อย่างไรก็ดีไม่เพียงแต่สิ่งมีชีวิตเท่านั้นที่มีเพศ แม้แต่พืช หรือผักพื้นบ้านอย่าตำลึงก็มีเพศเช่นเดียวกัน แล้วแกงจืดตำลึงที่ลูกน้อยกินอยู่นั้น จะใช้ตำลึงเพศไหนกันแน่ แล้วเราจะดูยังไงว่าอันไหนคือ ตำลึงเพศเมีย อันไหนคือตำลึงเพศผู้ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร ทำไมต้องแยกเพศ?
เพื่อให้คุณแม่เลือกเก็บ หรือหาซื้อใบตำลึง ที่ถูกเพศ เพื่อทำมาให้ลูกน้อยรับประทาน แม่น้องฮันน่าห์จึงแอบไปส่องที่สวนหลังบ้านพร้อมเก็บใบตำลึงมาเข้าห้องแลป เทียบให้คุณแม่เห็นกันแบบชัดๆว่า ตำลึง ตัวผู้ ตัวเมีย ต่างกันอย่างไร ตามมาดูกันเลยค่ะ
ตามภาพเป็นใบของตำลึง ใบที่อยู่ด้านซ้ายเป็นตำลึงตัวเมีย ซึ่งจะมีลักษณะใบค่อนข้างมน ขอบใบจะหยักไม่มาก ส่วนด้านขวาจะเป็นใบตำลึงเพศผู้ใบจะมีลักษณะหยักเว้ามากกว่าใบเพศเมีย
ข้อแตกต่างระหว่างตำลึงเพศผู้ กับตำลึงเพศเมีย ก็อยู่ตรงลักษณะของใบ โดย…
ใบตำลึงเพศผู้ ไม่นิยมนำมารับประทาน และสำหรับใครที่ธาตุไม่ดี หากเผลอรับกิน หรือกินมากเกินไป ทั้ง ใบหรือยอดตำลึงเพศผู้เข้าไป จะทำให้ท้องเสียได้ คือ ถ่ายไม่หยุด
แต่ตำลึงเพศผู้ ก็มีสรรพคุณทางยาของตำลึงก็คือ ช่วยดับพิษร้อน แก้ไข้ ลดระดับน้ำตาลในเลือดจึงดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน และใช้ตำพอกผิวหนังแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยหรือแก้เริม ดอกตำลึงใช้แก้คันผิวหนังได้ ส่วนรากก็ใช้เป็นยาแก้อาเจียนและลดไข้
ส่วน ตำลึงเพศเมีย มีขายตามท้องตลาดทั่วไป แต่หากคุณแม่อยากเลือกเก็บตำลึงมาปรุงอาหารให้ลูกน้อยเอง ควรเลือกที่ใบมนๆ หรือต้นเพศเมีย จะปลอดภัยกว่านะคะ
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็น ตำลึง ตัวผู้ ตัวเมีย ต่างก็มีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องเลือกมาใช้ให้ถูกเท่านั้นเอ และเพราะตำลึงมีประโยชน์กับลูกน้อยเป็นอย่างมาก แม่น้องฮันน่าห์จึงอยากจะขอแถม สูตรเมนูอาหารเสริม ที่มีส่วนผสมของ ตำลึง (ตัวเมีย) เพื่อให้ลูกน้อยได้หม่ำ เสริมธาตุเหล็กให้กับร่างกายกับ “ซุปข้าวกล้องบดตำลึงปลาช่อนนา” เหมาะสำหรับลูกน้อยวัน 6 เดือน ขึ้นไป มาแนะนำ จะมีส่วนผสมและขั้นตอนการทำอย่างไร ตามมาดูกันเลย…