AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

นอนแยกห้อง แบบฝรั่ง VS นอนรวมกับพ่อแม่แบบไทย อย่างไหนดีกับลูกมากกว่ากัน!

แยกห้องนอนกับลูก ดีไหม …หนึ่งในคำถามสุดฮิตเมื่อมีลูกครั้งแรก ก็คือ จะให้ลูกนอนหลับที่ไหนดี จะเป็นในห้องบนเตียงเดียวกับพ่อแม่ หรือนอนแยกเตียงแต่อยู่ในห้องเดียวกัน หรือ นอนแยกห้อง ไปเลยดี

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องมีคำถามนี้ในใจไม่มากก็น้อย เพราะการให้ลูกของเรานอนหลับในแต่ละสถานที่ต่างก็มีข้อดีและข้อพึงระวัง ด้วยกันกันทั้งนั้น แต่อย่างไรก็ตามการจะให้ลูกนอนที่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละครอบครัวด้วยเป็นหลัก

แยกห้องนอนกับลูก แบบฝรั่ง VS นอนรวมกับพ่อแม่แบบไทย อย่างไหนดีกว่ากัน!

เมื่อพูดถึงการ นอนแยกห้อง หรือ แยกห้องนอนกับลูก พ่อแม่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมแยกห้องกันเท่าไร เพราะการนอนด้วยกันพ่อแม่ลูก ก็ทำให้อุ่นใจ แต่สำหรับพ่อแม่บางท่านแล้ว การแยกห้องนอนกับลูก ถือเป็นเรื่องที่ต้องฝึกให้ลูกคุ้นชินตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เนื่องจากหากถึงช่วงวัยที่ลูกควรนอนคนเดียวได้แล้ว แต่อาจทำให้ลูกกลับไม่ยอมแยกนอนก็ได้นะคะ

ลูกทารกสามารถนอนบนเตียงเดียวกับพ่อแม่ได้หรือไม่?

สำหรับพ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกทารกตัวน้อยนอนหลับอยู่บนเตียงเดียวกันนั้น สามารถทำได้ค่ะ และหลายบ้านก็นิยมให้ลูกน้อยนอนบนเตียงด้วยกันมากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่ยังหาที่นอนที่เหมาะให้กับลูกไม่ได้ แต่การให้ลูกน้อยนอนร่วมเตียงเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ก็มีข้อดีอยู่ด้วยนะคะ อ่านต่อ >> 10 ข้อดีของการให้ลูกนอนร่วมเตียงเดียวกับพ่อแม่

♦ ข้อควรระวัง ขณะ นอนเตียงเดียวกับลูกน้อย

อย่างไรก็ตาม แม้การให้ลูกน้อยนอนรวมเตียงเดียวกับพ่อแม่ ก็ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยในการนอนหลับของลูกให้มากเป็นพิเศษด้วยนะคะ โดยมีเรื่องที่ต้องระวัง ดังนี้

♥ อ่านต่อบทความแนะนำที่เกี่ยวข้อง : รวมพฤติกรรมยอดแย่ที่พ่อแม่ไม่ควรทำต่อหน้าลูก

อ่านต่อ >> ข้อดีของการนอนแยกห้อง ให้ลูกนอนหลับในห้องของลูกเอง คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

แยกห้องนอนกับลูก ให้ลูกนอนหลับในห้องของลูกเอง

คุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัวอาจจะมีการเตรียมความพร้อม สำหรับห้องนอนของลูกน้อยไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อที่เขาจะได้คุ้นเคยกับห้องของตนเองเมื่อโตขึ้น

♦ ข้อดีของการนอนแยกห้องให้ลูกนอนในห้องของตัวเอง

◊ ข้อควรระวังในการนอนแยกห้องกับลูก

ให้ลูกนอนบนเตียงนอนของเขาเอง แต่ยังอยู่ในห้องของคุณพ่อคุณแม่

ทั้งนี้มีคุณพ่อคุณแม่หลายบ้านที่ตัดสินใจซื้อเตียงนอนให้ลูก แต่ก็ยังไม่พร้อมที่จะปล่อยให้ลูกนอนในห้องของเขาเอง ก็สามารถให้ลูกนอนในเตียงของเขาได้ แต่ยังอยู่ในห้องของคุณพ่อคุณแม่ หรือาจจะเป็นเตียงเด็กในลักษณะที่ประกบติดข้างเตียงของคุณพ่อคุณแม่ก็ได้ ซึ่งจะทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าลูกได้นอนร่วมเตียงเดียวกัน

♦ ข้อดีของการให้ลูกนอนในห้องของพ่อแม่แต่แยกเตียงนอน

◊ ข้อควรระวัง

♥ อ่านต่อบทความแนะนำที่เกี่ยวข้อง : วิจัยชี้! ลูกน้อยนอนตะแคงดีต่อสมอง

และด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ ทำให้พ่อแม่ยุคใหม่หลาย ๆ ท่านให้ความสำคัญกับการแยกห้องนอนกับลูกมากขึ้น แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี Amarin Baby & Kids จึงมีวิธีฝึกลูกนอนแยกห้อง มาฝากค่ะ

อ่านต่อ >> 5 เทคนิคการฝึกลูกนอนแยกห้อง คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เมื่อเริ่มต้นที่จะแยกห้องนอนกับลูก พ่อแม่ต้องทำใจไว้ก่อนว่าต้องใช้เวลากว่าจะเข้าที่เข้าทาง วิธีการคือ พ่อแม่อาจจะแยกเตียงแต่ไม่แยกห้องก่อนจนเด็กเริ่มปรับตัวได้จึงเปลี่ยนห้อง ห้องที่จะให้เด็กนอนก็ควรมีบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกปลอดภัย เช่น มีไฟทางเดิน หรือ มีตุ๊กตาของเล่นที่เด็กชอบไว้ข้างเตียง เปิดประตูทิ้งไว้ เป็นต้น หรือเวลาที่สะดุ้งตื่นจากฝันร้ายหรือเกิดกลัวความมืดขึ้นมาในตอนกลางดึก เด็กๆ ส่วนใหญ่จะมุ่งตรงสู่ห้องนอนของพ่อแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องลองมาจับเข่าคุยกับลูกแบบเป็นขั้นเป็นตอนดูดีกว่า ดังนี้

1. เลือกคืนที่เหมาะสม

เริ่มต้นจากคืนวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ยืดหยุ่นสำหรับทุกฝ่าย (หนูๆ ไม่ต้องรีบตื่นไปโรงเรียน พ่อแม่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการงาน) บอกลูกตั้งแต่ช่วงกลางวันว่า คืนนี้คุณอยากให้เขานอนในห้องของตัวเอง อธิบายว่า เด็กๆ อายุเท่าเขานอนในห้องของตัวเองกันหมดแล้ว อาจหาวิธีกระตุ้นด้วยการเอาแผ่นป้ายมาแขวนไว้หน้าห้องนอน แล้วติดสติ๊กเกอร์ให้ในคืนที่เขานอนเองได้โดยไม่ต้องวิ่งเข้าห้องพ่อแม่

2. มีตารางที่แน่นอน

ถ้าทุกคืนคุณเริ่มต้นด้วยการพาเขาไปอาบน้ำ ประแป้ง แต่งตัวหอมๆ เอนหลังนอนพร้อมกับอ่านนิทานให้ฟังหนึ่งเรื่อง หลังจากนั้นจึงถึงเวลาปิดไฟนอน ก็ทำให้เป็นกิจวัตร เพราะนั่นจะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและผ่อนคลาย

3. ให้ของดูต่างหน้า

อะไรบางอย่างที่เป็นของประจำตัวของแม่ เช่น หมอน หรือเสื้อตัวนุ่มๆ เขาจะได้อุ่นใจว่าคุณอยู่ใกล้ๆ

4. ยืนกราน

ถ้าลูกบุกเข้ามาในห้องนอนของคุณกลางดึกอีก (ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าเขาจะทำ) พาเขากลับไปนอนอย่างใจเย็น และหากหนูน้อยยังผวาอยู่ ลองยืนอยู่หน้าประตูห้องของเขาสักสองสามนาที แล้วจึงค่อยกลับไปนอน?? ทำใจหน่อย เพราะว่าคุณอาจต้องทำอย่างนี้อีกหลายๆ คืน จนกว่าลูกจะชิน

5. ชื่นชม

ในตอนเช้า หลังจากที่ลูกฝ่าฟันคืนอันแสนเงียบเหงามาได้ด้วยตัวเองแล้ว อย่าลืมชมเชยเขาด้วยล่ะ

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นการ นอนแยกห้อง หรือนอนรวมกันกับลูกน้อย ขอเพียงความพร้อมของแต่ละครอบครัวรวมถึงความสมัครใจของทุกคน การนอนที่ไหนๆก็นอนหลับดี มีความสุข และปลอดภัยได้ทุกครอบครัวนะคะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.babytrick.com