น้ำผึ้งสีเขียว อันตราย ที่เพิ่งเป็นข่าวสร้างความแปลกประหลาดใจให้กับหลายๆ คน ที่จู่ๆ ก็พบว่ามีน้ำผึ้งสีเขียวเกิดขึ้นที่ชาวบ้านบุรีรัมย์เป็นคนพบครั้งแรก และมีคสามสงสัยกันว่าสามารถนำมาทานได้ปลอดภัยต่อสุขภาพหรือไม่ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลมาให้ได้ทราบกันค่ะ
น้ำผึ้งสีเขียว อันตราย อย่าให้ลูกกิน
เห็นสีสวยๆ ของ น้ำผึ้งสีเขียว อันตราย อย่าให้ลูกกิน เด็ดขาดค่ะ เพราะจากข่าวจะเห็นว่าคนเฒ่า คนแก่ เชื่อว่าเป็นยาที่ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยได้ จึงนำมากวาดคอ กวาดลิ้นให้กับเด็กเล็กๆ
ผู้เชี่ยวชาญ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่า ที่ผ่านมาได้ตรวจสอบน้ำผึ้งหลากหลายชนิด ไม่เคยพบน้ำผึ้งสีเขียวมาก่อน จากการสังเกตด้านกายภาพเบื้องต้น ตัวอย่างน้ำผึ้งสีเขียวที่ได้รับมาจากชาวบ้าน ไม่ใช่สีเขียวธรรมชาติ แถมมีความใสมากกว่าปกติ รวมถึงหนืดน้อยกว่าน้ำผึ้งทั่วไป
ซึ่งทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจสอบล่าสุด ผลตรวจพบว่า น้ำผึ้งสีเขียวมรกต มียีสต์และเชื้อราเกินมาตรฐาน และมีสีสังเคราะห์เจือปน หากนำไปรับประทานจะเกิดอันตรายต่อร่างกาย[1]
ของกินที่มาจากธรรมชาติมีอยู่หลากหลายค่ะ ซึ่งน้ำผึ้งก็เป็นหนึ่งในอาหารที่ได้จากธรรมชาติด้วยเช่นกัน แต่บางครั้งอาหารธรรมชาติก็ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป ยิ่งเห็นสีสวยๆ ก็ต้องดูให้ดีก่อนว่ามีอันตรายซ่อนไว้ด้วยหรือเปล่า และทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ไม่ควรนำมาทานกันนะคะ
อ่านต่อ ลูกวัยทารกกินน้ำผึ้งได้ไหม หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ลูกน้อยกินน้ำผึ้งได้ไหม?
เชื่อว่ายังมีพ่อแม่อีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ทราบว่าการให้ลูกทานน้ำผึ้งนั้นมีข้อควรระวังอยู่มาก ยิ่งโดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบ การให้ทานน้ำผึ้งถือว่าอันตรายมากค่ะ
ซึ่งทางการแพทย์ แนะนำไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบกินน้ำผึ้ง เนื่องจากกลัวเรื่องการปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อโรคที่ทำให้เป็นโรคโบทูลิซึม (botulism) ทำให้เสียชีวิตได้
นอกจากนี้การเริ่มอาหารที่มีรสชาติหวานจากน้ำตาลชนิดต่างๆ ในเด็กเล็กจะทำให้มีปัญหาติดรสชาติหวาน ฟันผุ เบื่อข้าว เบื่อผัก หรืออาหารที่มีประโยชน์ ถ้ากินหวานมากจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวานได้[2]
บทความแนะนำ คลิก >> เด็กชายญี่ปุ่นวัย 6 เดือน เสียชีวิตด้วยโรคโบทูลิซึมในทารก เพราะน้ำผึ้งเป็นเหตุ!
ภาวะโบทูลิซึมจากอาหารคืออะไร
ภาวะโบทูลิซึมจากอาหารเป็นภาวะอาหารเป็นพิษชนิดหนึ่ง ภาวะนี้พบไม่บ่อยแต่อาจก่ออาการที่รุนแรงจนเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ภาวะโบทูลิซึมจากอาหารเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษโบทูลิซึม (botulism toxin) โดยสารพิษโบทูลิซึมเกิดจากการมีเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ปนเปื้อนในอาหารและสร้างสารพิษชนิดนี้ขึ้น สารพิษโบทูลิซึมเป็นสารพิษที่รุนแรงมาก การรับประทานสารพิษชนิดนี้ในขนาดน้อยมากเพียง 0.1 ไมโครกรัม (เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสิบล้าน ของน้ำหนักหนึ่งกรัม) ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้[3]
ภาวะโบทูลิซึมจากอาหารมีอาการอย่างไร
อาการของภาวะโบทูลิซึมจากอาหารอาจเกิดภายในเวลา 2 ถึง 36 ชั่วโมงหลังจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารพิษโบทูลิซึม โดยอาการเกิดจากการที่สารพิษออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของจุดเชื่อมระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) อาการเริ่มแรกได้แก่ การมองเห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน (เห็นภาพวัตถุสิ่งเดียวเป็นสองภาพ) หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น พูดไม่ชัด กลืนน้ำและอาหารลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวนท้อง ปากแห้ง ท้องเสียหรือท้องผูก ต่อจากนั้นอาการอาจกำเริบทำให้กล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรง หากอาการรุนแรงกล้ามเนื้อในระบบหายใจอาจอ่อนแรงด้วยจนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้เพียงพอซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของภาวะโบทูลิซึมจากอาหาร[4]
อ่านต่อ การป้องกันโรคโบทูลิซึม หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การดูแลตนเอง และป้องกันโรคโบทูลิซึม
- หลีกเลี่ยงการหมัก การดองทั้งผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เนื้อปลาต่างๆ ด้วยตน เอง หากต้องการทำ ควรเตรียมอาหารและภาชนะที่จะใส่ ให้สะอาด ใส่กรดมะนาวที่ความเข้ม ข้นมากกว่า 65% หรือใส่เกลือแกงให้เข้มข้นมากกว่า 3% และเก็บรักษาอาหารไว้ในตู้เย็น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารหมักดองที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน หากจะบริโภค จะต้องนำของหมักดองเหล่านั้นไปต้มให้เดือด 100 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที เพื่อทำลายพิษที่อาจมีอยู่
- สำหรับการซื้ออาหารกระป๋อง รวมถึงนมผง หรืออาหารสำเร็จรูปที่พร้อมทาน ต้องเลือกจากบริษัทผลิตที่เชื่อถือได้ และดูจากฉลากว่ามีเครื่องหมาย อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข) ที่ชัดเจน บริโภคก่อนวันหมดอายุที่ระบุบนฉลาก และไม่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีรอยบุบ รอยแตก รอยรั่ว บวม โป่ง เป็นสนิม
- มีวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันพิษ Botulinum toxin ซึ่งสามารถป้องกันพิษชนิดย่อย A ถึง E แต่ประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจน และอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ (เช่น การแพ้ยา) การให้วัคซีนจึงจำกัดให้เฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้เท่านั้น เช่น ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับพิษชนิดนี้ หรือในกรณีมีการปล่อยอาวุธเชื้อโรคที่เป็นพิษชนิดนี้[5]
การระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้กับเด็กเล็กๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะอาหารที่หน้าตา สีสันสวยงามมาจากธรรมชาติก็ไม่ได้ปลอดภัยกับสุขภาพร่างกายเสมอไป ดังนั้นก่อนทานอะไรต้องเช็กข้อมูลจนมั่นใจแน่นอนแล้วว่าปลอดภัยสามารถนำมาทานกันได้ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจคลิก
อุทาหรณ์เตือนแม่! ลูกน้อยถูกน้ำร้อนลวก จากสายยางที่ตากอยู่กลางแดด
กระเจี๊ยบเขียว คนท้อง อาหารสมุนไพรดีต่อสุขภาพ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1เครือข่ายประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
2พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด. นิตยสาร Amarin Baby & Kids
3,4ผศ.นพ. สัมมน โฉมฉาย ศูนย์พิษวิทยาศิริราช
5โรคโบทูลิซึม (Botulism). หาหมอ