กรมวิทย์ฯ เผยผลการทดสอบประสิทธิภาพของ หน้ากากผ้า พบว่า ผ้ามัสลิน มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ทำหน้ากากผ้ามากกว่าผ้าชนิดอื่น!
ทดสอบแล้ว! หน้ากากจาก ผ้ามัสลิน
ป้องกันโควิด-19 ได้ดีสุด!
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรค COVID-19 ทำให้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ใช้ใส่เพื่อป้องกันเชื้อโรค ขาดแคลนและมีราคาสูง อีกทั้งยังมีข่าวกรณีความสับสนถึงหน้ากากผ้าที่ไม่เหมาะกับการใช้ป้องกันโรคว่า คนทั่วไปสุขภาพปกติไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยในพื้นที่ปกติ แต่สิ่งที่ควรทำคือลดการสัมผัสต่างๆ ซึ่งความเป็นจริงทำได้ยากที่จะไม่หยิบจับอะไร ดังนั้น ต้องล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และสิ่งที่จะช่วยได้มาก คือ การสวมหน้ากากผ้าเมื่อเข้าสถานที่คนจำนวนมากหรือแออัด
ซึ่งกรมอนามัยได้วิเคราะห์สถานการณ์ทบทวนเอกสารต่างๆ พบข้อมูลยืนยันแล้วว่า “หน้ากากผ้า” เป็นทางเลือกของคนไม่ป่วยที่จะช่วยสังคมไทยให้ผ่านวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 ไปได้ ซึ่งหน้ากากที่มีคุณสมบัติดี คือ ผ้าฝ้าย ผ้ามัสลิน และผ้าสาลู ที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนรู้จักดี เพราะเป็นผ้าที่นำมาใช้ทำผ้าอ้อมสำหรับเด็ก หาซื้อได้ทั่วไป ซึ่งสามารถนำมาผลิตหน้ากากผ้าได้ เพราะตัวผ้ามีช่องว่างระหว่างเส้นด้ายขนาดเล็ก ยิ่งซักยิ่งเล็ก
Must read >> รีวิว ผ้าอ้อมสาลู ผ้าฝ้าย และผ้าสำลี เลือกแบบไหนให้ลูกดี!
โดยเรื่องการใช้หน้ากากผ้า มาเป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ไม่ป่วยและมีความเสี่ยงต่ำกว่าบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสามารถทำเองได้ ทำให้หลายหน่วยงานในภาครัฐสนับสนุนให้ประชาชนตัดเย็บหน้ากากผ้าขึ้นใช้เอง ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ทำการศึกษาชนิดของผ้าต่างๆ ที่น่าจะมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ โดยการทดสอบ 4 หลัก ดังนี้
- ทดสอบโดยการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อศึกษาเส้นใยผ้าในการกันอนุภาค
- ทดสอบประสิทธิภาพการซึมผ่านของละอองน้ำ ละอองฝอย
- ทดสอบการเป็นขุยด้วยวิธีการซักหลาย ๆ ครั้ง 50-100 ครั้ง
- ทดสอบโดยใช้ผ้าที่มีราคาถูก หาซื้อได้ตามท้องตลาด สามารถทำกันได้ในชุมชน
โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบผ้าหลายรูปแบบ เช่น ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าฝ้ายมัสลิน ผ้าสาลู ผ้านาโน และผ้ายืด ผลการทดสอบพบว่า…
1. การป้องกันอนุภาคขนาดเล็กโดยมีผ้า 3 ชนิดคือ ผ้าฝ้ายดิบ ผ้ามัสลิน และผ้านาโน เมื่อนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ เส้นใยผ้าสามารถกันอนุภาคได้ได้ดีพอสมควรแต่ดีที่สุดคือผ้าฝ้ายมัสลิน และ ผ้านาโน และพบว่า ยิ่งเป็นผ้า 2 ชั้นประกบกันก็ยิ่งดีประสิทธิภาพกล้เคียงกับหน้ากากอนามัย
2. การป้องกันการซึมผ่านของน้ำ พบว่า ผ้าสาลู ที่ใช้ทำผ้าอ้อมเด็ก สามารถกันน้ำได้ดี รวมถึงผ้ามัสลินก็ป้องกันได้ดี
3. การซักทำความสะอาด พบว่า ผ้านาโนซักได้ประมาณ 10 ครั้ง เส้นใยก็ก็เริ่มเสื่อมสภาพ แต่ ผ้าฝ้ายมัสลิน ซัก 100 ครั้งคุณสมบัติยังดีอยู่
>> ดูภาพสรุปผลการการทดสอบ
ประสิทธิภาพของหน้ากากผ้า คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
จากการทดสอบประสิทธิภาพทั้ง 3 ด้านแล้ว สรุปว่า ผ้าผ้ายมัสลิน มีความเหมาะสม ในการนำมาใช้ทำหน้ากากผ้า 2 ชั้นมากกว่าผ้าชนิดอื่น เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีหลายด้าน คือ สามารถกันละอองน้ำและเส้นใยผ้าสามารถกันอนุภาคได้ดีกว่าผ้าชนิดอื่นและที่สำคัญสามารถนำมาใช้งานได้หลายครั้ง จึงมีคุณสมับติที่เหมาะสมในการทำหน้ากากผ้ามากที่สุด และหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป เป็นทางเลือกสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่ำที่จะทำเป็นหน้ากากผ้าทดแทนได้
ขอบคุณภาพจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ผ้ามัสลิน คืออะไร ?
ผ้ามัสลินผลิตจากใยฝ้าย 100% มัสลินเป็นชื่อเรียกกลุ่มผ้าฝ้ายลายขัดกลุ่มใหญ่ๆ ที่มีคุณภาพและน้ำหนักผ้าระดับต่างๆ ผ้าชนิดนี้ผลิตออกจำหน่ายในลักษณะเป็นผ้าขาว ผ้าย้อมสี พิมพ์ดอก ใช้ตัดเป็นเสื้อชั้นใน ผ้ากันเปื้อน ผ้าซับใน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน หรือเป็นผ้าอ้อมของเด็ก เป็นต้น
ผ้ามัสลิน มีคุณสมบัติโดดเด่น
สำหรับคุณสมบัติพื้นฐานของผ้ามัสลินนั้น มีความโดดเด่นในแง่ดีหลายอย่าง เช่น เป็นผ้าเนื้อละเอียด ระบายอากาศดี แห้งเร็ว น้ำหนักเบา ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง เป็นเส้นใยธรรมชาติ 100% ให้ความรู้สึกสบาย ลักษณะของผ้าจะมีความลื่นพอประมาณ เนื้อผ้าเป็นขนและแข็ง มีความแข็งแรงทนทานต่อการซัก
ผ้าฝ้ายมัสลิน ควรซักอย่างไรให้เหมาะสม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีคำแนะนำในการใช้หน้ากากผ้ามัสลินเพิ่มเติม คือ หากต้องการซักด้วยมือ ให้ซักโดยการขยี้เบาๆ ห้ามขยี้รุนแรงหรือใช้แปรงขัด แต่ถ้าจะซักเครื่อง ให้ซักโดยการใส่ถุงแยกซัก ใช้โหมดถนอมผ้าที่น้ำเย็นไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ห้ามใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม ห้ามฟอกขาว ห้ามซักด้วยน้ำร้อน ห้ามอบ/ปั่นแห้ง และห้ามใช้น้ำยารีดผ้าเรียบ
Must read >> 7 ขั้นตอน วิธีซักหน้ากากอนามัย ที่ถูกต้อง ฆ่าเชื้อโรคแถมใส่ซ้ำได้หลายครั้ง
จากนั้นนำมาตากบนราวด้วยการพาดเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้การหนีบผ้า กรณีจำเป็นต้องปั่นเเห้งให้ใช้ระบบลมเย็นเท่านั้น ห้ามใช้ลมร้อน เมื่อหน้ากากแห้งแล้วสามารถรีดด้วยไฟอ่อน โดยจัดเรียงผ้าให้เรียบและวางผ้าฝ้ายทับด้านบนก่อนแล้วจึงรีดทับ ไม่แนะนำให้วางเตารีดสัมผัสโดยตรง เนื่องจากการปล่อยไฟที่ไม่สม่ำเสมอผ่านโลหะเตารีดจะทำลายเนื้อผ้าได้
สำหรับการใส่หน้ากากผ้า ควรเอาด้านที่นุ่มและกรองได้ไว้ด้านใน ส่วนที่มีการพิมพ์ลายต่างๆ ให้สวยงามควรเอาไว้ด้านนอก
วิธีทำหน้ากากผ้า
เมื่อรู้ว่า ผ้าฝ้ายมัสลิน สามารถนำมาใช้ทำเป็นหน้ากากได้แล้ว หากที่บ้านยังมีผ้าอ้อมของลูกน้อยที่เป้น ผ้าฝ้ายมัสลินนี้อยู่ คุณแม่ก็สามารถนำมาตัดเย็บเอง โดยวิธีทำหน้ากากผ้า ให้ลูกรัก มีขั้นตอนไม่ยาก ดังนี้
1. นำ ผ้ามัสลิน มาตัดเย็บโดยขนาดของผ้ากว้าง-ยาวประมาณ 15 ซม. (สี่เหลี่ยมจัตุรัส)
2. ให้ผ้ามีความหนาอย่าน้อย 2 ชั้นและจับจีบขนาดประมาณ 3 ชม.
3. ตรงกลางผืนผ้า ติดยางยืดสำหรับคล้องใบหูทั้ง 2 ข้าง
4. ความยาวของยางยืด ปรับตามขนาดใบหน้าของผู้สวมใส่
*เด็กๆ ควรมี หน้ากากผ้ามัสลิน คนละอย่างน้อย 2 ชิ้นนะคะ
Must read >> 5 เทคนิคสอนลูกใส่ หน้ากากอนามัย ป้องกันโรค ป้องกันฝุ่น ให้ได้ผล
ทั้งนี้หากขั้นตอนข้างต้นคุณแม่ยังมองไม่เห้นภาพหรือทำไม่ได้ ก็สามารถศึกษาดูวิธีการทำหน้ากากอนามัยแบบผ้าได้จากคลิป DIY KIDS MASK // วิธีทำหน้ากากอนามัยสำหรับเด็กแบบง่ายๆ ด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Ae PooiM
อย่างไรก็ดีขอย้ำอีกครั้งแม้จะมี หน้ากากผ้า จาก ผ้ามัสลิน ที่ทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยสามารถมีใช้ใส่เพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 แทนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ได้แล้ว … เพื่อความสะอาดของหน้ากากผ้า แนะนำให้ซักล้างและตากแห้งทุกวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และทุกคนต้องป้องกันตัวเองโดยไม่เอามือไปสัมผัสหน้ากากขณะสวมใส่ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคมาติด ซึ่งอาจจะเข้าสู่จมูกหรือปากได้ และที่สำคัญที่สุดเลยคือทุกคนสามารถป้องกันตนเองโดยการกินร้อน ใช้ช้อนกลาง และหมั่นล้างมืออย่างถูกต้องให้สะอาดอยู่บ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโคโรนาไวรัส
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- วิธีทำหน้ากากอนามัย ใช้เองได้ง่ายนิดเดียว
- วิธีทำแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ฆ่าเชื้อโรค ไว้ใช้เองที่บ้าน
- 10 สถานที่เสี่ยงแพร่กระจาย “เชื้อไวรัสโคโรนา”
- ตรวจรักษาโควิด ด้วยสิทธิบัตรทองและประกันสังคม
- 8 วิธีป้องกันไวรัสโคโรนา ฉบับประชาชน จากกระทรวงสาธารณสุข
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , www3.dmsc.moph.go.th , www.bangkokbiznews.com , multimedia.anamai.moph.go.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่