เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด !? เพราะการเลี้ยงลูก เล่นกับลูก ก็ทำให้ลูกฉลาดได้ โดยเฉพาะเมื่อลูกได้เล่นหรือได้รับความรักและการเลี้ยงดูจาก “พ่อ”
แนะ!! 8 วิธีเพื่อพ่อ เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด
เนื่องจากมีผลวิจัยและการศึกษามากมายยืนยันว่า “พ่อ” ที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยมาก ในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านความคิดของลูก
เพราะเด็กที่มีคุณพ่อเข้ามาช่วยคุณแม่ดูแล หรือคอยเลี้ยงดูตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เขามีพัฒนาการที่ดีในการเรียนรู้ที่ดี และมักประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ยิ่งถ้าคุณพ่อเข้ามาช่วยคุณแม่ดูแลได้เร็วเท่าไหร่ อาจมาพูดคุยหรือเล่นกับลูกตั้งแต่ยังอยู่ในท้องเลยก็ได้ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างพ่อกับลูก ก็จะยิ่งเป็นไปได้ด้วยดีเท่านั้น
Must read : 10 วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น ต้องเล่นกับลูกในท้อง
โดยผลงานวิจัยที่ว่านี้มาจาก Imperial College London King’s College London ซึ่งได้ร่วมมือกับนักวิจัยของ Oxford University เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกน้อยวัย 3 เดือน และจากการศึกษาก็พบว่า… การมีส่วนร่วมของคุณพ่อในการเลี้ยงดูลูก และเล่นกับลูก ช่วยให้ลูกฉลาดขึ้นได้ เมื่อลูกมีอายุ 2 ขวบ!
ซึ่งนักวิจัยได้ทำการทดสอบ โดยสังเกตจากพฤติกรรมของเด็ก ในระหว่างที่อ่านหนังสือ แล้วนำเกณฑ์เรื่องสี และรูปร่าง มาใช้ในการวัดประเมินพัฒนาการของสมอง เรียกเครื่องมือนี้ว่า Bayley mental development index และผลงานวิจัยยังระบุอีกว่า “หากคุณพ่อมีความใจเย็น และความอ่อนโยนต่อลูกมากเท่าไหร่ พัฒนาการด้านสมองของลูกน้อยก็จะยิ่งดีขึ้นมากเท่านั้น!!!”
ข้อมูลอ้างอิงจาก : Thebump
จะลูกสาว หรือลูกชายก็ต้องการพ่อเหมือนกัน
ทั้งนี้ในการเลี้ยงหรือ เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด สำหรับลูกชายแล้ว พ่อเป็นต้นแบบของความเป็นพ่อ และความเป็นผู้ชายที่ดี สิ่งเหล่านี้ จะซึมซับในใจของลูก และเป็นต้นแบบให้กับเขาต่อไป ส่วนลูกสาว ถึงจะมีแม่เป็นต้นแบบหลัก แต่ก็ได้ลักษณะที่ดีจากพ่อด้วย คือ ลูกสาวจะได้เรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ที่ไว้ใจกับคนต่างเพศ ผ่านความสัมพันธ์กับพ่อ พี่ชาย และน้องชายเป็นด่านแรก ถ้าสิ่งเหล่านี้ดี เด็กก็จะกล้ามีปฏิสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ การเป็นพ่อที่ดี ลูกสาวจะใช้เป็นเกณฑ์เลือกคู่ครองในอนาคตด้วย
ซึ่งหากคุณพ่อไม่รู้ และสงสัยว่า ควรจะเลี้ยง หรือ เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด ให้ลูกมีพัฒนาการทางด้านสมอง ร่างกาย และจิตใจที่ดีได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
เล่นกับลูกอย่างไรถึงจะดี เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด !?
วิธีที่ดีที่สุดที่จะพัฒนาเซลล์ประสาทในสมองของลูก คือการให้ในสิ่งที่ลูกต้องการในแต่ละช่วงอายุ ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่จิตใจที่อ่อนโยนของคุณพ่อ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อบอุ่นและปลอดภัย การเลี้ยงดูหรือเล่นกับลูกที่ใส่ใจ โดยคุณพ่อสามารถทำได้ ดังนี้
1. ช่วยอาบน้ำ ป้อนนม อุ้มเรอ เปลี่ยนผ้าอ้อม
ในช่วงแรกเกิด สิ่งที่คุณพ่อสามารถช่วยคุณแม่เลี้ยงลูก หรือทำแทนคุณแม่ได้ เช่น พาลูกอาบน้ำพร้อมเล่นพูดคุยขณะอาบน้ำให้ลูก การป้อนนมขากขวดโดยให้กอดลูกไว้แนบอก พร้อมส่งยิ้มหวานเสมือนเป็นแม่ หรือจะขออุ้มลูกเรอ หลังคุณแม่ให้นมอิ่ม พาลูกเดินพร้อมลูบหลังไปเพลินๆ ก็ได้ รวมไปถึงการช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อม อีกหนึ่งความสัมพันธ์ดีๆ ที่มีแค่พ่อกับลูกเท่านั้น พร้อมพิสูจน์ว่าแม้อึอึ๊ลูกจะเหม็น แต่พ่อก็รัก พ่อก็ทนได้ การกระทำต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ลูกคุ้นเคยและรู้จักคุณพ่อมากขึ้นนั่นเอง
อ่าน >> “วิธีเล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด” คลิกหน้า 2
เล่นกับลูกอย่างไรถึงจะดี เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด (ต่อ)
2. จ๊ะเอ๋ / ซ่อนหา
สำหรับลูกวัยทารก การเล่นจ๊ะเอ๋ หรือเล่นซ่อนหา ถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น และสนุกสนานสำหรับพวกเขามาก เพราะ “อยู่ดีๆ หน้าของพ่อหายไปต่อหน้าต่อตา ราวกับว่ามีเวทมนตร์เสกใบหน้าให้หายไป” ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าทึ่งไม่น้อย นอกจากนั้นแล้วการกลับมาของใบหน้าพ่อ ก็ทำให้ลูกโล่งใจที่การแยกจากพ่อที่เขาคุ้นเคยสิ้นสุดลงเสียที
การเล่นจ๊ะเอ๋ในเด็กเล็ก จึงเป็นการจำลองสถานการณ์แยกจากเพียงชั่วเสี้ยววินาทีในชีวิตของพวกเขา การเล่นได้แปรเปลี่ยน “ความวิตกกังวล (Anxiety) ในเด็กให้กลายเป็นความสนุกสาน และการวางใจในสภาพแวดล้อมมากขึ้น”
เด็กๆ ที่พ่อเล่นจ๊ะเอ๋ด้วยจึงมีแนวโน้มปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้ดีขึ้น และเมื่อเล่นจ๊ะเอ๋กับเด็กเรื่อยๆ เด็กจะค่อยๆ พัฒนาการรับรู้ว่า วัตถุนั้นมีอยู่ถาวร (Object permanence) แม้ว่าเขาจะไม่เห็นสิ่งนั้น แต่วัตถุยังคงมีอยู่
นอกจากนี้ Dr. Anddyman ผู้ทำวิจัยเกี่ยวกับการหัวเราะของเด็กทารก (The Baby Laughter project) ได้กล่าวไว้ว่า “การเล่นจ๊ะเอ๋ ถือได้ว่าเป็นบทสนทนาครั้งแรกๆ ระหว่างตัวเด็กกับพ่อแม่ เพราะเราไม่สามารถอดใจไม่ให้ยิ้มและหัวเราะ เมื่อเด็กเริ่มหัวเราะกับเรา ซึ่งการตอบสนองแบบนี้เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับเด็กในการพัฒนาความสามารถในการโต้ตอบกับคนอื่น ๆ ความจริงแล้วรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอาจเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญสำหรับทารกก่อนที่พวกเขาจะพัฒนาภาษา”
อ้างอิงข้อมูลจากเพจ ตามใจนักจิตวิทยา
3. อ่านเล่านิทาน
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการอ่านนิทานกับลูกให้ฟังก่อนนอนซึ่งถือเป็นเวลาคุณภาพ (Quality Time) คือช่วง 20.30 น. ไม่เกิน 21.00 น. ใช้เวลาเพียงแค่ 30 นาที หากเทียบกับกิจกรรมอื่น ๆ ถือว่าใช้เวลาน้อยมาก ซึ่งถ้าคุณพ่อสามารถทำได้ติดต่อกันทุกวันเป็นระยะเวลา 3 ปี จะเกิดประโยชน์มากมาย ทำให้ลูกมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว เฉลียวฉลาด รักการอ่าน เป็นเด็กดี เชื่อฟัง ที่สำคัญเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของสมองส่วนหน้า และเป็นเหมือนข้อบังคับของบ้านว่า ไม่ว่าพ่อหรือแม่จะทำงานหรือมีกิจกรรมอะไร อย่างน้อยในหนึ่งวันจะต้องส่งลูกเข้านอนและมีเวลาคุณภาพร่วมกัน
Must read : ฝึกลูกนอน (เร็วและเป็นเวลา) จำเป็นไหม? พร้อมวิธีฝึกลูกให้หลับเร็ว
Must read : รวม นิทานหมอประเสริฐแนะนำ พ่อแม่อ่านให้ฟัง เสริมพัฒนาการลูกทุกวัย
Must read : เหตุผลที่ควรเล่านิทานและเทคนิคการเล่านิทานให้ลูกน้อยเพลิดเพลินและมีความสุข
4. เล่นบทบาทสมมุติ
หนึ่งในวิธี เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด ที่คุณพ่อไม่ควรพลาด เพราะการเล่นบทบาทสมมุติ เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้จินตนาการอันบรรเจิด ได้ใช้สมองทางด้านอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งนำไปสู่ประโยชน์มากมายในการกระตุ้นและส่งเสริมศักยภาพทางสมองอย่างรอบด้าน หากคุณพ่อไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน ก็ให้คิดตอนเมื่อตัวเองยังเด็ก หรือคิดพล็อตเรื่องจากละคร นิทาน โดยมีโครงเรื่องเป็นไกด์ให้ลูก จากนั้นก็เล่นเป็นเพื่อนไหลลื่นเล่นไปตามน้ำ ตามที่ลูกต้องการ ช่วยกระตุ้นความคิดของลูก รวมไปถึงคุณพ่อสามารถสอดแทรกคำศัพท์ให้ลูกได้ด้วย ทำให้ลูกมีคำคลังได้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งถ้ามีท่าทางประกอบจะยิ่งทำให้เด็กเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาได้ดียิ่งขึ้น
Must read : “เล่นสมมติ” ดีต่อลูกเล็กครบทั้งกาย ใจ สมอง แถมสนุกไม่ธรรมดา!
5. เครื่องปีนป่าย
หากคุณพ่อสงสัยว่าจะ เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด นี่ก็เป็นอีกหนึ่งการเล่นง่ายๆ กับลูกที่คุณพ่อสามารถทำได้ ด้วยร่างกายที่แข็งแรงของผู้ชายที่ได้เป็นพ่อคน ถูกสร้างมาเพื่อสิ่งนี้ สำหรับลูกน้อยวัย 1-2 ขวบ เป็นวัยที่เข้ากำลังอยากลอง อยากเล่น เป็นที่สุดเพราะเขาเริ่มเดินได้ ซึ่งเมื่อลูกพยายามปีนป่ายขึ้นไปบนตัวพ่อ พวกเขาจะได้เรียนรู้การทรงตัว และการควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆให้สอดคล้องกันไปได้พร้อมๆ กัน คุณพ่อจึงควรเตรียมร่างกายตัวเองให้พร้อมเป็นเครื่องปีนป่ายให้ลูกเล่น โดยควรให้เวลาลูกได้เล่นกับคุณพ่อบ้าง อาจใช้เวลาเพียง 5 – 10 นาที ก่อนลูกเข้านอน แต่ใช้อย่างคุ้มค่า ก็กลายเป็นเวลาคุณภาพเพื่อพัฒนาสมองลูกต่อไปได้
6. เล่นดนตรี / ร้องเพลง
เพราะการร้องเพลงหรือเล่นดนตรี เสียงและการกระทำเหล่านั้นจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองมากกว่า 10 ส่วนทั่วไปหมด ทั้งสมองส่วนบน ส่วนล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ให้สมองของลูกกระตุ้นจินตนาการและความคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ วิทยาศาสตร์และภาษาซึ่งดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ ฟังสบายๆ มีจังหวะท่วงทำนองและความกลมกลืนของเสียงที่เหมาะสมจะทำให้สมองของลูกพัฒนา ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะลูกน้อยที่อยู่ในวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ เกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์ สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้มีความสามารถที่จะจดจำสิ่งต่างๆ ที่พ่อแม่สอนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหากคุณพ่อบ้านไหนถนัดด้านใดด้านหนึ่งก็ควรเข้าไปมีส่วนร่วมกับลูกด้วย เช่นคุณแม่ร้องเพลง คุณพ่อก็สามารถชวนลูกตีกลอง เคาะโต๊ะ หรือเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ไปพร้อมกัน ก็จะช่วยสานสัมพันธ์ทั้งพ่อแม่ลูกได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
7. ออกกำลังกาย / เล่นกีฬา
อีกหนึ่งความถนัดของคุณผู้ชายหลายๆคน ที่เมื่อกลายเป็นพ่อแล้วการมีสกิลนี้ติดตัวมาก็สามารถใช้กับลูก เพราะการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน ลดความตึงเครียด กระตุ้นเซลล์ให้ทำงานอย่างยืดหยุ่นและสมดุล เพราะการให้สมองทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน คร่ำเคร่งกับการเรียนตลอดเวลาจะทำให้สมองเหนื่อยล้า และยากที่จะรับสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจจะไม่ได้ทำให้ลูกฉลาดขึ้นได้โดยตรง แต่ก็ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยิ่งถ้าคุณพ่อ รวมถึงคุณแม่พาลูกออกกำลังกาย เล่นกีฬาด้วยกัน ความสัมพันธ์ในครอบครัวยิ่งแน่นแฟ้น เด็กก็จะแข็งแรงทั้งกายและใจแน่นอน
8. “รักนะ (ต้อง) แสดงออกด้วย”
เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด ข้อสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยไหนลูกก็ยังอยากให้พ่อแม่โอบกอด บอกรัก หรือสัมผัสที่ช่วยให้เกิดความใกล้ชิดผูกผันโดยเฉพาะลูกวัยทารก พอเข้าสู่วัยเด็กเล็ก คุณพ่อควรเป็นคนช่วยเปิดโลกกว้างให้ลูก เช่น พาออกไปเดินเล่นนอกบ้าน และชี้ชวนให้ลูกรู้จักสิ่งต่างๆ เมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียน ควรพาออกไปเรียนรู้ประสบการณ์ที่ดีที่คุณพ่อเคยสัมผัส เพื่อความทรงจำที่ดีไปจนโต และถ้าลูกเข้าสู่วัยรุ่น เป็นวัยที่ลูกเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น คุณพ่อควรฝึกถามความเห็น แต่ไม่ควรทิ้งการโอบกอด สัมผัส ลูบศีรษะ เพราะจะช่วยให้ลูกรู้สึกผูกพันไม่เสื่อมคลาย
Must read : เลี้ยงลูกให้ “อัจฉริยะ” ด้วยความรักจากพ่อแม่
สุดท้ายไม่ว่าคุณพ่อหรือคุณแม่จะทำอะไร ดูแล สอนลูกอย่างไร หรือ เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด ก็ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ควรรู้ คือ คุณพ่อต้องทำสิ่งเหล่านั้นกับลูกอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ เพราะการเลี้ยงดูด้วยความรัก มอบความสุข หรือการเล่นกับลูกบ่อยๆ ลูกของเราก็จะโตขึ้นเป็นเด็กที่อารมณ์ดี ฉลาดกว่า และมีพัฒนาการในทุกๆ ด้านที่ดีกว่าเด็กทั่วๆ ไปได้นั่นเองค่ะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- 10 กิจกรรมเล่นกับลูก เสริมสร้าง พัฒนาการทารกแรกเกิด
- กิจกรรมเล่นกับลูก 7 อย่างต้องห้าม เสี่ยงกระทบสมอง อันตรายถึงชีวิต
- กิจกรรมการเล่นสร้างความสัมพันธ์กับลูกตอนอยู่ในรถ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่