กับญาติผู้สูงอายุ ที่อาจดูแลเด็กเล็กๆ วัยกำลังซนไม่ไหว
5.ไม่ยอม ให้ลูกรับของจากคนแปลกหน้า คอยหมั่นสอนลูกน้อยบ่อยๆ ในเรื่องนี้
อ่านต่อ >> “ข้อพึงระวังในการสอนลูกเรื่องคนแปลกหน้า
และวิธีสอนลูกเอาตัวรอดอย่างปลอดภัย” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะหลบหน้าหรือเกาะพ่อแม่หนุบหนับเมื่อเจอคนแปลกหน้า เด็กบางคนที่อยู่ในครอบครัวใหญ่ คุ้นเคยกับผู้คนหลากวัยในหลายสถานที่ มักมีความพร้อมที่จะพบเจอกับใบหน้าใหม่ๆ ตลอดเวลา ย่างไรก็ดี มีข้อพึงระวังและปฏิบัติดังนี้…
ข้อพึงระวังและข้อปฏิบัติ ที่พ่อแม่ ควรสอนลูกระวังคนแปลกหน้า
⇒ อย่าละสายตาจากลูก แม้ทักษะความระแวดระวังของลูกจะพัฒนาเมื่อเขาได้ออกไปสู่โลกกว้าง แต่ในวัยนี้ความปลอดภัยทั้งหมดถือว่าขึ้นอยู่กับสายตาแห่งความระแวดระวังของคุณ ฉะนั้นอย่าได้ละสายตาจากลูกแม้เพียงชั่วขณะ
⇒ ช่วยกระตุ้นให้ลูกรู้จักระวัง เร็วเกินไปที่จะคาดหวังการพิจารณาอย่างกลั่นกรองก่อนสานสัมพันธ์กับใคร แต่คุณคาดหวังพฤติกรรมบางอย่างจากลูกได้ บอกกับเขาอย่างตั้งใจว่าจะไปหาคุณน้า หรือไม่ว่าจะไปไหน ต้องบอกพ่อกับแม่ก่อนนะคะแม้ลูกอาจยังไม่เข้าใจความหมายของมันดีนัก แต่การพูดซ้ำๆ ย่อมช่วยให้กลไกในการระแวดระวังตัวของลูกพัฒนาขึ้น
⇒ อย่าข่มขู่ ระมัดระวังคำพูดที่สื่อว่าคนแปลกหน้าเท่ากับความมุ่งร้ายหลีกเลี่ยงคำพูดเช่น เดี๋ยวพี่เขาเอาตัวไปนะ หรือ คนนั้นน่ะดุนะ!สิ่งเดียวที่ลูกวัยนี้ควรเข้าใจคือ ไม่ว่าจะเดินเข้าไปหาใคร เขาต้องหันกลับมาขอความเห็นชอบจากพ่อแม่ก่อนทุกครั้ง
สอนลูกเอาตัวรอดอย่างปลอดภัย
เพราะจะให้พ่อแม่มานั่งระแวดระวังคอยเฝ้าลูกตลอด 24 ชั่วโมง คงเป็นไปไม่ได้ เมื่อลูกโตขึ้นเข้าวัยเริ่มรุ่น รู้เรื่องมากขึ้น เข้าใจเหตุและผลมากขึ้น บางโอกาสอาจต้องไปไหนมาไหนคนเดียว แม้ในระยะใกล้ๆ คุ้นเคย จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีสังเกตและป้องกันตัวเอง เพื่อที่ลูกของเราต้องไม่กลายเป็นเหยื่อรายต่อไป พ่อแม่ควรสอนอะไรลูกบ้างมาดูกันค่ะ
1. รู้จักและเข้าใจเรื่องความปลอดภัย และความไม่ปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
เกิดได้ง่ายเพราะในสังคมมีทั้งคนดีและไม่ดีภัยจากคนแปลกหน้า หรือแม้แต่คนรู้จัก ท่าทางเป็นมิตร สุภาพใจดีก็เกิดขึ้นได้ ลูกควรทำอย่างไร หากมีคนมาชวนไปไหนมาไหนโดยที่พ่อแม่ไม่รู้ รับหรือปฏิเสธสิ่งของที่เขาให้ เพราะอะไร และอย่างไร
2. ฝึกให้เป็นเด็กช่างสังเกต
สนใจสิ่งรอบตัว และที่สำคัญมีสติ เหล่านี้จะช่วยบ่มเพาะให้เขารู้จักระวังตัว และเอาตัวรอดได้ในยามคับขัน ซึ่งการสังเกตที่ว่า หมายรวมถึงจดจำสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ของคุณพ่อ คุณแม่ ชื่อซอยบ้าน สถานที่ตั้งของบ้าน และสถานที่ใกล้เคียง เผื่อว่าหากเกิดเหตุการณ์ร้าย เขายังสามารถบอกพิกัดต่างๆ ได้ พยายามฝึกบ่อยๆ ถึงเวลาจึงจะนำมาใช้ได้โดยอัตโนมัติ
3. เรียนรู้วิธีเอาตัวรอดในสถานการณ์คับขัน
เช่น การวิ่ง ศิลปะป้องกันตัวเบื้องต้น หรืออาจส่งลูกไปเข้าคลาสมวยไทยหรือเทควันโดก็ได้ โดยเราต้องกำกับเพิ่มเติมลงไปด้วยว่า ศิลปะการต่อสู้เหล่านี้เรียนและฝึกไว้เพื่อใช้แก้ไขให้ยามคับขันเพื่อให้เอาตัวรอดออกมาได้ รวมถึงหยิบยกเหตุการณ์ที่เป็นข่าวเอามาเป็นตัวอย่าง ให้ลูกฝึกคิดว่าเขาจะทำอย่างไร เช่น จะตอบปฏิเสธอย่างไรให้ตัวเองปลอดภัยในกรณีที่เกิดไม่ไว้วางใจคนที่เข้ามาคุยด้วย และลองพูดจริงๆ โดยคุณเป็นคนป้อนคำถาม การยกเหตุการณ์จากข่าวยิ่งทำบ่อย ลูกจะยิ่งได้ฝึกคิดแก้ไขได้ฉับไวมากขึ้น
4. ปลูกจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้กับลูก
ด้วยการสอนให้เขารู้จักช่วยเหลือผู้อื่น หากทำได้ และรู้วิธีขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น และไม่ดูดายกับความไม่ถูกต้อง
อันตรายจากคนแปลกหน้านั้นเป็นสิ่งที่ควรพึงระวังและรีบป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อดวงใจดวงน้อยๆ ของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- อย่าละสายตาจากลูกน้อยแม้แต่วินาทีเดียว
- ลักพาตัวต่อหน้าพ่อแม่ ภัยใกล้ตัวลูกน้อยที่ต้องระวัง
- สอนลูกให้ปลอดภัยจากคนแปลกหน้า
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids