AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เก็บยาในตู้เย็น บริเวณไหนปลอดภัย ช่วยลดยาเสื่อมสภาพ

Credit Photo : Shutterstock

เก็บยาในตู้เย็น ผู้เขียนเคยเห็นแม่เก็บยาไว้ในตู้เย็นตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นเด็ก ตอนนั้นรู้แค่ว่าที่แม่เก็บไว้ในตู้ย็น เพราะต้องการให้ยายืดอายุคงสภาพยาไว้ให้ได้ตลอดการใช้งาน ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่รู้ว่าการเก็บยาไว้ในตู้เย็นนั้นถูกต้อง ปลอดภัยจริงหรือเปล่า ทีมงาน Amarin Baby & Kids วิธีการ เก็บยาในตู้เย็น ที่ถูกต้องมาฝากให้ทุกครอบครัวได้ทราบกันค่ะ

 

เก็บยาในตู้เย็น ใช่ที่ปลอดภัยในการเก็บรักษายาหรือเปล่า?

ส่วนมากแล้วยาที่ทุกครอบครัวมีเก็บไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้านจะเป็นยาพื้นฐานทั่วไป เช่น พาราเซตามอล ยาแก้ปวดหัว ลดไข้ตัวร้อน พลาสเตอร์แผ่นยาปิดแผล ยาใส่แผลสด แอลกอฮอล์ทำความสะอาดแผล ฯลฯ ซึ่งยาเหล่านี้โดยมากแล้วเราจะเก็บกันไว้ในกล่องยา ที่แค่ระวังเรื่องความอับชื้นที่จะเข้าสู่ยา เพราะอาจเกิดเชื้อราในกล่องยาขึ้นได้

Good to know… “ยาทุกตัวควรมีวันหมดอายุของยา  โดยวันหมดอายุของยาจะพิมพ์ด้วยข้อความ “วันหมดอายุ” , “ควรบริโภคก่อน” , “Exp. Date” , “Use before” , “Best by” , “Best before” หรือ “Exp.”  การระบุบางครั้งบอกเป็น วัน/เดือน/ปี ,  เดือน/วัน/ปี หรือ เดือน/ปี  กรณีที่วันหมดอายุบอกเป็น “เดือน/ปี” ให้ใช้ถึงวันสุดท้ายของเดือนนั้น  แต่ยาบางขนานบอกเพียงวันผลิต  ได้แก่ “วันผลิต” หรือ “Mft.  Date”  การกำหนดวันหมดอายุของยากลุ่มนี้ให้นับจากวันผลิตของยา 3 ปี (โดยต้องเก็บในภาชนะบรรจุเดิม และสภาพการเก็บรักษา ตามที่ระบุจากบริษัทเท่านั้น)(1)

อ่านต่อ >> “การเก็บรักษายาที่ถูกวิธี ต้องเก็บอย่างไร?” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การเก็บรักษายาที่ถูกวิธี ควรเก็บอย่างไร?

โดยมากแล้วเวลาที่ได้ยามาทานจากโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นยาเด็ก หรือยาผู้ใหญ่ หากสังเกตดูจะพบว่าข้างหน้าถุงใส่ยา หรือข้างกล่องยาจะมีเขียนบอกถึงวิธีการเก็บรักษายาชนิดนั้นๆ ที่ได้รับมาว่าควรต้องเก็บรักษาอย่างไรบ้าง และนี่คือหลักการง่ายๆ ในการเก็บรักษายาเบื้องต้นที่ทุกครอบครัวสามารถนำไปใช้ได้ค่ะ

  1. ควรเก็บยาในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น และไม่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง
  2. จัดเก็บยาแยกตามชนิดรูปแบบยาเตรียมได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ และ ยาฉีด เป็นต้น โดยอาจเรียงตามตัวอักษร หรือ การออกฤทธิ์เพื่อให้ง่ายต่อการหายา และควรเก็บยาอย่างเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกัน
  3. ยาที่เปิดใช้แล้วแต่ยังไม่หมดอายุ หากสังเกตว่าสี กลิ่น รสเปลี่ยนไป แนะนำให้ทิ้งไป ไม่ควรนำมาทาน
  4. ยาที่เสื่อมสภาพก่อนหมดอายุ ให้สังเกตได้ดังนี้

–  สี เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาจซีดลง เข้มขึ้น สีเปลี่ยน หรือมีรอยด่าง สีไม่กลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

–  กลิ่น เปลี่ยนแปลง มีกลิ่นหืน กลิ่นที่เคยมีแล้วหายไป

– เนื้อยา หรือ เม็ดยา เปลี่ยนแปลง

– ยาครีม/ขี้ผึ้ง  เนื้อยาแยกชั้น เนื้อยาจับรวมเป็นก้อน เนื้อยาแห้ง เนื้อยาไม่เนียน

– ยาเม็ด  เม็ดยาแตกหรือยุ่ยเป็นผง แคปซูลบวม ผงยาในแคปซูลจับกันเป็นก้อน

– ยาน้ำ มีตะกอนทั้งที่เป็นยาน้ำเชื่อมหรือยาน้ำใส ตะกอนจับเป็นก้อนแข็งที่ก้นขวด (ยาน้ำแขวนตะกอน) ความหนืดข้นของยาเปลี่ยน ยาแยกชั้น

– ยาฉีด  เกิดการตกตะกอน  น้ำยาขุ่น ความหนืดเปลี่ยน(3)

อ่านต่อ >> “เก็บยาในตู้เย็น อย่างไรให้ถูกต้อง” หน้า 3

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

Credit Photo : Pixabay

 

และนอกจากการเก็บรักษายาไว้ในที่เก็บยาปกติ ก็ยังสามารถเก็บรักษายาไว้ในตู้เย็นได้อีกวิธีหนึ่งเพื่อคสภาพของยาไว้ แต่จะเก็บยาในตู้เย็นอย่างไรให้ถูกวิธี มีคำแนะนำจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ. วารี ลิมป์วิกรานต์ ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(4) มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้กัน ดังนี้

 

เก็บยาในตู้เย็น บริเวณไหนปลอดภัย ช่วยลดยาเสื่อมสภาพ

 

ต่อไปนี้หากครอบครัวไหนจะต้องเก็บยาในตู้เย็น ขอให้เก็บอย่างถูกต้องกันด้วย เพื่อที่จะได้ทานยาที่มีคุณภาพไปตลอดช่วงการทานยากันค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

8 เทคนิคป้อนยาลูก เมื่อลูกกินยายาก
ยารักษาโรคซาง ปลอดภัยดีแล้วจริงหรือ?
วิธีใช้ลูกยางแดง ดูดน้ำมูก-เสมหะ ให้ลูกน้อยหายใจสะดวก

 

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1,2,3การเก็บรักษายา. งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์. Pharmacy
4ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ. วารี ลิมป์วิกรานต์ ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. การเก็บยาในตู้เย็นควรเก็บบริเวณไหนดี?. pharmacy.mahidol.ac.th