หากอยาก เพิ่มความสูงให้ลูก แม้พ่อแม่ไม่สูง แต่จะทำยังไงให้ลูกสูง เพราะนอกจากปัจจัยเรื่องกรรมพันธุ์แล้ว ก็ยังมีเรื่องของการกิน การนอน และการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและสมวัยประกอบกันด้วย
เติ้ล ตะวัน เผยวิธี เพิ่มความสูงให้ลูก
หลังหมอบอกให้ทำใจ
“น้องมียา” อาจสูงเต็มที่ได้แค่ 140 ซม.
ความสูงของลูก อาจเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ยุคนี้หลายบ้านต้องการให้กับลูก ซึ่งความสูงในเด็กบางคนก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะสูงถึงขนาดไหน อาจมีบางบ้านที่ลูกอยู่ในช่วงวัย 2-3 ขวบ พ่อแม่ก็กังวลแล้วว่ากลัวลูกจะตัวเตี้ย เพราะมักมองเปรียบเทียบจากเด็กคนอื่นในช่วงอายุเดียวกัน เมื่อสังเกตร่างกายของลูกแล้วเห็นถึงความผิดปกติที่อาจจะเตี้ยกว่าเพื่อน พ่อแม่จึงคิดมากวิตกกังวลกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในครอบครัวเลยทีเดียว
Must read >> ลูกเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน จากการนอนดึก จริงหรือ ?
Must read >> วิธีคำนวณ ส่วนสูงเด็ก ทำได้ด้วย 2 วิธี
เช่นเดียวกับคุณเติ้ล ตะวัน และคุณแม่กระแต เสาวคนธ์ ที่แอบมีความเครียดไม่น้อย เมื่อไปปรึกษาคุณหมอที่รพ.แห่งหนึ่ง ซึ่งคุณหมอแจ้งว่าให้ทำใจ “น้องมียา” ลูกสาวอาจมีสิทธิ์สูงเต็มที่ได้แค่ 140 ซม.
โดยคุณเติ้ล กล่าวถึงประเด็นเรื่องสุขภาพในระยะยาวของลูกสาวว่า “เขาต้องสูงกว่าแม่”
ซึ่งคุณแม่กระแต ก็ได้กล่าวเสริมว่า “เรากลัวเขาตัวเล็ก ซึ่งเคยพาลูกไปหาหมอภูมิแพ้ เสร็จเห็นห้องหนึ่งเห็นหมอดูเก่ง คือคิดเองก็เลยไปถามพยาบาลว่าหมอท่านนี้ตรวจอะไร พยาบาลก็บอกว่า หมอดูเกี่ยวกับฮอร์โมนพัฒนาการ กระดูกเราก็เลยบอกพยาบาลว่าเอาๆ ขอจองต่อเลยได้ไหม ขอไปหาหมอภูมิแพ้ก่อนเดี๋ยวออกมาเจอหมอคนนี้ พยาบาลก็ทำคิวให้ ก็เข้าไปกัน 2 คน หมอก็บอกว่า เขาเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักเท่านี้ พ่อสูงเท่านี้ แม่สูงเท่านี้ ลูกสูง 140”
เมื่อคุณเติ้ล ได้ยินแบบนั้นจึง ถามหมอว่าต้องทำอย่างไรที่จะ เพิ่มความสูงให้ลูก สูงกว่านี้ แต่หมอบอกว่าให้ทำใจ (คำถามคือแล้วจะไปหาทำไม : หัวเราะ) ด้านคุณแม่กระแต ก็บอกว่าเครียด เพราะอยากให้น้องมียาเขาสูงกว่า มันเป็นความหวังของเราอยู่แล้ว แต่พอเราฟังหมอแล้วหมอบอกว่าเขาจะสูง 140 เราคิดว่าไม่ใช่
คุณเติ้ล จึงตัดสินใจไปหมอคนใหม่ เพราะตอนนี้น้องมียาเข้าเกณฑ์แล้ว ซึ่งคุณหมอบอกว่า มีความเป็นไปได้ที่ลูกจะมีความสูงเฉลี่ย 155 คือสูงที่สุดของเขาคือ 164 เตี้ยสุดก็ 140 เราก็รอดูความเป็นไปได้ว่าจะสามารถขยับเขาให้สูงขึ้นไปอีกได้ไหม
เผยวิธี เพิ่มความสูงให้ลูก
โดยคุณแม่กระแต ก็กล่าวอีกว่า กระบวนการ เพิ่มความสูงให้ลูก คือ กินกับนอน เรื่องนอนสำคัญ เพราะคุณหมอบอกว่าอยากให้เขาหลับสนิทเลย พอหลัง 3 ทุ่มฮอร์โมนจะหลั่งทันที เขาถึงไม่อยากให้เด็กตื่นขึ้นมาดื่มนมกลางดึก เพราะเขาตื่นปุ๊บ ฮอร์โมนเขาจะหยุดหลั่งทันที
อ่านต่อ >> “วิธีเพิ่มความสูงตามเกณฑ์ให้ลูกแบบง่ายๆ
แม้พ่อแม่เตี้ยลูกก็สูงได้” คลิกหน้า 2
ขอบคุณภาพจาก IG @tletawan , @katare
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อย่างไรก็ตามจากวิธี เพิ่มความสูงให้ลูก กรณี ของ “น้องมียา” ที่คุณพ่อเติ้ล ตะวัน และคุณแม่กระแต เสาวคนธ์ ได้กล่าวมา คือปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความสูง ซึ่งเรื่องของการทำให้ลูกสูงนั้น น.พ.วรวัฒน์ เอี่ยวสินพานิช แพทย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท ให้คำแนะนำว่า เด็กจะมีการเพิ่มความสูงใน 2 ช่วงอายุ คือ ช่วงแรกเกิดจนถึง 2 ปีแรก กับช่วงที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งผู้หญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นในช่วงอายุ 11.5 ปี จนถึง 16 ปี ส่วนผู้ชายตั้งแต่อายุ 13 ปี จนถึง 20 ปี
โดยจะเห็นได้ว่า เด็กผู้ชายจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นช้ากว่า และจะมีช่วงอายุที่นานกว่า ดังนั้นคนที่มีลูกสาวจึงควรเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ และที่สำคัญเด็กผู้หญิงควรจะต้องดูว่าได้รับฮอร์โมนที่ทำให้เป็นสาวเร็วกว่าปกติหรือไม่ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะอยู่กับอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ได้รับการฉีดฮอร์โมนเข้าไป ส่วนใหญ่เป็นอาหารพวกฟาสต์ฟู้ด ทำให้เด็กผู้หญิงมีโอกาสเป็นสาวได้เร็วกว่าปกติ เช่น เด็กบางคนอายุแค่ 8 ขวบ ก็มีหน้าอกหรือมีประจำเดือนแล้ว ถ้ามีอาการเช่นนี้ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจและฉีดยาที่จะทำให้เป็นสาวได้ ช้าลง มิฉะนั้นจะมีผลต่อความสูงของเด็กได้
สำหรับปัจจัยที่จะช่วย เพิ่มความสูงให้กับเด็กวัยรุ่นได้มี 4 ประการด้วยกัน คือ
- พันธุกรรม มีสัดส่วนประมาณ 50%
- ฮอร์โมน
- โภชนาการ
- การออกกำลังกาย
ซึ่งทั้ง 3 ข้อหลังนี้รวมกันประมาณ 50% ดังนั้นถ้าพ่อแม่มีความสูงไม่มากนัก อาจจะปรับเปลี่ยนไปเน้นในปัจจัยอื่น ๆ ที่จะช่วยเพิ่มความสูงได้
โดยเฉลี่ยแล้วความสูงของลูกนั้นมีสูตรคำนวณ คือ
เด็กชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) หาร 2 ความสูงที่ควรจะเป็น + 8
เด็กหญิง = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) หาร 2 ความสูงที่ควรจะเป็น + 6
5 วิธี เพิ่มความสูงให้ลูก ตามเกณฑ์ แม้พ่อแม่เตี้ย
ดังนั้นถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหา ความสูงของลูก พ่อแม่ควรเอาใจใส่และส่งเสริมลูกในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. การจัดเตรียมอาหารและนม
ควรให้ลูกกินให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน แต่เด็กยุคใหม่มักไม่ค่อยรับประทานผักผลไม้ ชอบอาหารฟาสต์ฟู้ดมากกว่า จึงจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังให้เด็กๆ กินผักผลไม้ตั้งแต่เด็กๆ นอกจากนี้ ควรดื่มนมวันละ 2 กล่อง 250 มิลลิลิตรขึ้นไป โดยแนะนำให้เป็นนมจืด
2. การเข้านอนก็สำคัญ
หนึ่งในวิธี เพิ่มความสูงให้ลูก ที่สำคัญ ซึ่งควรให้ลูกเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อให้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (growth hormone) ได้ทำงานได้อย่างเต็มที่โกรทฮอร์โมน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยสร้างความสูงและการเจริญเติบโตของร่างกายในด้านต่างๆเวลาที่ลูกหลับสนิทในช่วงตั้งแต่ 4 ทุ่ม เป็นต้นไป เมื่อลูกเข้านอนเร็วแล้วหลับสนิทตลอดทั้งคืน ก็จะทำให้โกรทฮอน์โมนนี้ทำงานได้อย่างเต็มที่ส่งผลให้ร่างกายของลูกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ทำให้ลูกมีความสูงที่เพิ่มขึ้นด้วย แนะนำให้นอนอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
3. ออกกำลังกายเพื่อความสูง
การออกกำลังกายของเด็กนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังจะสามารถเพิ่มความสูงให้ลูกอีกวิธีหนึ่งการออกกำลังกายประเภทกระโดดสูง หรือกระโดดเชือก ถือว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มความสูง เพราะการออกกำลังประเภทดังกล่าวเป็นการกระตุ้นการยืดกล้ามเนื้อบริเวณขาและกระตุ้นการหลังของโกรทฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นความเจริญเติบโตของร่างกายลูกอีกด้วย
4. ใช้เทคนิค เพิ่มความสูงให้ลูก จากแพทย์ญี่ปุ่น
สามารถทำได้ทุกวัย เป็นเทคนิคที่ต้องทำเป็นประจำวันละ 1 นาที สั้นๆ ทำง่ายๆ โดยให้ลูกนั่งคุกเข่าแล้วโน้มตัวไปด้านหลังจนเหมือนการนอนราบ ยืดแขนขึ้นด้านบนราบกับพื้น ทำท่านี้ค้างไว้ 1 นาทีท่านี้สามารถทำให้กระดูกที่งอหรือคดกลับมาตรงได้เหมือนเดิม จะทำให้รู้สึกว่าสูงขึ้นอีกเล็กน้อย
5. ปรึกษาคุณหมอ
สุดท้ายแล้วหากเกิดความสงสัยในร่างกายของลูก หรือคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกตัวเล็กหรือเตี้ยไม่สูงขึ้นเลยในช่วง 1-2 ปี ดูแล้วว่าลูกน่าจะตัวเตี้ยกว่าเพื่อนๆที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน อันดับแรกใช้คุณแม่วัดความสูงเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานในช่วงอายุของลูก หากความสูงนั้นต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สามารถพาลูกเข้าพบคุณหมอเพื่อปรึกษาหาทางแก้ปัญหาความสูงของลูกได้เลย คุณหมอจะสามารถแนะนำวิธีเพิ่มความสูงให้ลูก ได้อย่างถูกต้องแน่นอนและเป็นวิธีที่ปลอดภัยสำหรับลูกอีกด้วย
ดังนั้นหากอยากเพิ่มความสูงให้ลูก สิ่งสำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นตรวจเช็คการเจริญเติบโตของลูก ว่ามีปัจจัยใดที่จะทำให้ลูกเรามีแนวโน้มเตี้ยหรือไม่ เพื่อรับคำปรึกษาจากคุณหมอและดูแลลูกได้อย่างถูกวิธีนะคะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- แนะ 8 ผักแคลเซียมสูง อีกหนึ่งวิธีเพิ่มความสูงให้ลูกได้
- เคล็ดลับเพิ่มความสูง เมื่อถึงช่วง “ยืดตัว”
- Growth Hormone โกรทฮอร์โมน คืออะไร สำคัญกับลูกน้อยยังไง?
- ประสบการณ์ตรงของคุณแม่ เมื่อลูกน้อย “ไม่สูง”
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศิราณี วงษ์โซ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ , www.guidemama.com , www.khaosod.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่