อาการลูกติดแม่ มากไปแก้ไขอย่างไรดี? - amarinbabyandkids
อาการลูกติดแม่

อาการลูกติดแม่ มากไปแก้ไขอย่างไรดี?

Alternative Textaccount_circle
event
อาการลูกติดแม่
อาการลูกติดแม่

5 วิธีช่วยแก้ไขปัญหาอาการลูกติดแม่

1. บอกลาเสมอ

เป็นวิธีแรกๆ ที่อยากให้คุณแม่ลองกันค่ะ ทุกครั้งที่จะต้องออกนอกบ้าน ไม่ว่าจะไปแค่หน้าปากซอย หรือไปทำงานนอกบ้าน ให้คุณแม่กอดลูก หอมลูก แล้วบอกเขาว่าคุณกำลังจะไปไหน แล้วจะกลับมาตอนกี่โมง เมื่อบอกลูกแล้วก็ขอให้กลับบ้านมาตรงเวลาที่บอกไว้กับลูกด้วย เพื่อที่เขาจะได้ไม่รอคอยจนคิดไปว่าแม่ไม่กลับมาตามสัญญา แล้วตอนที่บอกลาลูกอย่าใช้เวลามาก เพราะยิ่งจะทำให้ลูกขวัญเสีย ที่สำคัญไม่ควรออกจากบ้านไปโดยที่ไม่บอกให้ลูกรู้ เพราะเขาจะคิดได้ว่าแม่ทิ้งเขาไป ไม่รักเขา ไม่ให้ความสำคัญกับเขาได้ค่ะ

2. สร้างความมั่นใจให้ลูก

หากลูกของคุณแม่ไม่ชอบ หรือไม่ค่อยยอมที่จะให้ใครในบ้านอุ้ม หรือแม้กระทั่งสามีของคุณเอง ก็เป็นหน้าที่ของคุณแม่ที่จะต้อสร้างความมั่นใจให้กับลูก โดยขณะที่ลูกต้องอยู่กับคนอื่นในบ้าน แล้วคุณแม่เองต้องไปทำกับข้าวในครัว หรือเขาห้องน้ำ ฯลฯ ขอให้ส่งเสียงให้ลูกได้ยินว่าคุณแม่อยู่ตรงไหนของบ้าน เพื่อให้เขามั่นใจ อุ่นใจว่ามีแม่อยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา

3. ลดการอุ้มลูกตลอด

คุณแม่ต้องใจแข็งที่จะไม่อุ้มลูกให้ติดอยู่กับตัวของคุณแม่ตลอดเวลา ลองหากิจกรรมอื่นๆ ทำกับลูกบ้าง เช่นชวนกันเล่นของเล่นที่ห้องนั่งเล่น และปล่อยให้ลูกเล่นของเล่นไป โดยที่คุณแม่แค่นั่งอยู่ใกล้ๆ ก็พอ เพื่อที่ลูกจะได้เริ่มเล่น เริ่มทำอะไรเองด้วยตัวของเขาเองบ้าง

4. มีพี่เลี้ยงช่วย

หากคุณแม่โชคดีในการมีพี่เลี้ยงที่รู้ใจคุณไปหมดทุกอย่าง และทำให้คุณมั่นใจในตัวพี่เลี้ยงแล้วว่าเขาจะสามารถช่วยคุณเลี้ยงลูกได้ ก็ควรที่จะให้พี่เลี้ยงเข้ามามีบทบาทในการช่วยเลี้ยงลูกด้วย  เพื่อที่คุณจะได้มีเวลาทำธุระส่วนตัวบ้าง  ลองให้ลูกได้เล่น หรืออยู่กับพี่เลี้ยง โดยช่วงแรกอาจมีคุณแม่อยู่ด้วยใกล้ๆ และพอลูกเริ่มคุ้นเคยกับพี่เลี้ยงแล้ว คุณแม่ลองค่อยๆ ถอยห่างออกมา แล้วลูกอยู่กับพี่เลี้ยงตามลำพังดูบ้าง แต่ถ้ากลัวว่าลูกจะติดพี่เลี้ยงมากเกินไป แนะนำให้ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงลูกกับพี่เลี้ยง เช่น ช่วงกลางวันที่คุณแม่ต้องออกไปทำงาน ก็ให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยง แต่ช่วงกลางคืนกับวันหยุดขอให้เป็นช่วงเวลาของคุณกับลูกค่ะ

5. เพิ่มกิจกรรมทางสังคมให้ลูก

วิธีนี้ใช้กับลูกที่อยู่ในวัยที่โตขึ้นมาอีกนิด พอที่จะรู้เรื่องและเล่นกับคนอื่นๆได้บ้างแล้ว คุณแม่ควรพาลูกออกไปเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันบ้าง ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้พัฒนาทักษะทางสังคมที่จำเป็นในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบ้าง นอกจากจะมีแต่คุณแม่ หรือคนในครอบครัวเท่านั้น

 

ลูกติดแม่ ส่วนหนึ่งอาจมาจากตัวคุณแม่เองที่เลี้ยงลูกแบบประคบประหงมมากไป การเลี้ยงลูกในลักษณะนี้อาจทำให้ลูกไม่กล้าที่จะทำอะไร หรืออยู่ด้วยตัวเองคนเดียวได้ เพราะเคยชินที่มีคุณแม่อยู่ใกล้ๆ อยู่ตลอดเวลา อาจทำให้ลูกขาดความมั่นใจที่จะทำอะไรด้วยตนเองเพียงลำพัง ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ก็อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตเมื่อลูกเติบโตขึ้นในอนาคตข้างหน้าได้ค่ะ

 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ใช้จิตวิทยาในการเลี้ยงเด็กดื้อ เอาใจตัวเอง
ลูกเอาแต่ใจตัวเอง รับมืออย่างไรดี?
วิธีลงโทษลูกเมื่อลูกทำผิด โดยไม่ต้องตี หรือดุด่า

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
www.breastfeedingthai.com

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up