AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พลิกทุกทฤษฎี นักวิจัยชี้สมองลูกน้อย เรียนรู้ได้แม้ยามหลับ

รู้หรือไม่ว่าสมองของลูกน้อยสามารถเรียนรู้ได้แบบไม่จำกัดเวลา ไม่ว่าจะยามตื่นหรือแม้กระทั่งยามหลับ!!

 

ฉีกกฎความเชื่อเดิมๆ ไปได้แล้วว่าสมองของลูกน้อยสามารถเรียนรู้ได้เฉพาะในเวลาที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ทำกิจกรรมต่างๆ ในตอนตื่นเท่านั้น เพราะสมองของวัยเด็ก เป็นวัยที่จดจำอะไรได้ง่าย เรียนรู้เร็ว พร้อมที่จะตักตวงเปิดรับสิ่งใหม่ๆ และเรียนรู้แบบไม่จำกัดเวลาไม่ว่าจะยามตื่นหรือแม้กระทั่งยามหลับ

        นักวิจัยค้นพบว่า การนอนหลับของทารกแรกคลอด 10-20 สัปดาห์ ไม่ใช่แค่การพักผ่อนทั่วไปเหมือนผู้ใหญ่ แต่เป็นการนอนหลับทั้งๆ ที่สมองตื่น ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่คลื่นสมองจะไม่อยู่นิ่ง จะพัฒนาและคอยเก็บประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ในแต่ละวันมาบันทึกไว้เป็นความทรงจำระยะยาว1ซึ่งช่วยให้เด็กสามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น

โดยนักวิจัยจากต่างประเทศได้ทำการทดลองวัดคลื่นสมองของ ลูกน้อยวัย 10-20 สัปดาห์    พบว่าสมองของลูกน้อยระหว่างตื่นนอนและยามหลับมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก โดยเฉพาะในยามหลับคลื่นสมองจะไม่อยู่นิ่งเลย มีความตื่นตัวและพร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา หากเป็นการนอนหลับในช่วงกลางวัน   ภายในครึ่งชั่วโมงลูกน้อยจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายเฉลี่ยแล้ว 10.5 นาที แต่หากเป็นช่วงกลางคืนลูกน้อยจะเคลื่อนไหวถึง 24.4 นาทีเลยทีเดียว

คุณพ่อคุณแม่อาจตั้งคำถามในใจว่า….แล้วการเคลื่อนไหวของดวงตาในระหว่างนอนหลับของลูกบ่งบอกถึงอะไร?

ในช่วงที่ลูกน้อยนอนหลับและมีการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movement) นั้น เป็นช่วงเวลาที่สมองของลูกน้อยมีการนำเอาประสบการณ์ที่ได้ในขณะตื่นมาประมวลเป็นความจำ ในช่วงนี้เลือดจะขึ้นไปเลี้ยงสมองเป็นจำนวนมาก เป็นผลดีต่อความสามารถในการเรียนรู้ของลูกน้อย ทำให้ขณะตื่นเด็กจะตื่นตัว มีความสามารถในการเรียนรู้ที่ไวขึ้น จัดการกับข้อมูลต่างๆ ที่ตนเองได้รับในแต่ละวันได้ดีเยี่ยม และส่งผลให้มีไหวพริบปฏิภาณดีอีกด้วย

แต่จะทำอย่างไรในเมื่อปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่มักประสบพบบ่อยคือ ลูกน้อยมักจะตื่นบ่อยทุกๆ 20 นาที คุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่ายมากๆ เพียงให้ลูกทานนมแม่ก่อนนอนนานขึ้นเท่านั้นเอง เพราะนมแม่ได้ชื่อว่าเป็นอาหารชั้นเยี่ยมที่อุดมไปด้วย แอลฟา-แล็คตัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูง มีกรดอะมิโนจำเป็น ชื่อ “ทริปโตแฟน” ที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท ช่วยในการสื่อสารของเซลล์ประสาทและการทำงานของสมอง มีส่วนช่วยในการควบคุมการนอนหลับ ทำให้ลูกหลับเร็วขึ้นและสามารถนอนได้นานขึ้น2 นอกจากนี้นมแม่ยังอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารต่างๆ มากมาย ที่เสมือนเป็นวัคซีนธรรมชาติปกป้องลูกน้อยให้มีภูมิต้านทานที่แข็งแรงขึ้น


จริงอยู่ที่เด็กลูกน้อยมีขีดจำกัดในการเรียนรู้ของแต่ละช่วงวัย แต่สมองของเด็กมีการพัฒนาอยู่เสมอในทุกๆ เวลา ดังนั้นนอกจากคุณพ่อคุณแม่จะใส่ใจกับพัฒนาการของลูกในยามตื่นแล้ว ควรใส่ใจดูแลให้เขาได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม แบ่งช่วงเวลาสำหรับพัฒนาการสมองของเด็กอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นและเร้าให้สมองพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ทำให้เด็กมีความพร้อมในการเรียนรู้ เพื่อการเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ


 

Sources:

Tarullo AR, Balsam PD, and Fifer WP. Sleep and Infant Learning. Infant and Child Development 2011: 20; 35-46 Steiberg LA, O’Connell NC, Hatch TF, Picciano MF, Birch LL. Tryptophan intakes influences infants’ sleep latency 1992. J. Nutr: 122(9); 1781-91