การที่คนเราจะเกิดมาได้นั้นต้องผ่านกระบวน การคลอดลูก มาแล้วทั้งสิ้น ซึ่ง การคลอดลูก ถือเป็นความเจ็บปวดที่คนเป็นแม่ยอมทนได้เพื่อลูก วินาทีการคลอดลูกกับความเจ็บปวดที่แสนงดงามเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร ตามไปดูคลิปวีดีโอรวมการคลอดลูกแบบต่างๆ กันเลยค่ะ แล้วคุณจะรักแม่มากขึ้น!!!
รวมคลิป การคลอดลูก นี่แหละที่เรียกว่า…
“ความเจ็บปวดที่งดงาม”
การคลอดลูก เป็นกระบวนการทางธรรมชาติ ที่มดลูกบีบตัวในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ ออกมาจากโพรงมดลูกมาเจริญเติบโตภายนอกร่างกาย โดยการคลอดปกติ เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด
ในทางการแพทย์ ถือว่าแม่จะตั้งครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ (ประมาณ 9 เดือน) หรือ 280 วัน ซึ่งวิธีการคำนวณวันครบกำหนดคลอด คือ วันที่ที่เป็นวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่ปกติ บวก 7 วัน ส่วนเดือนที่ครบกำหนดคลอด ก็คือ เดือนที่เป็นประจำเดือนครั้งสุดท้ายแล้ว ลบไป 3 เดือน ซึ่งนั่นจะทำให้คุณแม่ท้องสามารถคำนวณอายุครรภ์ในแต่ละช่วงได้ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ท้องทุกคนจะคลอดตรงตามวันที่นัดทั้งหมด
⇒ Must read : วิธีนับอายุครรภ์ ที่ถูกต้องแม่นยำ ที่แม่ท้องควรรู้!
- มีเพียงประมาณ 5 % เท่านั้นที่คลอดตรงวันนัดพอดี
- ที่เหลือส่วนมาก 80-85% จะคลอดก่อนวันนัด 1-2 สัปดาห์
- มีประมาณ 10% ที่คลอดเกินกำหนดนัด
- แต่ประโยชน์ที่ได้จากการที่รู้วันคาดคะเนคลอด จะเป็นการเตือนสตรีตั้งครรภ์ให้มีการเตรียมตัวคลอด
- หากมีการเจ็บครรภ์คลอดในช่วงอายุครรภ์ที่ 37-42 สัปดาห์ ถือว่าคลอดทารกครบกำหนด
- หากคลอดในอายุครรภ์ที่น้อยกว่า 37 สัปดาห์ เรียกว่า การคลอดก่อนกำหนด
- แต่หากคลอดหลัง 42 สัปดาห์ เรียกว่า คลอดเกินกำหนด
- ทั้งการคลอดก่อนกำหนดและเกินกำหนดถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพทารก
ช่วงรอคลอด
มดลูกจะหดรัดตัวและคลายตัวเป็นพัก ๆ ระยะแรกจะห่าง 4-5 นาทีจึงมีการหดตัวและหดตัวนานประมาณ 30-40 วินาที เมื่อความก้าวหน้าของการคลอดเพิ่มขึ้น ความถี่ของการหดรัดตัวจะเพิ่มขึ้นเป็น ทุก 2-3 นาที หดตัวนาน 45-50 วินาที คุณแม่จะมีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อทารกเคลื่อนต่ำตามแรงการหดตัวของมดลูก คุณแม่ที่มาคลอดอาจมีความรู้สึกปวดหน่วงที่ก้น หรือมีความรู้สึกอยากเบ่งถ่ายอุจจาระ แพทย์ผู้ดูแลจะมีการตรวจภายในเป็นระยะประมาณทุก 2 ชม.(ชั่วโมง) เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการเปิดขยายของปากมดลูกและการเคลื่อนต่ำของทารก
⇒ Must read : ปากมดลูกเปิดเป็นยังไง แม่ท้องรู้ไว้ก่อนเข้าห้องคลอด!
⇒ Must read : เคล็ดลับการนั่งท่าผีเสื้อแบบมณีเวช ลดการเจ็บปวดและช่วย เร่งปากมดลูกเปิดเร็ว
และเมื่อปากมดลูกเปิดขยายหมดประมาณ 10 ซม. จะมีการย้ายคุณแม่จากห้องรอคลอดเข้าไปในห้องทำคลอด มีการเชียร์ให้เบ่งตามการหดรัดตัวของมดลูก และเมื่อศีรษะทารกมาตุงที่ปากช่องคลอดเต็มที่ก่อนที่จะคลอดออกมา แพทย์จะทำการตัดฝีเย็บเพื่อช่วยขยายปากช่องคลอด ซึ่งหากจะมีการตัดฝีเย็บ แพทย์จะมีการฉีดยาชาบริเวณที่จะตัดฝีเย็บ จากนั้นแพทย์จะทำคลอดทารกต่อไป
ชมคลิป >> การทำคลอดลูก นี่แหละที่เรียกว่า “ความเจ็บปวดที่งดงาม” คลิกหน้า 2
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- รวม ฤกษ์คลอดบุตร 2561 ครบทั้งปี ตั้งแต่มกราคม – ธันวาคม
- ผ่าคลอด หรือ คลอดธรรมชาติ แบบไหนดีกว่ากัน?
- ผ่าคลอดแบบธรรมชาติมีด้วยหรือ? จะเป็นอย่างไรต้องดู!
- แชร์กระหน่ำ! สุดยอดคุณแม่ใจเด็ดคลอดลูกกลางป่า-ตัดสายรกเอง!!! (มีคลิป)
ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การทำคลอดทารก
การคลอดลูก เป็นเรื่องของธรรมชาติ ดังนั้นการคลอดจึงสำเร็จในคนส่วนใหญ่ จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ต้องการความช่วยเหลือจากแพทย์ การคลอดทางช่องคลอดหรือคลอดธรรมชาติจะดี กว่าการผ่าคลอด หากทุกอย่างปกติและเหมาะสม เพราะไม่เสี่ยงต่อการดมยาสลบ หรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง เจ็บตัว มีแผลที่หน้าท้อง โอกาสติดเชื้อในมดลูก การเสียเลือดน้อยกว่า และเสียค่าใช้จ่ายในการคลอดน้อยกว่า
⇒ Must read : คลอดธรรมชาติ เป็นอย่างไร
ส่วนข้อดีของการผ่าท้องคลอด คือ รวดเร็ว ไม่ต้องทนกับความเจ็บปวดก่อนคลอด กำหนดระยะเวลาคลอดตามที่ต้องการได้ แต่ก็ต้องเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
การคลอดลูกแบบผ่าท้องคลอด (Caesarean section) โดยปกติแล้วแพทย์จะทำในกรณีที่เด็กคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ เช่น เด็กมีขนาดใหญ่เกินไป เชิงกรานของแม่เล็กผิดปกติ เด็กอยู่ในท่าที่ไม่ปกติ ศีรษะเด็กไม่เข้ามาในเชิงกราน มีเนื้องอกมาขวางทางคลอด ปากมดลูกไม่ขยายเมื่อถึงเวลาอันสมควร หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ต้องรีบช่วยให้เด็กคลอดก่อนที่จะเป็นอันตราย (เช่น แม่มีอาการตกเลือดก่อนคลอด เสียงหัวใจของลูกเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ ฯลฯ)
ในกรณีที่ต้องผ่าคลอดเป็นการฉุกเฉิน หากคุณแม่มีอาการตกเลือดเนื่องจากรกเกาะต่ำ สายสะดือย้อย หรือมีสัญญาณใดบอกว่าลูกอาจมีปัญหา คุณหมอจะตัดสินใจรีบผ่าคลอดในทันที ซึ่งการผ่าคลอดฉุกเฉินอาจใช้การฉีดยาชาเข้าไขสันหลังหรือให้คุณแม่ดมยาสลบแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผ่าคลอดฉุกเฉิน ทางโรงพยาบาลจะไม่อนุญาตให้คุณพ่ออยู่ด้วย
คลิป การคลอดลูก แบบผ่าคลอด
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Applied Medical
ชมคลิป >> “การคลอดลูกในน้ำและการคลอดลูกแฝด” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การคลอดลูกในน้ำ
การคลอดลูกในน้ำ (Water Birth) เป็นการคลอดลูกวิธีธรรมชาติ โดยคุณแม่จะลงไปคลอดลูกในอ่างน้ำอุ่นที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ประมาณ 35-37 องศาเซลเซียส โดยน้ำจะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของคุณแม่ผ่อนคลายและบรรเทาอาการเจ็บปวดจากการคลอดให้ลดลง สำหรับการคลอดโดยวิธีนี้คุณแม่จะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ แต่ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยเพราะเมื่อศีรษะของทารกพ้นจากช่องคลอดแล้ว ก็จะลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ซึ่งน้ำจะช่วยรองรับแรงกระแทก และป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย รวมถึงคุณแม่เองก็จะรู้สึกเบาสบาย ผ่อนคลาย และเจ็บน้อยลง นอกจากนี้ยังเป็นการคลอดที่พ่อ แม่ ลูก จะได้อยู่ใกล้ชิดกันมาก ๆ อีกทั้งไม่ต้องคอยกังวล เพราะจะมีสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา
⇒ Must read : คลอดลูกในน้ำเป็นอย่างไร มีข้อดีหรือความเสี่ยงอะไรบ้าง?
สำหรับการคลอดลูกในน้ำปัจจุบันนั้นยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมในประเทศไทยเท่าไรนัก และโรงพยาบาลที่ให้บริการคลอดในน้ำนั้นมีอยู่น้อย อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการคลอดก็ค่อนข้างสูงกว่าเมื่อเทียบกับการคลอดด้วยวิธีปกติ ซึ่งหากคุณแม่คนไหนที่กำลังชั่งใจอยู่ว่าจะใช้วิธีคลอดในน้ำดีหรือไม่ แนะนำให้ไปปรึกษากับแพทย์ เพื่อสอบถามรายละเอียดให้แน่ชัดก่อนตัดสินใจจะดีที่สุดค่ะ
คลิป การคลอดลูก แบบคลอดในน้ำ
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Lisa Marie Sanchez Oxenham
การคลอดลูกแฝด
เมื่อตั้งครรภ์แฝด ไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยการผ่าท้องคลอดเสมอไป ในกรณีที่เป็นการตั้งครรภ์แฝดสอง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ (เช่น ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ) หากทารกทั้ง 2 คน อยู่ในท่าศีรษะ มีศีรษะเป็นส่วนนำ สามารถชักนำให้คลอดทางช่องคลอดได้ ควรมีทีมแพทย์และพยาบาลที่ดูแล 2 ทีม (ดูแม่ และดูลูก)
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมีการเตรียม พร้อมสำหรับการผ่าท้องคลอดฉุกเฉินเสมอ เนื่องจากมีบางครั้งที่ทารกคนแรกคลอดไปแล้ว แต่ทารกคนที่ 2 มีการหมุนเปลี่ยนท่าเอง เช่น กลายเป็นท่าขวาง แพทย์ผู้ทำคลอดอาจต้องรีบไปผ่าท้องคลอด แต่หากทารกคนแรกมีส่วนนำ (ส่วนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับช่องเชิงกรานมารดา) ไม่อยู่ในท่าศีรษะ มีคำแนะนำว่าควรต้องวางแผนผ่าท้องคลอด แต่หากเป็นการตั้งครรภ์แฝดสาม แฝดสี่ ควรต้องผ่าท้องคลอดเลย เพื่อความปลอดภัยของลูก
⇒ Must read : อยากได้ลูกแฝด ต้องลอง 9 วิธีธรรมชาติทำได้แน่นอน!
⇒ Must read : แม่ตัวเล็กแต่ท้องลูกแฝด เสี่ยงอะไรบ้าง?
⇒ Must read : วินาทีสำคัญ!! คลอดลูกแฝดในอ่างอาบน้ำที่บ้าน
คลิป การคลอดลูกแฝด
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Roman Hrytsyk
อย่างไรก็ดีจากการคลอดลูก คุณแม่บางคนจะมีประสบการณ์การคลอดไม่เหมือนกัน เพราะ บางคนก็เจอกับภาวะแทรกซ้อนระหว่างรอคลอดหลายอย่าง จนไม่สามารถคลอดเองได้ ต้องทำการผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และทารก ซึ่งทุกอย่างสำหรับการคลอดลูกนั้นจะอยู่ที่ดุลพินิจของคุณหมอโดยตรงค่ะ
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ท้องแรกผ่าคลอด ท้องสองคลอดเอง จะได้ไหมนะ
- อยาก คลอดลูกง่าย ต้องกินอะไร?
- แม่ท้องต้องตรวจอะไรบ้าง? ตั้งแต่ตั้งครรภ์ถึงการคลอดลูก
- 15 ภาพคลอดลูก ที่บรรยายความงดงามของการให้กำเนิดได้ดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : baby.kapook.com