AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกเหวี่ยงวีน จะจัดการลงโทษอย่างไร?

Credit Photo : Shutterstock

ลูกเหวี่ยงวีน เป็นปัญหาหนักใจของพ่อแม่อย่างมาก ยิ่งกับเด็กที่อายุ 1-3 ขวบ เมื่อถูกขัดใจเขาจะแสดงอารมณ์โกรธออกมา แต่รูปแบบที่ต่อต้านว่าไม่พอใจก็คือจะลงไปนอนดิ้นอาละวาดกับพื้น ร้องตะโกนเสียงดัง กระทืบเท้าแล้วก็กรี๊ดๆๆ พ่อแม่คนไหนอ่อนแอก็แพ้ไปค่ะ  ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีวิธีเปลี่ยนลูกขี้วีนด้วยวิธีละมุนละม่อมแต่ได้ผลมาฝากกันค่ะ

 

ลูกเหวี่ยงวีน อาละวาด เพราะอะไร?

เวลาที่ถูกขัดใจ หรือไม่ได้ดั่งใจอาการ ลูกเหวี่ยงวีน อารมณ์บูด หน้าบึ้ง ออกฤทธิ์ด้วยการอาละวาดบ้านแตกจะมีมาพิสูจน์จิตใจพ่อแม่อยู่เรื่อยๆ ค่ะ ทำเอาปวดหัวไม่รู้จะจัดการกับลูกอย่างไรดี เพราะแค่ลำพังคนในบ้านก็สุดจะทนแล้ว แต่นี่ลูกยังไปแสดงกิริยาไม่น่ารักนี้ต่อหน้าผู้คนนอกบ้านอีก ใครเป็นพ่อแม่ก็ไม่อยากให้คนอื่นๆ มองลูกเราเป็นเด็กดื้อไม่น่ารักกันถูกไหมคะ อย่างน้อยก็มีบ้านผู้เขียนนี่แหละที่ไม่อยากให้ลูกๆ หลานๆ ที่บ้านเป็นเด็กขี้เหวี่ยง ขี้วีน แต่เชื่อไหมคะต่อให้เราดูแลเด็กๆ ดียังไง ก็มีบ้างที่พวกเขาจะแสดงพฤติกรรมไม่น่ารักนี้ออกมาให้คนที่บ้านได้ใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และปวดหัวกันค่ะ

บทความแนะนำ คลิก >> 4 วิธีปราบลูกดื้อ วางอำนาจ เอาแต่ใจ จากนักจิตวิทยาต่างประเทศชื่อดัง (มีคลิปเหตุการณ์จริง)

การร้องดิ้นอาละวาด (Tantrums) หรืออาการเหวี่ยงวีนที่เกิดขึ้นกับเด็กนั้น มักจะพบว่าเกิดขึ้นกับเด็กในช่วงอายุ 1-3 ปี เพราะเด็กช่วงวัยนี้เริ่มที่จะมีความเป็นตัวของตัวเอง เวลาที่ถูกขัดใจก็มักจะโกรธพ่อแม่ หรือไม่ก็คนรอบข้างที่อยู่ด้วย เวลาเด็กๆ มีความรู้และอารมณ์โกรธที่คกกรุ่นอยู่ภายในใจ เขาก็มักที่จะเลือกปดปล่อยออกมาด้วยการแสดงอาการกรีดร้อง กระทืบเท้า ตะโกน หรือถ้าหนักหน่อยก็อาจจะตีคนที่อยู่รายล้อมด้วย ทั้งพ่อแม่ พี่ญาติพี่น้อง เป็นต้น

อ่านต่อ ทำโทษลูกรูปแบบไหนดี หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ทำโทษลูกแบบไหนดี Time out หรือ ตี ?

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์กับอารมณ์ พฤติกรรมของลูกที่เวลาถูกขัดใจ ไม่ได้ดั่งใจก็จะเหวี่ยงวีน อาละวาดบ้านแตกออกมา และพ่อแม่ก็ต้องหาสารพัดวิธีเพื่อมาจัดการกับลูก ทั้งการทำ Time Out ก็คือการให้เข้ามุมสงบที่ปลอดภัยสักประมาณ 5-10 นาที อันนี้ก็แล้วแต่อายุของเด็กด้วย หลังจากให้ลูกเข้ามุมจนสงบและสำนึกผิดได้แล้ว ก็เป็นเวลาที่พ่อแม่จะมานั่งคุยกับลูกด้วยเหตุด้วยผลว่าเพราะอะไรทำไมเขาถึงถูกทำโทษ

ซึ่งจริงๆ การลงโทษลูกด้วยการ Time out เป็นวิธีที่บ้านของผู้เขียนก็ใช้กับลูกๆ หลานๆ ที่บ้านค่ะ เพราะที่บ้านเราจะไม่ทำโทษลูกด้วยการตี ซึ่งจริงๆ การตีก็เป็นการทำโทษที่ดีวิธีหนึ่งเลยค่ะ ผู้เขียนก็โตมากับครอบครัวที่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ทำผิดหรือดื้อจนแม่ทนไม่ไหวก็จะโดนไม้ก้านมะยมฟาดที่น่องกันคนละทีสองที ให้พอเจ็บๆ คันๆ คือไม่ได้โดนตีแบบเอาเป็นเอาตายนะคะ แค่ตีให้พอจำว่าวันหน้าห้ามดื้อ ห้ามทำตัวไม่น่ารักแบบนี้อีก ผู้เขียนเนี่ยโดนประจำ จนเป็นเพื่อนสนิทกับก้านมะยมเลยค่ะ ^_^

 

บทความแนะนำ คลิก >> ลงโทษ Time out!! วิธีการนี้ดีหรือไม่? ลูกจะรู้สึกอย่างไร

 

การลงโทษด้วยการตี และการทำ Time out เป็นวิธีที่พ่อแม่ใช้ในการจัดการกับลูกในช่วงเวลาที่พ่อแม่ก็เหลืออดทนลูกไม่ไหวแล้ว จึงจับทำโทษ แต่การทำโทษที่ผสมอารมณ์โมโหของพ่อแม่ลงไปด้วย อันนี้ไม่สนับสนุนนะคะ เพราะการที่เราสาดอารมณ์โกรธ โมโห หรือหงุดหงิดตะโกนใส่ลูก ย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กๆ ได้ค่ะ ที่ร้ายก็คือพวกเขาจะซึมซับเอา พฤติกรรมที่พ่อมาแสดงใส่เขานั้นจนอาจทำให้เด็กๆ กลายเป็นคนเก็บกด หรือมีอารมณ์โมโหร้ายได้ทั้งในระยะสั้นและ  ระยะยาวเลยค่ะ แนะนำว่าก่อนลงโทษลูกไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ขอให้พ่อแม่สงบอารมณ์ของตัวเองให้ได้ก่อน แล้วการ  ลงโทษก็ค่อยว่ากันไปตามเหตุและผล ซึ่งนั่นก็จะดีทั้งกับตัวผู้ปกครอง และตัวเด็กเองด้วยค่ะ

อ่านต่อ วิธีจัดการเด็กเหวี่ยงวีน ต้องกอดก่อนแล้วค่อนสอน หน้า 3 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ลูกเหวี่ยงวีน อาละวาด ให้กอดลูกก่อนแล้วค่อยสอนตาม !?   

ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่านบทความของ โค้ชโป๊ะ Powerful Family ซึ่งโค้ชเขียนถึงวิธีการจัดการกับลูกที่มี  พฤติกรรมเหวี่ยงวีนไว้ดีมากๆ ค่ะ จึงอยากนำมาแชร์ให้กับทุกครอบครัวที่ได้ลองมาแล้วกับหลายวิธีที่ใช้ในการลงโทษลูก ซึ่งเชื่อว่ายังมีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรมไม่น่ารักของลูกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ อาจจะด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่างที่ ทำให้การลงโทษลูกไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ดังนั้นเราลองมาทำตามวิธีของโค้ชโป๊ะกันดูค่ะ

“โค้ชโป๊ะ – เราไม่ควรละเลยกับอารมณ์ความรู้สึก กลัว โกรธ หงุดหงิดของลูกที่เกิดขึ้น เพราะอารมณ์ความรู้สึกที่ตกค้าง เหล่านี้คือสาเหตุที่บันทอนสุขภาพจิตของลูกในอนาคต”[1]

ซึ่งวิธีที่โค้ชแนะนำให้กับพ่อแม่เวลาที่ลูกเหวี่ยงวีนก็คือ ให้กอดลูกก่อนแล้วค่อยสอนลูกทีหลัง วิธีนี้ไม่ใช่การตามใจลูก แต่  เป็นการเชื่อมต่อใจลูกด้วยการแสดงการรับความรู้สึกของลูกออกมาทางภาษากายนั่นก็คือการกอด หรือด้วยคำพูดเช่น

“พ่อ/แม่เข้าใจนะหงุดหงิดใช่ไหมลูก  ลูกกำลังโกรธเนอะ  แม่เข้าใจนะว่ามันน่าโกรธ เป็นแม่ แม่ก็โกรธ” เพื่อให้ลูกได้     ปลดปล่อยความรู้สึกลบๆ เหล่านั้นออกมา อีกทั้งยังเป็นการสอนให้ลูกได้รู้จักกับความรู้สึกของตัวเองอีกด้วย และเมื่อ อารมณ์ลบๆ ต่างๆ ของลูกค่อยๆ จางหายไป

คุณพ่อ คุณแม่ ก็ค่อยๆ เริ่ม “ชี้นำ” ด้วยการอธิบายลูกด้วยเหตุผล หากใช้วิธีการนี้บ่อยๆ ลูกจะค่อยๆ เรียนรู้ที่จะสมดุล  ระหว่างอารมณ์และเหตุผลด้วยตัวของเขาเอง ประสบการณ์เลวร้ายจะถูกแปลเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ เพราะอารมณ์ความรู้สึกลบๆ ได้ถูกปลดปล่อยออกไป แล้วก็ถูกแทนที่ด้วยการทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์นั้นด้วยเหตุผลด้วยคำแนะนำของพ่อแม่[2]

 

บทความแนะนำ คลิก >> ชมคลิปนักจิตวิทยาต่างประเทศแนะ! วิธีแก้ปัญหาลูกดื้อ ตอน “หนูเป็นใหญ่ในบ้าน”

การเรียนรู้และเข้าใจพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรต้องทำความเข้าใจให้มากๆ เพราะการเข้าใจลูกย่อมช่วยให้พ่อแม่สามารถจัดการกับทุกพฤติกรรมของลูกอย่างเข้าใจ และได้ผลลัพธ์ที่ดีนั่นเองค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

10 วิธีรับมือลูกดื้อแบบฉบับคุณแม่ยุคใหม่!
สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูก ป้องกันลูกดื้อ ด้วยเทคนิคง่ายๆ จากหมอ!


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1,2โค้ชโป๊ะ Powerful Family. PPTV
ดร.เบนจามิน สป๊อก พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ. หนังสือคัมภีร์เลี้ยงลูก วัยแรกเกิด-วัยรุ่นตอนปลาย