ระหว่างการนอนหลับตอนกลางคืน สมองของลูกน้อยจะเก็บสิ่งที่ลูกได้เรียนรู้ในระหว่างวัน และจากนั้นสมองของลูกจะประมวลข้อมูลที่ได้รับในขณะที่ลูกนอนหลับ การที่หลับได้เพียงพอ (ไม่ตื่น) ระหว่างกลางคืนจะทําให้ความสามารถในการจําสิ่งที่ได้เรียนรู้มาในช่วงกลางวันมี ประสิทธิภาพเพิ่มมากกว่าลูกน้อยที่หลับไม่ดี และเด็กจะจําได้ดีกว่า…
การทำงานต่างๆของสมอง ล้วนเกิดจากการสื่อสารกันระหว่างเซลล์ประสาทของเซลล์ในสมอง โดยการสื่อสารดังกล่าวจะสื่อสารกันผ่าน ”สารสื่อประสาท” ที่เป็นเหมือน เป็นตัวช่วย หรือสื่อกลางในการส่งต่อข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทในสมองที่มีอยู่ นับล้านๆเซลล์ ให้สื่อสารถึงกันและส่งต่อข้อมูลถึงกันได้เป็นอย่างดี
สารสื่อประสาทคือสารเคมีที่สร้างจากตัวเซลล์ประสาท และหลั่งออกจากปลายประสาทเพื่อเป็น ตัวนําสัญญาณประสาท ผ่านรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse) หรือช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อให้วงจรการ ทํางานของระบบประสาทเกิดความสมบรูณ์เต็มรูปแบบ และเกิดการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ร่างกายของลูกน้อยไม่สามารถ สร้างกรดอะมิโนจําเป็นได้ ร่างกายต้องได้รับกรดอะมิโนจําเป็นจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และหนึ่งในกรดอะมิโนสําคัญนี้เรียกว่าทริปโตเฟน ซึ่งทริปโตเฟนมีบทบาทสําคัญในพัฒนาการของระบบ ประสาทของลูกน้อยวัยแรกเกิด และหนึ่งในสารอาหารที่ช่วยสร้างกรดอะมิโนนี้ก็คือ สารอาหารที่ชื่อว่า แอลฟา-แลคตัลบูมิน (Alpha-lactalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูงที่พบมากในนมแม่นั่นเอง
สารอาหารอย่างแอลฟา-แลคตัลบูมินเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง แอลฟา-แลคตัลบูมิน เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกย่อยให้กรดอะมิโมมากมายรวมทั้งกรดอะมิโนจําเป็น คือทริปโตเฟน (Tryptophan ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสาร สื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) อาจมีผลช่วยควบคุมความอยากอาหาร อารมณ์ ควบคุมความเครียด และควบคุมการนอน
มาให้ความสำคัญของการนอนหลับกันนะคะ คุณพ่อคุณแม่ก็จะมีลูกที่มีการเจริญเติบโตที่เหมาะ สม มีพัฒนาการการเรียนรู้ มีความสุข ไม่งอแง ส่วนคุณพ่อคุณแม่เองก็อาจจะได้มีเวลาพักผ่อน มากขึ้นเช่นกัน
แหล่งอ้างอิง:
[1] Wilhelm Ines, et al. The sleeping child outplays the adult’s capacity to convert implicit into explicit knowledge. Nature Neuroscience, 2013; DOI: 10.1038/nn.3343
[2] Silvia Helena Cardoso. Communication Between Nerve Cells. State University of Campinas
[3] Kandel, Eric R.; Schwartz, James Harris; Jessell, Thomas M. (2000). Principles of neural science. New York: McGraw-Hill. ISBN 978-0-8385-7701-1. OCLC 42073108.
[4] Robert Stufflebeam, Consortium on Cognitive Science Instruction, Neurons, Synapses, Action Potentials, and Neurotransmission.
[5] Heine WE. The significance of tryptophan in infant nutrition. In: Huether G, Kochen W, Simat TJ, Steinhart H, eds. Tryptophan, Serotonin, and Melatonim: Basic Aspects and Applications. New York, NY: Kluwer Academic/Plenum Publishers; 1999:705-710. Advances in Experimental Medicine and Biology; vol 467.
[6] Heine WE, Klein PD, Reeds PJ. The importance of Alpha-Lactalbumin in infant nutrition. J.Nutr. 1991;121:277-283