หากอยาก เปลี่ยนชื่อลูก เพียงคุณแม่คนเดียวก็สามารถทำได้ แต่จะต้องไป เปลี่ยนชื่อลูก ที่ไหน และใช้เอกสารอะไรบ้าง? ในการ เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร Amarin Baby & Kids มีคำตอบให้ค่ะ
ครบทุกขั้นตอน “เปลี่ยนชื่อลูก”
ต้องไปที่ไป ใช้เอกสารอะไรบ้าง ดูได้ที่นี่!
ชื่อ คือ สิ่งที่ใช้เรียกแทนตัวเรา เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นเรา และทำให้ผู้อื่นจดจำเราได้ ซึ่งชื่อนั้นก็มีหลายรูปแบบตั้งแต่หนึ่งพยางค์ ไปจนถึงสี่ หรือห้าพยางค์ ส่วนใหญ่มักจะเป็นพ่อและแม่ ที่เป็นผู้ตั้งให้ ในบางคนอาจมีเกจิอาจารย์ หรือญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ตั้ง ซึ่งจะมีความหมายที่ดี มีความเป็นสิริมงคลต่อเจ้าของชื่อ
อีกทั้งยังมีความเชื่อกันว่า ชื่อ ยังมีส่วนช่วยทำให้ดวงชะตาของลูกสามารถดีขึ้นได้บ้าง แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงดวงชะตาของลูกน้อยในแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือได้ แต่หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เตรียมตัวใน การตั้งชื่อลูกมาให้ดีตั้งแต่เริ่ม ก็อาจมีความไม่ค่อยประทับใจในชื่อของลูกเท่าไหร่ หรืออาจมีเหตุเกิดขึ้นกับลูกน้อย (มีคนทักชื่อไม่ดี) เช่น ลูกป่วยบ่อย หรือมีเรื่องราวไม่ดีมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงกับชีวิตลูก
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีความเชื่อในเรื่องนี้ ก็จะทำให้เกิดความคิด อยาก เปลี่ยนชื่อลูก ขึ้นมา โดยหวังว่าจะทำให้เกิดเรื่องราวดีๆ ขึ้นกับชีวิตของลูกน้อยบ้าง ซึ่งแท้จริงการเปลี่ยนชื่อลูก หรือนามสกุล นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรเลย เพียงคุณพ่อคุณแม่เตรียมชื่อดี ชื่อมงคล สำหรับลูกน้อยไว้ และรู้ขั้นตอนหรือหลักในการตั้งชื่อ ตาม พ.ร.บ. การเปลี่ยนชื่อของคนไทย ก็สามารถทำเรื่องพร้อมยืนเอกสารเสร็จได้ภายในครึ่งวันเท่านั้น
⇒ Must read : ตั้งชื่อลูกเพราะๆ ชื่อลูกชาย ชื่อลูกสาว ชื่อจริง ชื่อเล่น ที่เดียวครบ ⇒ Must read :โปรแกรมตั้งชื่อลูก ตั้งชื่อลูกตามวันเกิด ตั้งชื่อลูกเพราะๆ ความหมายดี ⇒ Must read :การตั้งชื่อลูก คิดให้ดีก่อนส่งผลกระทบต่อจิตใจในอนาคต
ว่าแต่ การเปลี่ยนชื่อลูก จะมีวิธีอย่างไร ต้องไปที่ไหน และใช้เอกสารอะไรบ้าง ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบให้ค่ะ
อ่านต่อ “ขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร” คลิกหน้า 2
ข้อควรรู้ ก่อน เปลี่ยนชื่อลูก
จาก พ.ร.บ. การเปลี่ยนชื่อของคนไทยกันก่อน พ.ร.บ.นี้ มีบัญญัติขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2505 ใจความของ พ.ร.บ. กล่าวไว้ว่าสำหรับคนไทยซึ่งมีสัญชาติไทย สามารถมีชื่อตัว นามสกุล และจะมีชื่อรองด้วยก็ได้ ชื่อตัวในที่นี้ ก็คือ ชื่อประจำของตัวบุคคล ชื่อรอง ก็คือ ชื่อประกอบของคน ๆ นั้น ที่ต่อจากชื่อจริง ส่วนชื่อสกุล ก็คือ ชื่อวงศ์ตระกูล นั่นเอง
ทั้งนี้หลักเกณฑ์ข้อห้ามในการเปลี่ยนชื่อ ก็คือ
1. สำหรับชื่อตัวหรือชื่อรอง ต้องไม่เหมือน หรือคล้ายกับพระนามของพระมหากษัตริย์ พระราชินี
และราชทินนาม ของพระองค์ทั้งสอง หรือเชื้อพระวงศ์ ทั้งหมด
2. ต้องไม่หยาบคาย หรือว่ามีความหมายในทางหยาบคาย
3. ไม่ส่อเจตนาไปในด้านที่ทุจริต
4. สำหรับผู้ที่เคยได้รับพระราชทานตำแหน่งต่างๆ และไม่ได้ถูกยกเลิกตำแหน่ง สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อตัว และชื่อรองได้
ขั้นตอน และเอกสารสำหรับ เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร
สำหรับการเปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร ปัจจุบัน หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการ เปลี่ยนชื่อลูก อายุไม่ถึง 20 (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- บัตรประชาชนของตัวคุณพ่อหรือคุณแม่ที่เป็นคนยื่นเรื่อง ซึ่งต้องเป็นใบปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (หากบัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุแล้วและยังไม่ได้ต่อ ก็ต้องแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ทราบก่อน)
- บัตรประชาชนของลูก ซึ่งหากลูกยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน (อายุไม่ถึง 15 ปี) ให้ใช้ สูติบัตร
- ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงไม่ใช่สำเนา) ที่มีชื่อของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่จะเปลี่ยนอยู่ในนั้นด้วยเท่านั้น
⇒ Must read : แม่ควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อ สูติบัตรลูกหาย
เมื่อเตรียมเอกสารเสร็จ เพื่อความรวดเร็ว แนะนำให้คนเดินเรื่องเป็นคุณแม่คนเดียวก็สามารถมีสิทธิ์ที่จะ เปลี่ยนชื่อลูก ได้โดยง่าย แต่ถ้าให้คุณพ่อเป็นผู้ยื่นคำร้อง ต้องนำใบจดทะเบียนสมรสกับคุณแม่ไปยืนยันด้วย โดยสถานที่ยื่นเรื่องขอ เปลี่ยนชื่อลูกน้อย สามารถยื่นได้ ณ สำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่เท่านั้น คือ
- ที่ว่าการอำเภอ
- กิ่งอำเภอ
- สำนักงานเขต
อ่านต่อ “ขั้นตอนง่ายๆ ในการทำเรื่อง เปลี่ยนชื่อลูก” คลิกหน้า 3
ขั้นตอนในการยื่นเรื่อง เปลี่ยนชื่อลูก
เมื่อไปถึงที่สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ ก็ให้คุณแม่ไปขอบัตรคิวและรอ ระหว่างนั้นอาจจะนั่งกรอกเอกสารที่ไปติดต่อขอรับมาก่อน คือ
- แบบ ช. 1 และยื่นให้กับทางนายทะเบียนของอำเภอหรือเขตนั้น
- จากนั้น นายทะเบียนก็จะทำหน้าที่รับคำร้องตามเอกสารที่เรายื่นไป และตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ พ.ร.บ. ที่ได้กล่าวไปในขั้นต้น
- ถ้าทุกอย่างผ่านไม่มีปัญหานายทะเบียนก็จะออกหนังสือสำคัญ เปลี่ยนชื่อลูก ให้
หลังจากที่ได้ใบรับรับรองการเปลี่ยนชื่อแล้ว ก็ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการเปลี่ยนชื่อ เพราะคุณแม่จะต้องนำใบนี้ไปทำการเปลี่ยนชื่อที่ทะเบียนบ้านกับเจ้าหน้าที่ก่อน (ซึ่งก็สามารถทำได้ต่อจากกระบวนการก่อนหน้านี้เลย) และถ้าลูกอายุถึง 15 ปีแล้ว ก็ต้องไปทำบัตรประชาชนใบใหม่ในชื่อใหม่ด้วย *ในขั้นตอนนี้ขอแนะนำว่า วันที่พาลูกจะไปทำเรื่องเปลี่ยนชื่อนั้นอย่าลืมแต่งตัวดี ๆ ไปด้วยเพื่อถ่ายรูปทำบัตรประชาชนใหม่ด้วยนะคะ
โดยเจ้าหน้าที่ จะเปลี่ยนชื่อใหม่ของลูก ให้ในทะเบียนบ้าน (ขีดชื่อเก่าออก เขียนชื่อใหม่แทนลงไป) แต่จะไม่ขีดแก้ไขชื่อลูกในสูติบัตร แล้วจะออกเป็น เอกสารใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อบุคคล (ช.3) หรือ เรียกว่า แบบ ช.3 ให้
ซึ่งในการยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อลูกนี้ จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาท
***ทั้งนี้หลังจาก เปลี่ยนชื่อลูก เรียบร้อยแล้ว การไปติดต่อราชการ หรือทำเอกสารต่างๆ ทุกครั้งที่เกี่ยวข้องกับลูกน้อย (ซึ่งยังไม่มีบัตรประชาชน) จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องถือ (หรือสำเนา) สูติบัตรและเอกสารใบเปลี่ยนชื่อแนบคู่กันไปด้วยทุกครั้ง
ส่วนการเปลี่ยนนามสกุลนั้นก็มีหลักเกณฑ์ที่คล้าย ๆ กัน
คือ ไม่ไปพ้องหรือคล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามพระราชินีและราชทินนามของพระองค์ทั้งสอง และไม่ไปพ้องกับราชทินนาม นอกจากจะเป็นราชทินนามที่ทรงประทานให้ตัวคนยื่นคำร้องขอเปลี่ยนเองหรือของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน ที่สำคัญต้องไม่ซ้ำกับนามสกุลอื่น ๆ ที่มีคนใช้แล้ว ในส่วนนี้สามารถค้นหาจากอินเทอร์เน็ตได้ว่าซ้ำหรือไม่ และไม่ใช่คำหยาบคายหรือเป็นคำที่มีความหมายไปในทางหยาบคาย
การเปลี่ยนนามสกุลที่กำหนดอีกอย่าง ก็คือ ต้องมีความยาวไม่เกิน 10 พยางค์ ห้ามใช้คำนำหน้านามสกุลโดยใช้ตัว ณ ถ้าไม่ใช่ได้รับพระราชทานมา ห้ามไม่ให้ใช้ชื่อพระมหานครและพระปรมาภิไธยมาเป็นนามสกุล ส่วนเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุลนั้นก็ใช้เหมือนกับการยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อทุกอย่าง ขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหลือนั้นก็เช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนชื่อนั่นเอง แต่ค่าดำเนินการหรือค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนนามสกุลนั้น คือ 100 บาท
ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยอื่นๆ ในการเปลี่ยนชื่อ – นาสกุล ให้ลูก หรือเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับฝ่ายทะเบียน ทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เปิดศูนย์ตอบปัญหางานทะเบียนและบัตรเพื่อเป็นช่องทางให้คำปรึกษาปัญหาเหล่านี้ ผ่านทางช่องทาง ดังต่อไปนี้
- Call Center โทร1548 เพื่อรับฟังข้อมูลในระบบอัตโนมัติในหัวข้อที่สนใจ เกี่ยวกับงานทะเบียนและบัตรและติดต่อสอบข้อมูล สอบถามปัญหากับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้โดยตรง หรือ
- ทางเว็บไซต์ของของศูนย์ฯ ที่ http://stat.bora.dopa.go.th/callcenter1548/index.php หรือ คลิกดูรายเอียดฝ่ายทะเบียน ที่ http://203.155.220.230/m.info/bmaservice/bmaservice_02.html
- อีเมล์ m03094300@bora.dopa.go.th
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- ไม่จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นของใคร ถ้าพ่อแม่เลิกกัน?
- สิทธิการเลี้ยงดูบุตร เมื่อไม่ได้จดทะเบียน
- เอกสารแจ้งเกิด เพื่อเตรียมทำสูติบัตรให้ลูกน้อย
- สำเนาถูกต้อง เซ็นยังไงไม่ให้ถูกโกง?
ขอบคุณข้อมูลจาก : moneyhub.in.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่