ลูกไม่กล้าคิด เพราะ พ่อแม่พูดแบบนี้ (โดยไม่ตั้งใจ) - Amarin Baby & Kids
ลูกไม่กล้าคิด

ลูกไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำ เพราะ พ่อแม่พูดแบบนี้ (โดยไม่ตั้งใจ)

account_circle
event
ลูกไม่กล้าคิด
ลูกไม่กล้าคิด

6 วิธีกระตุ้น “ทักษะทางความคิด” ให้ลูก

นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนวิธีพูดแล้ว ทีมแม่ ABK ยังมีเคล็ดลับกระตุ้น ทักษะทางความคิดให้ลูกกล้าคิด กล้าทำ มาฝากคุณแม่ด้วยค่ะ เพราะความสามารถในการคิดได้ คิดเป็น เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่เด็กยุคนี้ต้องมีเพื่ออนาคต เด็กๆ จำเป็นต้องเป็นนักคิดที่สามารถรับรู้ข้อมูล วิเคราะห์ เปรียบเทียบ รวมถึงไตร่ตรองสิ่งถูกผิด คิดเลือกทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และคิดแก้ปัญหาต่างๆ ในทุกสถานการณ์ได้

พ่อแม่จึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน และสอนลูกให้มีทักษะการคิด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทักษะการแก้ปัญหาของลูกด้วย โดยคุณแม่สามารถส่งเสริมลูกได้ง่ายๆ ดังนี้

กระตุ้นให้ลูกคิด

  1. ให้โอกาสลูกได้เล่น ทดสอบ ทดลองสิ่งต่างๆ สำคัญต่อการพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์ หาสาเหตุและผลกระทบ เช่น ตั้งคำถามกับลูกว่า เราจะสามารถดึกบล็อกได้กี่ชิ้น โดยไม่ทำให้หอคอยถล่ม
  2. หยุด และ รอให้ลูกคิด โดยลองนับ 1 ถึง 60 ในใจหรือนานกว่านั้น ในขณะที่ลูกกำลังคิด ก่อนที่คุณจะเข้าแทรกแซงหรือพูดอะไร เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้มีเวลาคิดไตร่ตรองในสิ่งที่กำลังทำอยู่
  3. อย่าแทรกแซงลูกในทันที หากลูกยังตัดสินใจไม่ได้ อย่ารีบเข้าไปจัดการทำแทนลูกเสร็จสรรพ สำหรับเด็กเล็ก ควรปล่อยให้ลูกได้ใช้ความพยายาม อดทน ในการจัดการกับของเล่นด้วยตนเอง เพื่อเป็นการกระตุ้นทักษะการแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็กโต ควรตั้งคำถามให้ลูกฝึกคิดวิเคราะห์ โดยต้องให้ข้อมูลมากเพียงพอ แต่ก็ไม่ได้มากจนเฉลยวิธีแก้ปัญหาให้ลูกนะคะ
  4. ตั้งคำถามปลายเปิด แทนที่จะรีบให้คำตอบทันทีที่ลูกถาม คุณแม่อาจใช้วิธีถามกลับ “แล้วลูกคิดว่ายังไง?” “ลูกคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น?” ที่สำคัญคุณแม่ต้องเคารพในคำตอบของลูกด้วยไม่ว่าลูกจะตอบถูกหรือผิดก็ตาม คุณแม่อาจตอบว่า “มันน่าสนใจนะ บอกแม่หน่อยได้ไหมทำไมลูกถึงคิดแบบนั้น?” เพื่อกระตุ้นให้ลูกพูดในสิ่งที่คิดออกมา
  5. ช่วยลูกตั้งสมมติฐาน พยายามชวนลูกคุยระหว่างการทดลองว่า “ถ้าเราทำแบบนี้ ลูกขึ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้น?” หรือ “ลองทายซิว่า สิ่งที่เราคิดจะเกิดขึ้นจริงไหม?”
  6. กระตุ้นให้ลูกคิดในมุมใหม่ๆ ปล่อยให้ลูกได้คิดต่าง พยายามกระตุ้นด้วยคำถามเช่น “เราลองคิดอย่างอื่นกันอีกดีไหม?” หรือ “ลองคิดถึงวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ทั้งหมดเลยลูก”

คุณพ่อคุณแม่ลองนำวิธีพูดกับลูกข้างต้น ไปใช้คุยกับลูกเพื่อกระตุ้นทักษะทางความคิดของลูกนะคะ พูดแบบนี้ มีผลดีกับลูกมากกว่าแบบแรกแน่นอนค่ะ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

8 คำพูดที่ลูกไม่อยากได้ยิน จากปากพ่อแม่ พูดแบบนี้โตไปลูกแย่แน่!

3 ข้อดีของ การกอดลูก สิ่งอุ่นใจที่สุดที่พ่อแม่ควรมอบ!

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up