ปราบลูกเกรี้ยวกราด อย่างไรดี? ปัญหาหนักใจของพ่อแม่ที่ต้องเจอกันอยู่บ่อยๆ ก็คือเวลาที่ลูกเอาแต่ใจมากไป จนบางครั้งก็แสดงพฤติกรรมไม่น่ารักออกมา ไม่ว่าจะเป็นการกรีดร้อง ชอบโวยวาย ไม่ยอมจะต้องให้ได้เดี๋ยวนี้ตอนนี้ ฯลฯ พ่อแม่เห็นแล้วเครียดเลยใช่ไหมคะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการปราบลูกมาให้ทราบค่ะ
ปราบลูกเกรี้ยวกราด
ก่อนที่จะไปพบกับวิธี ปราบลูกเกรี้ยวกราด เราในฐานะพ่อแม่มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า พฤติกรรม อารมณ์ร้ายๆ เกรี้ยวกราดที่ลูกแสดงออกมานั้น คืออะไรกัน…
อาการเกรี้ยวกราด รุนแรง หรือที่เรียกว่า Tantrum สามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับเด็กตั้งแต่อายุ 1-4 ปี ซึ่งถือเป็นช่วงวัยที่ยังควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเองยังไม่ได้ดีพอ พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กในอีกหลายๆ ครอบครัว อาจกำลังสงสัยว่าถ้าเด็กๆ จะแสดงพฤติกรรมไม่น่ารักออกมานั้น ลักษณะอาการแบบไหนที่ถือว่าใช่อาการของ Tantrum กันบ้าง
เพื่อให้เข้าใจกันง่ายมากขึ้น ลองสังเกตอาการที่ลูกแสดงออกมาดังนั้นนี้กันค่ะ นั่นคือ…
– ร้องไห้แหกปาก ร้องกรี๊ด หวีดร้อง ตะโกน
– ทำหลังแอ่นงอ ตัวแข็งเกร็ง ลงไปนอนดิ้นพราดๆ ชักดิ้นชักงอ ร้องกลั้นหน้าเขียว
– เตะ ตี กัด ข่วน ดึงผม ชก เอาหัวโขก ผู้อื่น
– กัดตัวเอง ข่วนตัวเอง ดึงผมตัวเอง เอาหัวตัวเองโขกพื้น โขกกำแพง
– ทำข้าวของให้เสียหาย โดยตั้งใจ[1]
บทความแนะนำ คลิก >> พ่อหนุ่มเผย!“น้องมายู” ดื้อจนรับมือไม่ไหว ต้องพาพบจิตแพทย์ (มีคลิป)
เด็กๆ ที่บ้านเป็นอาการแบบนี้กันอยู่บ้างหรือเปล่าคะ ถ้ามีหนึ่งในอาการเหล่านี้ ลูกยังเล็กอยู่ค่ะ ให้รีบปรับแก้ไขพฤติกรรมของพวกกันนะคะ เพราะไม้อ่อนยังดัดง่าย แค่พ่อแม่ต้องรู้วิธีที่จะจัดการกับลูกให้ถูกต้องเหมาะสม ก็จะช่วยให้ลูกๆ กลายเป็นเด็กน่ารักสำหรับพ่อแม่ รวมถึงคนรอบข้างก็จะรักและเอ็นดูค่ะ
อ่านต่อ ลูกเกรี้ยวกราดจัดการด้วยบันได 6 ขั้น หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ลูกเกรี้ยวกราดจัดการด้วยบันได 6 ขั้น
คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองสงสัยกันไหมคะว่า บันได 6 ขั้น ที่จะใช้ในการ ปราบลูกเกรี้ยวกราด นั้นคืออะไร จริงๆ แล้วบันได 6 ขั้นก็คือหลักจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่สามารถใช้ในการแก้ไขเด็กที่มีอาการ พฤติกรรมไม่น่ารักที่ชอบอาละวาด เกรี้ยวกราด ซึ่ง ทั้ง 6 วิธีแก้ไขนี้ เป็นคำแนะนำจาก ผศ.ดร. ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาฟื้นฟูสำหรับเด็กพิเศษ รองผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี[2] โดยเท่าที่ผู้เขียน อ่านข้อมูลที่คุณหมอเขียนแนะนำไว้นั้น จริงๆ แล้ว บันได 6 ขั้น เป็นการปรับพฤติกรรมพ่อแม่ เพื่อให้สามารถรับมือกับลูกได้ เวลาที่พวกเขาแสดงอาการเกรี้ยวกราดออกมา ไปทำความเข้าใจพร้อมกันค่ะว่า พ่อแม่ต้องทำอย่างไรกันบ้าง…
- เช็กก่อนว่าเรารู้สึกอย่างไรอยู่ การนำสติกลับมาอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมของเรา ลองคิดดูสิคะ ถ้าเรารู้หรือคิดได้ว่า การที่ลูกกรี๊ดโวยวายนั้นเป็นเพราะเขาต้องการจะสื่อสารอะไรบางอย่าง เราก็จะไม่เลือกที่จะตะโกนด่าว่าลูกให้หยุด หรือเงื้อมมือตีลูกแน่ๆ
- อยู่นิ่งๆ ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งเอาอารมณ์เราไปเล่มตามเกมลูก หายใจเข้า-หายใจออก
- ค่อยๆ อธิบาย เดินไปหาแล้วบอกลูกว่า ลูกร้องไห้ได้ แต่ก็ต้องบอกได้ว่าลูกร้องไห้ทำไม ถ้าบอกไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกถามเป็นคำถามหรือลองเดาว่า เพราะเหตุนี้ใช่หรือไม่อย่างไรก่อน
- ให้ทางเลือกลูกในการอธิบาย ในกรณีที่ลูกอธิบายได้ไม่ดี หรือคุณแม่ฟังไม่เข้าใจ หรือคิดว่าเหตุผลที่ลูกร้องไห้นั้นช่างไม่สมเหตุสมผลเลย เช่น น้องอาจได้ขนมในขณะที่ตัวเขาไม่ได้ หรือแม่ซื้อของให้น้องแต่ไม่ซื้อให้เขา ก็เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ในการอธิบายว่าเพราะเหตุใดถึงทำเช่นนั้น เปิดโอกาสตัวเองในการอธิบายเพื่อไม่ให้ลูกเข้าใจผิด รวมถึงให้โอกาสลูกในการพูดถึงอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกแย่ รู้สึกเสียใจ รู้สึกโกรธ
- เข้าอกเข้าใจลูก เมื่ออธิบายจบแล้ว ถ้าลูกยังคงร้องไห้อยู่ คุณแม่อาจแนะนำทางเลือกอื่น เช่น พาลูกไปดูของอย่างอื่น ชวนลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น พร้อมกับบอกด้วยว่า ลูกสามารถบอกอารมณ์และความคิดของลูกได้โดยที่ไม่ต้องกรี๊ดหรือโวยวาย และนั่นทำให้แม่เข้าใจได้ดีกว่าการที่ลูกร้องโวยวายเสียอีก
- ยืนหยัดอย่างมั่นคง รวมถึงทุกๆ คนในครอบครัวควรทำแบบเดียวกัน การปรับพฤติกรรมจะไม่ได้ผลเลยถ้าแต่ละคนในครอบครัวเลือกที่จะตอบสนองต่อความต้องการของเด็กต่างกัน เด็กมักจะเลือกที่จะแสดงอาการไม่พอใจไปจนเกรี้ยวกราดใส่คนที่ตนเองคิดว่า สามารถให้ของหรือให้ในสิ่งที่ตนเองต้องการเป็นลำดับแรกเสมอ ดังนั้น เรื่องการปรับทัศนคติในตรงกันจึงควรเป็นเรื่องพื้นฐานของครอบครัว[2]
บทความแนะนำ คลิก >> Terrible two วัย 2 ขวบ มารู้จักกับลูกวัยนี้กัน
ในเบื้องต้นนั้น หากครอบครัวไหนที่กำลังเจอกับลูกที่อยู่ในช่วงวัยนี้ แล้วมีอาการ Tantrum ลองทำตามคำแนะนำจากคุณหมอทั้ง 6 วิธีนี้ ก็น่าจะช่วยได้ในระดับหนึ่งเลยค่ะ ที่สำคัญสุดคือพ่อแม่ต้องหนักแน่นในการให้ความร่วมมือกันทั้งสองคนด้วย อย่างผู้เขียนกับเพื่อนๆ ที่ลูกมีปัญหาในเรื่องนี้ก็ได้ทำตามที่คุณหมอแนะนำพ่อแม่ คือทำแล้วช่วยได้ผลดีมากเลยค่ะ
อ่านต่อ 4 เทคนิคปราบลูกดื้อ หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
4 ข้อเทคนิคปราบลูกดื้อตามคำแนะนำจากนักจิตวิทยา
ดร.ทันยา ไบรอน (Dr.Tanya Byron) นักจิตวิทยา ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้…
1. ใส่ใจและเพิ่มปริมาณการชื่นชมพฤติกรรมที่ดี ลดการตำหนิติเตียน (ปรับพฤติกรรมเชิงบวกของแม่ด้วย)
เด็กเกือบทุกคนมักจะมีจุดอ่อนอยู่ 2 เรื่อง คือ ต้องการคนชม และต้องการคนสนใจ ถ้าเราสนใจและชมเขาในสิ่งดีที่เขาทำบ่อยๆ ให้มากเท่าที่ทำได้ ทุกครั้งที่ชมจะเป็นเครื่องยืนยันว่า หนูทำถูกต้องแล้ว ทำต่อไปนะแม้แต่เด็กที่ดื้อ ซน ก้าวร้าว พฤติกรรมก็จะดีขึ้นๆ จนกลายเป็นเด็กน่ารักในที่สุด
2. ใช้ท่าทีที่สงบสยบความดึงดัน ให้พ่อแม่เป็นคนยืนยันในสิ่งที่ต้องการ
เด็กดื้อ คือ เด็กที่ยืนยันในสิ่งที่เขาต้องการ แล้วได้ตามต้องการ เด็กซน คือ เด็กที่ยืนยันว่าการเล่นสนุกนั้นทำได้เสมอในทุกที่ เด็กก้าวร้าว คือเด็กที่ยืนยันว่าการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงนั้นได้ผลเสมอ เราปล่อยให้ลูกก้าวร้าวทำร้ายคนอื่นเท่ากับว่าเราทำให้ลูกเรียนรู้ว่า เขาจะทำร้ายใครก็ได้ที่ทำให้ไม่พอใจ
วิธีปราบลูกนั้น ไม้เด็ด คือ ยืนยันอย่างสงบว่าอย่างไรเสียลูกจะทำอย่างนั้นไม่ได้ ยิ่งเราควบคุมความโกรธได้เท่าไหร่ เรายิ่งควบคุมสถานการณ์ได้ดีเท่านั้น สิ่งสำคัญ คือ ความคิด คำพูด และการกระทำของคุณพ่อคุณแม่นั้นต้องตรงกัน ต้องทำให้ลูกยุติการกระทำที่ไม่ถูกต้องให้ได้ เช่น เมื่อลูกโมโหไม่ได้ดั่งใจแล้วตีแม่
ความคิด: ลูกตีแม่อย่างนี้ไม่ถูกต้อง จะให้ลูกทำอย่างนี้ไม่ได้ควบคุมอารมณ์ให้ได้ จ้องหน้าลูกแล้วพูดอย่างชัดเจนหนักแน่น
คำพูด: “หยุดนะ ลูกตีแม่ไม่ได้”
การกระทำ : จับมือลูกให้หยุดการตีให้ได้ ทำซ้ำเดิมจนกว่าลูกจะหยุดตี เมื่อลูกหยุด ต้องชื่นชม
หรือดึงมือลูกที่กำลังตีออกแล้วเดินหนีไม่พูดด้วย ห้ามสนใจ อย่ามอง อย่าพูดด้วย เมื่อลูกซนมาก (รักษาระยะห่าง) แล้วลูกก็จะสงบลงเอง
3. การทำกระดานสติ๊กเกอร์
มีการให้คะแนนหรือรางวัล อาจเป็นดาว สติ๊กเกอร์ แต้มสะสมเมื่อลูกทำความดี หรือทำในสิ่งที่ตกลงกันไว้ และยึดแต้มคืนกี่แต้มเมื่อลูกทำผิด
4. เบี่ยงเบนความสนใจ ให้ทำตามคำสั่ง ด้วยวิธีที่สนุก
ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ ให้เด็กหันไปสนใจอย่างอื่นแทน เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการได้ เช่น หากต้องการให้ลูกเก็บของเล่น ก็ทำใช้วิธีการเกมแบบเป็นเกมแข่งขันใครเก็บเร็วกว่ากันเป็นฝ่ายชนะ หรือหากลูกดื้อดึงไม่ยอมกลับบ้านขณะอยู่ห่าง คุณแม่ต้องใช้วิธีวิ่งเล่นเพื่อเบี่ยงเบนอาการร้องงอแงไม่อยากกลับ แต่หากลูกยังไม่ยอมฟังก็ให้ใช้วิธีเพิกเฉยดังเช่นข้อที่ 2
อ่านเทคนิคปราบลูกดื้อต่อได้ที่ คลิก >> 4 วิธีปราบลูกดื้อ วางอำนาจ เอาแต่ใจ จากนักจิตวิทยาต่างประเทศชื่อดัง (มีคลิปเหตุการณ์จริง)
การเลี้ยงลูกหากเข้าใจพัฒนาการ อารมณ์ พฤติกรรมของลูกในแต่ละช่งวัย ก็จะช่วยให้พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยความเข้าใจกันมากขึ้น และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะสามารถแก้ไขได้ไม่ยากค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใคลิก
สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูก ป้องกันลูกดื้อ ด้วยเทคนิคง่ายๆ จากหมอ!
ชมคลิปนักจิตวิทยาต่างประเทศแนะ! วิธีแก้ปัญหาลูกดื้อ ตอน “หนูเป็นใหญ่ในบ้าน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1พญ.สาริณี.newmomguidebook
2 ผศ.ดร. ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาฟื้นฟูสำหรับเด็กพิเศษ โรงพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพธุรกิจ