AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

วิธีคำนวณ ส่วนสูงเด็ก ทำได้ด้วย 2 วิธี

Credit Photo : Shutterstock

วิธีคำนวณ ส่วนสูงเด็ก เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่พ่อแม่อยากรู้กันมากว่า ลูกๆ ของตัวเองนั้นจะสูงเท่าไหร่กันนะ!? เพราะเราใน ฐานะพ่อแม่ก็คงไม่อยากให้ลูกๆ เติบโตขึ้นไม่สูงสมส่วนได้มาตรฐานกันจริงไหมคะ เอาเป็นเราลองไปคำนวณส่วนสูงเด็กกันค่ะ ซึ่งทีม Amarin Baby & Kids มีวิธีคำนวณอย่างง่ายๆ มาฝากกันค่ะ

 

วิธีคำนวณ ส่วนสูงเด็ก

ก่อนที่จะทราบกันว่าลูกๆ ของเรานั้นจะสูงกันเท่าไหร่ด้วย วิธีคำนวณ ส่วนสูงเด็ก ที่สามารถหาค่าเฉลี่ยส่วนสูงกันได้ด้วย 2 วิธี เราจะไปดูกันก่อนว่าส่วนสูงของเด็กๆ นั้นต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้างค่ะ…

  1. กรรมพันธุ์ หากพ่อแม่มีสัดส่วนความสูงที่ไม่มาตรฐาน คือ ผู้ชายหากสูงไม่ถึง 168-180 เซนติเมตรถือว่าเตี้ย และ ผู้หญิงหากสูงไม่ถึง 156-160 เซนติเมตร ถือว่าเตี้ย
  2. การเจ็บป่วย พ่อแม่สูงได้มาตรฐาน แต่เมื่อลูกคลอดออกมาและมีการเจริญเติบโตทางร่างกายที่สูงไม่สมส่วนไม่ได้ มาตรฐานตามวัย ส่วนหนึ่งอาจมาจากการเจ็บป่วยที่มาจากฮอร์โมนบางตัว ที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการการเติบโตของร่างกาย
  3. นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ในเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งเติบโตขึ้นตามวัย การนอนหลับพักผ่อนในช่วงกลางคืน ควรนอนให้ได้ 10 ชั่วโมงขึ้นไป โดยที่ชั่วโมงการนอนกลางคืน และกลางวันจะลดลงตามวัยที่โตขึ้นของเด็กเองอัตโนมัติ ที่จะเหลือประมาณ 8-10 ชั่วโมง ถือเป็นมาตรฐานตามปกติเหมือนกับในผู้ใหญ่ แต่หากลูกนอนดึกมาก คือเข้านอนหลัง 3 ทุ่มขึ้นไป จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต เนื่องจากการนอนหลับสนิทดีตั้งแต่หัวค่ำเป็นต้นไป ร่างกายจะผลิตโกรทฮอร์โม(Growth hormones) ที่มีคุณภาพออกมาได้ดี ซึ่งโกรทฮอร์โมนคือฮอร์แห่งการเจริญวัย
  4. อาหารที่ไม่เหมาะสม อาหารคือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญมาก ซึ่งเด็กควรได้รับอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และเหมาะสมตามช่วงวัย อาหารที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ดี คือ อาหารประเภทโปรตีน แคลเซียม ซึ่งควรได้รับอย่างเหมาะสมและได้รับอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการการเจริญเติบโตเป็นไปตามมาตรฐานสมวัย
  5. การออกกำลังกาย มีส่วนสำคัญไม่น้อยที่จะช่วยลูกมีพัฒนาการร่างกายเติบโตขึ้นอย่างสมวัยได้มาตรฐาน
บทความแนะนำ คลิก >> 3 เทคนิค เพิ่มความสูงให้ลูก

เห็นไหมคะว่า ความสูงของลูกต้องขึ้นอยู่กับหลายๆ องค์ประกอบด้วยกัน คือจะรอแค่ให้ลูกมีส่วนสูงเป็นไปตามวัยอย่างเดียวก็คงไม่ได้แล้วในปัจจุบันนี้ ดังนั้นจะดีมากหากพ่อแม่ช่วยกันกระตุ้น และส่งเสริมให้ลูกมีความสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือจะสูงกว่ามาตรฐานก็ย่อมเป็นเรื่องที่ดีต่อตัวของลูกๆ ทั้งนั้นค่ะ

อ่านต่อ 2 วิธีคำนวณส่นสูงให้ลูก หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

2 วิธีคำนวณ ส่วนสูงเด็ก 

การคำนวณว่าลูกจะเติบโตขึ้นแล้วมีความสูงเฉลี่ยเท่าไหร่นั้น ผู้เขียนขออนุญาตนำวิธีคำนวณส่วนสูงจากศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ลองคำนวณความสูงลูกด้วยตนเองอย่างง่าย ดังนี้ค่ะ…

  1. การคำนวณความสูงสุดท้ายจากความสูงของพ่อแม่ (Midparental Height และ Target Height)เป็นความสูงตามศักยภาพทางพันธุกรรม

เด็กผู้ชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) ÷ 2

ยกตัวอย่างเช่น

ส่วนสูงพ่อ = 175 ซม. ส่วนสูงแม่ = 152 ซม.

175 + 152 = 327 ซม.

นำผลลัพธ์ไปบวก 13 จะได้ 327 + 13 = 340

นำผลลัพธ์หารด้วย 2 จะได้ 340/2 = 170

170 เซนติเมตร คือความสูงโดยประมาณของลูกชายในอนาคต

 

บทความแนะนำ คลิก >> ลูกเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน จากการนอนดึก จริงหรือ ?

 

เด็กผู้หญิง = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) ÷ 2

ยกตัวอย่างเช่น

ส่วนสูงพ่อ = 175 ซม. ส่วนสูงแม่ = 152 ซม.

175 + 152 = 327

นำผลลัพธ์ไปลบ 13 จะได้ 327 – 13 = 314

นำผลลัพธ์หารด้วย 2 จะได้ 314/2 = 157
157 เซนติเมตร คือความสูงโดยประมาณของลูกสาวในอนาคต[1]

เคล็ดลับช่วยเพิ่มความสูงให้ลูก หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

  1. การคำนวณความสูงสุดท้ายจากภาพถ่ายเอ็กซเรย์อายุกระดูก (Bone Age) (Predicted Adult Height) ซึ่งจะสามารถรู้อายุกระดูกได้จากการเอ็กซเรย์มือซ้าย ตั้งแต่ข้อมือถึงปลายนิ้ว โดยเปรียบเทียบการเจริญของกระดูกทุกชิ้นกับภาพถ่ายเอ็กซเรย์อายุกระดูกมาตรฐาน ซึ่งอายุกระดูกจะบอกได้ว่า เด็กแต่ละคนสามารถเจริญเติบโตได้อีกมากน้อยเพียงใด และโดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะติดตามพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กโดยใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตตามเพศและเชื้อชาติ ซึ่งมีทั้งกราฟความสูงและน้ำหนักเมื่อเทียบกับอายุ พ่อแม่สามารถนำน้ำหนักส่วนสูงมาลองจุดเทียบกับค่าปกตินี้ได้[2]

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กหญิงและเด็กชาย

Credit Photo : โรงพยาบาลกรุงเทพ

**ตารางเพิ่มเติมกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลก คลิก! 

เคล็ดลับช่วยเพิ่มความสูงให้ลูก

นอกจากการคำนวณส่วนลูกแบบคร่าวๆ ที่พ่อแม่อาจรู้ได้ล่วงหน้าว่าลูกๆ ของเรานั้นจะมีมาตรฐานความสูงอยู่เท่าไหร่ในเบื้องต้น แต่สิ่งสำคัญคือการดูแลพัฒนาการการเจริญเติบโตให้เด็กๆ ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะในเรื่องต่างเหล่านี้ เพื่อที่ลูกจะได้สูงสมวัยได้มาตรฐานหญิง ชายไทยเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นมากันค่ะ

ฮอร์โมน

ที่ว่านี้คือโกรทฮอร์โมน ที่ต้องมาจากการได้นอนหลับพักผ่อนเต็มที่ โดยเฉพาะช่วงการนอนกลางคืนที่พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกได้นอนตั้งแต่หัวค่ำ คือ เข้านอนก่อน 4 ทุ่ม และนอนหลับสนิทยาวถึง 8 โมงเช้า ถือเป็นการนอนอย่างมีคุณภาพที่สุด ซึ่งชั่วโมงการตื่นขึ้นอยู่กับว่าเด็กเข้านอนตอนกี่โมง หากนอนเร็วนอนหลับสนิทดี ก็จะทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ดีมีประสิทธิภาพ รับรองว่าลูกมีพัฒนาการร่างกายที่เติบโตสมวัย

โภชนาการ

อยากให้ลูกสูง พ่อแม่ก็ต้องบำรุงร่างกายของเด็กๆ ด้วยโภชนาการอาหารการกินที่ครบ 5 หมู่ และเพิ่มเติมในส่วนของอาหารประเภทแคลเซียม ที่ได้จากการดื่มนมอย่างสม่ำเสมอ กินพืชผักที่อุดมด้วยแคลเซียม ก็จะช่วยให้ลูกเติบโตสูงสมวัยได้มาตรฐานอย่างแน่นอนค่ะ

การออกกำลังกาย

การส่งเสริมให้ลูกได้เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายเป็นประจำมาตั้งแต่ที่ลูกยังเล็กๆ รู้ไหมว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้เด็กๆ เติบโตมีความสูงที่ได้มาตรฐาน คุณพ่อคุณแม่ลองให้ลูกๆ ที่บ้านได้เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยของพวกเขา เช่น ว่ายน้ำ บาสเกตบอล เทนนิส กระโดดไกล ฯลฯ รับรองว่าลูกจะไม่เตี้ยอย่างแน่นอนค่ะ

การสร้างลูกให้มีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมวัย ต้องเริ่มมาจากการที่แม่ดูแลเรื่องโภชนาการอาหารการกินให้ลูกมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จากนั้นเมื่อลูกคลอดมาแล้วจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่องที่เริ่มจากน้ำนมแม่ และจากนั้นจึงค่อยเสริมคุณค่าสารอาหาร 5 หมู่ให้เหมาะสมตามวัยของลูก แต่เพิ่มเติมคือให้มีปริมาณสัดส่วนของอาหารประเภทโปรตีน แคลเซียมให้ลูกด้วย แน่นอนว่าหากดูแลทั้งโภชนาการ และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูก รับรองว่าลูกๆ ต้องสูงสมวัยได้มาตรฐานค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

 อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

“ส่วนสูง” เรื่องกวนใจสำหรับลูก
ใส่ใจกับโภชนาการของลูกวัยอนุบาล


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1,2ศูนย์กุมารเวชกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ