เมื่อลูกน้อยมีอาการป่วย และมีความจำเป็นต้องกินยา ปัญหาการกิยยาในเด็ก ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใกล้ตัว หากคุณพ่อ คุณแม่บ้านไหนมี ลูกกินยายาก Amarin Baby & Kids มีเทคนิควิธีป้อนยาลูกน้อยแบบแนบเนียน รับรองว่าลูกน้อยจะต้องยอมกินแต่โดยดี ไม่มีดราม่า หรือวิ่งหนีไปไหนอย่างแน่นอน
เมื่อพูดถึง “ยา” สำหรับเด็กหลายคน ยาอาจไม่ใช่เพื่อนสนิทที่เมื่อคุณพ่อ คุณแม่เรียกให้มาหามาเพื่อกินยาแล้ว ลูกจะอ้าปากกินและกลืนลงคอได้อย่างราบรื่นทันที ซึ่งเรียกได้ว่าการทำให้ลูกน้อยยอมกินยา ดูจะเป็นปัญหาระดับชาติของหลายครอบครัวเลยก็ว่าได้ เพราะเด็กบางคนก็กินยายากแสนยาก หรือบางคนเคยกินได้ แต่จู่ๆ ก็ไม่ยอมกิน บางคนบ้วนทิ้ง บางคนกัดฟันกักปากแน่น บ้างก็ดิ้นหนีวิ่งหนี ฯลฯ
ลูกกินยายาก เพราะอะไร?
การที่ลูกไม่ยอมกินยา อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่ชอบกลิ่น หรือรสของยานั้นๆ หรือไม่เข้าใจว่าทำไมตนเองจะต้องกินยา รวมถึงอาจรู้สึกไม่ชอบ หรือกลัวเวลาถูกบังคับให้กินยา คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสังเกต และแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ลูกกินยายาก หรือไม่ยอมกินยา โดยทั่วไปมักจะมาจากยาที่อาจมีรสชาติไม่ดี เช่น มีรสขม สาก ฝาดลิ้น หรือไม่ใช่กลิ่น-รสที่ชอบ เช่นเดียวกันการปรับรสชาติยา จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เด็กกินยาได้ง่ายขึ้น โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
- ไม่ควรเป็นอาหารมื้อหลักที่เด็กจำเป็นต้องทาน เนื่องจากรสชาติอาหารที่เปลี่ยนไปอาจทำให้เด็กไม่กินอาหารเหล่านั้นอีก
- ยานั้นต้องไม่มีข้อห้ามในการกินร่วมกับยาอื่นๆ เช่น ยาฆ่าเชื้อบางชนิด ห้ามกินร่วมกับนม
- ปริมาณของน้ำหวาน หรืออาหารที่ใช้ผสมยา จะต้องไม่มากเกินไป เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กสามารถกินได้หมด
- มีอุณหภูมิเหมาะสม (ไม่สูงเกินอุณหภูมิห้อง) เพื่อป้องกันการเสื่อมสลายของตัวยา
และสำหรับเทคนิคป้อนยา เมื่อลูกกินยายาก อาจใช้วิธีผสมยาลงในน้ำหวาน หรืออาหารที่ลูกชอบ เช่น นม โยเกิร์ต น้ำส้ม ช็อคโกแลตไซรัป (กลบรสขมของยาได้ดี) ซึ่งปัญหานี้ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ก็เข้าใจคุณพ่อคุณแม่ จึงได้ไปเสาะแสวงหาเทคนิคดีๆ ในการป้อนยาลูกสุดแนบเนียนมาฝาก รับรองว่าลูกน้อยยอมกินยาแต่โดยดี ไม่มีดราม่าแน่นอน จะมีเทคนิคอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
อ่านต่อ “ลูกกินยายากจัดการด้วย 7 วิธีป้อนยา” คลิกหน้า 2
ลูกกินยายากจัดการด้วย 7 วิธีป้อนยา
1.วิธีป้อนยาลูกกินยายาก เทคนิคแรกสุดแนบเนียนให้คุณพ่อคุณแม่ใช้เข็มฉีดยา ดูดยาตามปริมาณที่ลูกต้องกิน แล้วนำไปฉีดลงที่ขวดนมเปรี้ยวรสชาติโปรด แล้วนำมาให้ลูกดูด และทำเหมือนเป็นเครื่องดื่มปกติ
เครดิตภาพจาก : imgur.com
2.หากลูกของคุณพ่อ คุณแม่ไม่ยอมกินยา แต่ชอบอมยิ้ม วิธีนี้ง่ายสุดๆ ไปเลยค่ะ เพียงคุณพ่อคุณแม่ทำยาใส่ถ้วยดิป (Dip) ให้กับอมยิ้มแท่งโปรด เพื่อให้ลูกน้อยใช้จิ้มกับอมยิ้ม แต่ต้องให้ลูกจิ้มดิปกินซ้ำๆ จนกว่าดิปแสนอร่อยจะหมดด้วยนะคะ
เครดิตภาพจาก : www.tilestwra.com
3.การป้อนยาวิธีนี้ เป็นเทคนิคจากคุณแม่ชาวจีนที่อยากหลอกล่อลูกน้อยให้กินยา จึงคิดหาวิธีเอากล่องเครื่องดื่มที่กินหมดแล้ว มาเจาะรูแล้วใส่ขวดยาเข้าไปแทน ที่น่าเอ็นดู ก็คือพอคุณแม่ถามว่า “อร่อยมั้ยลูก กินอีกสิ นี่รสใหม่เลยนะ” ลูกน้อยที่กินเข้าไปแล้วก็ได้แต่ทำตาปริบๆ ตอบว่า “อร่อย” แล้วยอมกินแต่โดยดี เป็นวิธีที่ได้ผลจริงๆ
เครดิตภาพจาก FB : China Xinhua News
4.เช่นเดียวกับวิธีด้านบน นำกล่องนม หรือน้ำผลไม้ที่ลูกชอบมาเจาะ แล้วแอบใส่ยาที่ตวงเรียบร้อยแล้ว พร้อมเจาะหลอดใส่ให้ตรงถ้วยยา แล้วนำไปให้ลูกดูดกันเลย
เครดิตภาพจาก : www.tnp.today
5.อีกหนึ่งวิธีที่คล้ายกับ 2 เทคนิคด้านบน แต่เป็นการนำขวดยาเล็กๆ มาวางแนบหลังกระป๋องน้ำอัดลมที่ลูกใฝ่ฝันอยากกินมานาน ที่นี้แหละลูกก็ได้ชิมรสชาติ (ยา) แสนอร่อยของน้ำอัดลมกระป๋องนี้แล้ว แต่ต้องถือดีๆ นะคะ ระวังลูกเห็น
เครดิตภาพจาก : laughbreak.com
6.เพราะเด็กไม่ชอบรสชาติของยา แต่รักลูกอม หรืออมยิ้ม ดังนั้น อีกหนึ่งวิธีแสนแนบเนียนก็คือ การทำยาน้ำให้เป็นน้ำแข็งอมยิ้ม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจผสมด้วยน้ำตาลเล็กน้อย หรือของเหลวอื่นๆ ที่มีรสชาติหวาน เพื่อเจือจางยาเล็กน้อย เท่านี้ก็ได้ไอติมยาหวานเย็นขนาดเล็ก กินไปเย็นๆ เพลินๆ
เครดิตภาพจาก : ifehacker.com
7.สุดท้ายสำหรับลูกน้อยที่ติดจุกหลอก หรือจุกขวดนมแบบนิ่มๆ ให้คุณพ่อคุณแม่ลองใช้วิธีใส่เข็มฉีดยาที่มียาแล้ว ฉีดลงไปที่จุกนมมุมปากของลูกน้อยเสมือนลูกกำลังคิดว่าตัวเองดูดนมอยู่
เครดิตภาพจาก : www.firstforwomen.com
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะใช้วิธีการป้อนยาลูกข้างต้นนั้น ขอแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ควรถามคุณหมอที่ให้ยาก่อนว่า ยาแต่ละชนิดผสมกับอาหารได้หรือไม่ อาหารไม่รบกวนการดูดซึมของยา หรือเปลี่ยนคุณสมบัติของยาหรือเปล่า?
ถ้าคำตอบคือ “ไม่” คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถใช้วิธีเจือจางยาด้วยน้ำเปล่า น้ำผลไม้ นม หรือตามวิธีข้างต้นได้เลย ซึ่งลูกก็อาจพอรับได้ถ้ารสชาติยาไม่เข้มข้นมากนัก แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่าลูกกินครบ แต่ถ้าลูกจับได้ว่ามียาผสมอยู่แล้วไม่ยอมกิน อย่าใช้วิธีนี้อีกต่อไป
ทั้งนี้ จากวิธีป้อนยาข้างต้น เป็นยาน้ำสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งถ้าลูกโตขึ้นมาหน่อย ให้คุณพ่อคุณแม่ลองขอยาเม็ดจากคุณหมอ ใช้ที่ตัดยาแบ่งยาตามขนาดที่ต้องการ ไม่ใช้มีดทั่วไป เพราะแบ่งได้ไม่แม่นยำและยาอาจแตกไม่ได้สัดส่วน เอามาตำให้ละเอียดแล้วคลุกกับกล้วยบด โยเกิร์ต แยม ครีมซอส หรือท้อปปิ้งราดแพนเค้ก หรือไอศกรีม แล้วให้ลูกกิน
และถ้าจะให้ดี ลองฝึกล่วงหน้าให้ลูกกลืนอาหารเหล่านี้แบบไม่ต้องเคี้ยว จะได้ไม่สัมผัสโดนรสขมของยา การใช้ยาเม็ดผสมกับอาหารจะดีกว่าใช้ยาน้ำ เพราะปริมาณยาน้อยกว่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีแต่รสชาติ แถมยาเม็ดบางอย่างไม่มีรสชาติเลย แต่ยาเม็ดบางอย่าง ไม่สามารถแบ่งได้ เพราะผู้ผลิตทำโดยเฉพาะให้แตกตัวในกระเพาะอาหารเท่านั้น เพื่อให้ยาค่อยๆ ออกฤทธิ์ จะใช้วิธีนี้ไม่ได้
ส่วนในเรื่องการป้อนยา “สำหรับเด็กเล็กที่ยังคุยกันไม่รู้เรื่อง” แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านทารกแรกเกิด ได้แนะนำอย่างไรบ้าง? ติดตามอ่านได้ที่หน้าถัดไป
อ่านต่อ “เทคนิคป้อนยาลูกเล็ก” คลิกหน้า 3
เทคนิคป้อนยาลูกเล็ก
หากลูกทารกกินยายาก และไม่ยอมกินเมื่อผสมในนม ก็ต้องใช้วิธี “จับป้อนยา”
- โดยให้คนช่วยจับแขนลูกในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน หรือใช้ผ้าเช็ดตัวพันตัวไม่ให้ดิ้น เตรียมยาและน้ำใส่ไซริงจ์ให้พร้อม ส่วนคนป้อนยาควรล้างมือให้สะอาด
- จากนั้นให้ใช้นิ้วสะอาดแหย่เข้าไปที่มุมปาก เพื่อให้เด็กอ้าปาก แล้วหยอดยาเข้าปากตรงบริเวณโคนลิ้นทีละน้อย (ประมาณ 5 – 1 ซี.ซี.)
- และจึงเอานิ้วออกจากปากพร้อมไซริงจ์ ลูกก็จะกลืนยาลงไปเอง และจะได้มีโอกาสร้องไห้ต่อได้
- จากนั้นพอยาลงคอไปแล้วก็ทำซ้ำๆ จนยาหมด
แต่ถ้าลูกกินยาแล้วอาเจียนออกมา ก็ให้คุณพ่อคุณแม่ประเมินดูว่ายาที่ออกมานั้นมากน้อยแค่ไหน เพื่อเติมยาเข้าไปให้ครบ ส่วนมากจะอาเจียนไม่เกิน 2 ครั้ง เพราะเด็กมักเรียนรู้ว่า ถึงอาเจียนออกมาก็ต้องได้เพิ่มเข้าไปอีกอยู่ดี
เมื่อให้ยาเสร็จแล้วก็บอกลูกด้วยโทนเสียงที่อ่อนโยนว่า ถ้าคราวหน้ายอมกินดีๆ ก็ไม่ต้องจับป้อนแบบนี้อีก พูดไปเถอะ สักวันลูกจะเข้าใจ ถึงลูกร้องไห้มากก็ไม่เป็นไร ไม่ได้ทำให้สุขภาพจิตเสีย เพราะเมื่อป้อนยาเสร็จแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็กอดหรือหอมลูก ปลอบแค่เดี๋ยวเดียวก็เงียบแล้ว
ก่อนป้อนยาลูก ต้องดูให้ดี!
ทั้งนี้ ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะป้อนยาลูกน้อยทุกครั้ง ต้องอย่าลืม!
- ต้องอ่านฉลากให้ละเอียด ดูวันหมดอายุ จำนวนครั้ง เวลา และ ดูปริมาณที่ควรให้โดยตวงให้ถูกต้อง
ขอบคุณภาพจาก : www.slideshare.net
- ควรสังเกตด้วยว่า ยาเปลี่ยนแปลงจากที่เคยใช้หรือไม่ ทั้งกลิ่น สี การตกตะกอน หากมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ควรนำมาให้ลูกรับประทานเด็ดขาด
- เลือกใช้ยาที่เคยใช้และคุ้นเคย หรือยาตามคำแนะนำของคุณหมอ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง หรือทดลองใช้ยาชนิดใหม่กับลูกน้อยเอง
- ต้องตรวจเช็กอุปกรณ์การตวง และการป้อนยาว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ และต้องทำความสะอาดก่อนใช้ทุกครั้ง
- ทั้งนี้ หากจะใช้ช้อนตวงยาอันเดิมป้อนยาชนิดอื่น ก็ควรล้างให้สะอาดก่อน แล้วจึงใส่ยาชนิดใหม่ลงไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาเรื่องลูกกินยายาก สิ่งสำคัญที่สุดเลย คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น อดทน ค่อยๆ ป้อน และต้องสร้างความรู้สึกที่ดี ชมเชยเมื่อลูกร่วมมือได้ รวมไปถึงอาจอธิบายเหตุผลง่ายๆ ว่าทำไมลูกต้องกินยา เพราะหากมีการขู่บังคับเด็กจะขัดขืนมาก ทำให้ป้อนยาไม่ได้ หรืออาจจะสำลักยาเข้าปอดหรืออาเจียนได้
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!!
-
เตือนพ่อแม่! ห้าม ป้อนยาลูก พร้อม 3 เครื่องดื่มนี้เด็ดขาด!
-
แม่แชร์! ลูกสมองติดเชื้อ ตับ-ม้ามโต เพราะป้อนยาเกินขนาด
-
อุทาหรณ์ ป่วยแล้ว ไม่ชอบกินยา เสี่ยงปอดหาย!
-
เก็บยาในตู้เย็น บริเวณไหนปลอดภัย ช่วยลดยาเสื่อมสภาพ