กรมสุขภาพจิต เผยคู่มือตารางเวลาพาลูกหนีจอ แก้ปัญหาลูกติดมือถือ แท็บเล็ต และโทรทัศน์ ต้องเริ่มอย่างไร ให้เล่นช่วงไหน เวลาใดบ้าง ตามมาดูกันเลย
เปิด!! คู่มือตารางเวลา แก้ปัญหาลูกติดมือถือ
“คุณ” คือเหตุที่ “ลูกติดจอ” หรือเปล่า?
ปัญหา ลูกติดมือถือ ลูกติดโทรศัพท์ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ในยุคนี้ต้องเจอ เพราะทุกวันนี้ อุปกรณ์เทคโนโลยี อย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงเกม และสื่อออนไลน์ได้รับการพัฒนาให้น่าดึงดูดใจ และเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเด็กๆ มากขึ้น ซึ่งการที่ ลูกติดจอ ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ เล่นแท็บเล็ต หรือ ลูกเล่นมือถือ มากเกินไป ก็สามารถส่งผลกระทบด้านลบต่อพัฒนาการของลูกได้ ทั้งด้านทักษะทางภาษา อารมณ์และสังคมโดยตรง
⇓ Must read ⇓
หมอเผย! แก้ปัญหาลูกติดมือถือผิดวิธี! ส่งผลเสียต่อพัฒนาการ
แม่เตือน! ลูกเล่นมือถือนาน เกินไป สุดท้ายตาอักเสบ
นี่คือผลเสีย! ที่ปล่อยให้ลูกเล่นมือถือ จ้องสมาร์ทโฟน เป็นเวลานาน
ซึ่งแม้เราอาจจะเคยได้ยินกันว่า โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตมีประโยชน์กับเด็ก เพราะมันเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กมีโอกาสได้รู้จักและโต้ตอบกับสิ่งใหม่ๆได้มากขึ้น แต่ปัญหา ก็คือ สิ่งที่หน้าจอเหล่านั้นมอบให้ โดยเฉพาะในเด็กที่เล็กมากๆ ก็คือ มุมมองต่อโลกและสิ่งต่างๆรอบตัวที่แคบมาก เป็นการแย่งเวลาจากกิจวัตรประจำวันที่เด็กควรจะได้ใช้เวลาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมและผู้คนต่างๆรอบตัวไปอย่างสิ้นเชิง
หลักการง่ายๆ เลย ก็คือ การใช้เวลาไปกับหน้าจอมากเกินไปย่อมส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตใจ แม้จะเล่นกีฬาสัก 10 ชั่วโมง เพื่อทดแทนเวลาสิบชั่วโมงที่เสียไปกับการเล่นแท็บเล็ต แต่มันก็ไม่อาจชดเชยทักษะหรือพัฒนาการที่เสียไปแล้วได้ (ข้อมูลอ้างอิงจาก www.brainfit.co.th)
และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาลูกติดมือถือ ลูกติดจอ ต่างๆ เหล่านั้น มาจาก “คุณพ่อคุณแม่” ที่เป็นคนหยิบยื่นให้ลูกน้อยเอง ด้วยข้ออ้างต่างๆ นานาๆ เช่น ให้ดูแล้วลูกนั่งนิ่ง ไม่ดื้อ ไม่ซน ,ไม่มีเวลาดูลูกจึงปล่อยลูกไว้กับจอแทน เป็นต้น รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่เป็นแรงจูงใจได้อย่างดี เช่น พ่อแม่เล่นมือถือให้ลูกเห็น หรือเด็กข้างบ้านก็เล่นและมีมือถือส่วนตัวใช้กัน จึงทำให้ ลูกต้องติดจอไปตามๆกัน แล้วก็เป็น คุณพ่อคุณแม่เองที่ดิ้นรนหาวิธี แก้ปัญหาลูกติดมือถือ หรือ ติดจอนั่นเอง
อ่านต่อ >> “วิธีป้องกันและแก้ปัญหาลูกติดมือถือ จากกรมสุขภาพจิต”
คลิกหน้า 2
สำหรับวิธีป้องกัน และ แก้ปัญหาลูกติดมือถือ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้กล่าวก่อนว่า.. จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า ผู้ใหญ่มากกว่า 23% และวัยรุ่นมากกว่า 80% มีกิจกรรมทางกายภาพที่ไม่เพียงพอและพฤติกรรมเนือยนิ่งมากเกินไป
ซึ่งกรมสุขภาพจิตจึงขอแนะนำคุณพ่อคุณแม่ ให้ลองปฏิบัติตามคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกฉบับล่าสุดที่ออกประกาศใช้ โดยมุ่งเน้นการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของลูกน้อย เช่น การนั่งเฉยๆ ไม่ทำอะไร ,การนั่งติดกับสายรัดในรถเข็นเด็ก หรือการนั่งดูโทรทัศน์ หรือ เครื่องมือสื่อสารที่มีหน้าจอประเภทต่างๆ
โดยควรเพิ่มพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องระหว่างช่วงเวลาที่ลูกตื่น พร้อมเน้นเรื่องการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ และการควบคุมเวลาหน้าจออย่างเข้มงวด เพื่อพัฒนาการทั้งทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีของลูกน้อย
“นั่งให้น้อย เล่นให้มาก ปราศจากหน้าจอ” หลักง่ายๆ แก้ปัญหาลูกติดมือถือ
ทั้งนี้ทางอธิบดีกรมสุขภาพจิต ยังกล่าวต่อว่า…
- ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ควรมีกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวหลายครั้งต่อวัน โดยเฉพาะการเล่นบนพื้น หากยังเคลื่อนไหวได้ไม่ดี ควรมีการนอนคว่ำแบบตะแคงหน้าอย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีหลายครั้งต่อวัน ในช่วงเวลาที่ตื่น ไม่ควรให้นั่งนิ่งๆหรือล็อคติดกับรถเข็นเด็กนานเกิน 1 ชั่วโมง นอนหลับรวม 14-17 ชั่วโมง ในเด็ก 0-3 เดือน และ 12-16 ชั่วโมง ในเด็ก 4-11 เดือน ไม่ควรใช้หน้าจออย่างเด็ดขาดทั้งโทรทัศน์และเครื่องมืออิเล็คโทรนิกประเภทต่างๆ
- สำหรับในเด็กอายุ 1-2 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 180 นาทีต่อวันหรือมากกว่า ไม่ควรให้นั่งนิ่งๆ หรือ ล็อคติดกับเก้าอี้หรือรถเข็นเด็กนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรนอนหลับรวม 11-14 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรใช้หน้าจออย่างเด็ดขาดในเด็กอายุ 1 ปี สำหรับในเด็กอายุ 2 ปี ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยยิ่งใช้เวลาหน้าจอน้อยยิ่งส่งผลดีต่อเด็ก
- และในเด็กอายุ 3-4 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 180 นาทีต่อวันหรือมากกว่า โดยเป็นกิจกรรมที่ใช้พลังงานอย่างมากนานไม่ต่ำกว่า 60 นาที ไม่ควรให้นั่งนิ่งๆ หรือล็อคติดกับเก้าอี้หรือรถเข็นเด็กนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรนอนหลับรวม 10-13 ชั่วโมงต่อวัน ตลอดจนควรจำกัดเวลาหน้าจอไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยยิ่งใช้เวลาหน้าจอน้อยยิ่งส่งผลดีต่อเด็ก
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต
ดังนั้นจากตารางเวลา ของวิธี แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ข้างต้น สิ่งสำคัญที่สุดที่พ่อแม่ทำได้ คือ ควรชักชวนให้ลูกเล่นมากขึ้น แทนการอยู่หน้าจอ เพราะการเล่นของเด็กเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาความฉลาดทางปัญญา อารมณ์ และสังคมไปพร้อมๆ ควรเน้นการส่งเสริมกระตุ้นให้ลูกน้อยได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น อ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้ฟัง เล่นบทบาทสมมติโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัว เล่นต่อเพลงหรือต่อนิทานคนละประโยค เล่นของเล่นอย่างอิสระ หรือออกไปสัมผัสธรรมชาติภายนอก
นอกจากนี้ควรฝึกให้ลูกรู้จักการสังเกต ตั้งคำถาม และพ่อแม่ต้องคอยตอบคำถามของลูกด้วยความรักและความใส่ใจ ภายใต้บรรยากาศอันอบอุ่นและปลอดภัยของครอบครัว ทั้งนี้การส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดี ควรทำตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมติดตัวที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตเมื่อโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีสติที่ดี มีความสุขในอนาคต
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- ลูกติดจอ ติดมือถือ แก้ได้ด้วยกฎ 3 ต้อง 3 ไม่
- ป้องกันลูกติดมือถือ สไตล์คุณพ่อลูกสอง เต๋า สมชาย
- ต้นเหตุลูกพูดช้า เพราะดูทีวี มือถือ และแท็บเล็ต ประสบการณ์จากคุณแม่
- กุมารแพทย์แนะ“งด” เลี้ยงลูกด้วยมือถือ และจอทุกชนิดในเด็ก 2 ขวบปีแรก
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : กรมสุขภาพจิต ,themomentum.co ,www.winnews.tv ,www.brainfit.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่