พัฒนาการทารก
งานวิจัยเผย….อยากให้ “ลูกฉลาด” แม่ต้องมีความสุขก่อน
อยากให้ ลูกฉลาด มีความสุข พัฒนาการดี แม่ต้องมีความสุข ซึ่งมีงานวิจัยล่าสุดออกมาว่า เมื่อแม่มีความสุข ถึงจะทำให้ ลูกฉลาด ถึงเวลาคุณแม่ปลดล็อคแล้ว
8 วิธี “กระตุ้นสมอง” ทารกแรกเกิด ยิ่งทำลูกยิ่งฉลาด
รู้หรือไม่? เด็กที่ได้รับการ กระตุ้นสมอง อย่างถูกวิธีจากคุณพ่อคุณแม่ จะช่วยให้สมองของลูกพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้ลูกฉลาด ความจำดีได้ตั้งแต่แรกเกิด!
พัฒนาการเด็ก 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง แม่ต้องรู้!
พัฒนาการเด็ก 1 เดือน ลูกวัยนี้ต้องมีพัฒนาการอะไรบ้าง และพ่อแม่ต้องคอยดูแลเรื่องอะไร หรือมีวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือน อย่างไร ตามมาดูกันเลย
20 ของเล่นเสริมพัฒนาการลูก ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น
พบกับ 20 ของเล่นเสริมพัฒนาการลูก ยิ่งเล่นยิ่งดี จะให้เล่นทั้งทีต้องทั้งสนุกและได้ประโยชน์!
7 กิจกรรมเล่นกับลูกเสริม พัฒนาการทารก 9 เดือน
พัฒนาการทารก 9 เดือน ต้องพัฒนาให้ถูกต้อง ที่สำคัญที่สุด พ่อแม่รู้ยัง หนูเริ่มตั้งไข่แล้วนะ!
10 กิจกรรมและวิธีการเสริม พัฒนาการทารก 5 เดือน
พร้อมหรือยังคะ กับความโกลาหลที่จะเกิดขึ้นกับ พัฒนาการทารก 5 เดือน จะวุ่นวายขนาดไหน ต้องระวังอะไร อ่านต่อได้ที่นี่
10 พัฒนาการทารก (วัยแรกเกิด-12 เดือน) ที่บอกว่ารักคุณ
พัฒนาการทารก ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดมีอะไรให้พ่อแม่มือใหม่ได้ตื่นเต้นกันบ้าง !? เพื่อนผู้เขียนเพิ่งคลอดลูก ขอบอกว่าทั้งคู่เห่อลูกมากๆ ชนิดที่ว่าเก็บทุกช่วงเวลาไม่ว่าลูกจะหลับ ร้อง ตื่น แถมพูดด้วยว่าดูซิลูกบอกรักฉัน ฟังแล้วอมยิ้มเลย ว่าแต่เด็กตัวแค่เนี่ยบอกรักได้แล้วเหรอ? ทีมงาน Amarin Baby & Kids พาไปค้นหา 10 พัฒนาการที่ว่าลูกบอกรักกันค่ะ
พัฒนาการทารก แรกเกิด – 1 ขวบ พร้อมเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการ
พ่อแม่ป้ายแดงส่วนมากจะตื่นเต้นกับการมีสมาชิกใหม่ตัวน้อย จนลืมสังเกต พัฒนาการเด็กทารก ในแต่ละช่วง ยังไม่ทันสังเกตว่าลูกพลิกตัวเมื่อไหร่ ไม่ทันไรก็ตั้งไข่ได้
พัฒนาการกล้ามเนื้อ เท้าและขา ตั้งแต่ลูกแรกเกิด จนกระโดดได้
เท้าและขาเป็นส่วนสำคัญสำหรับก้าวเดินแรกของมนุษย์ เพราะฉะนั้นมาทำความเข้าใจ พัฒนาการกล้ามเนื้อ เท้าและขาของเด็กๆ กันดีกว่า
8 เทคนิค ฝึกลูกน้อยชันคอ เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย
“ ลูกชันคอได้กี่เดือน ” … อีกหนึ่งคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่หลายคนที่คอยเฝ้าลุ้นกับพัฒนาการของลูกน้อย โดยการเคลื่อนไหวของทารกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการชันคอ พลิกคว่ำ คืบ คลาน ล้วนต้องอาศัยกล้ามเนื้อมัดใหญ่
ไขข้อสงสัย! ทารกแรกเกิดควรมีน้ำหนักเท่าไหร่?
เกณฑ์ น้ำหนักของทารกแรกเกิด ปกติของเด็กที่ครบกำหนดจะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 2,500-4,000 กรัม หากมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ก็เป็นเพราะคลอดก่อนกำหนดนั้นเอง
กระจก … ช่วยกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกน้อยได้!
คุณพ่อคุณแม่อาจเคยได้ยินคำสอนโบราณมาบ้างว่า “อย่าให้ลูกเล็กเด็กแดงส่องกระจก เดี๋ยวฟันจะไม่ขึ้น” ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นเพียงความเชื่อที่เกือบจะเลือนหายไปแล้วเลยทีเดียว เพราะความเป็นจริงนั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันแม้แต่น้อย อีกทั้งคุณแม่สมัยใหม่กลับค้นพบว่า “กระจกเป็นของเล่นชิ้นโปรดของลูกและช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้เป็นอย่างดีอีกด้วย” กระจก นับเป็นเครื่องมือกระตุ้นพัฒนาการที่ไม่ต้องลงทุนสูงเพราะทุกบ้านมีกระจกกันอยู่แล้ว สำหรับกระจกแบบพกพา ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดนะคะ เด็กๆอาจเล่นจนกระจกแตกและเกิดบาดแผลได้ โดยปกติทั่วไปแล้ว ลูกน้อยๆ ของคุณแม่จะชอบส่องกระจกกันแทบทุกคน เขาจะรู้สึกตื่นเต้น ประหลาดใจกับการได้เห็นภาพที่เคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เพราะเขาชื่นชมความน่ารักของตัวเองหรอก เพราะเด็กทารกตัวเล็กๆ จะยังไม่รู้ว่า เด็กที่เคลื่อนไหวอยู่ในกระจกนั้นที่แท้เป็นตัวเขานั่นเอง ดร. ไดแอน เบลส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ มหาวิทยาลัยจอร์เจียในเอเธนส์ บอกว่า เวลาเห็นตัวเองในกระจกเงา ทุกๆอย่างที่เจ้าตัวน้อยทำจะได้รับการตอบสนองในทันที เมื่อเขาเคลื่อนไหวคนในกระจกก็เคลื่อนไหวเหมือนกัน เป็นการถูกกระตุ้นให้ตื่นเต้นกับการเห็นภาพเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ช่วงเดือนแรกๆ ลูกน้อยจะยังไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นอยู่ในกระจกที่แท้เป็นตัวเขาเอง จนอายุสัก 3 เดือนเขาจะเริ่มรู้ความแตกต่างระหว่างภาพของเด็กที่อยู่ในกระจกเงากับเด็กจริงๆ มีการวิจัยชิ้นหนึ่ง ให้เด็กทารกวัย 3 เดือนกลุ่มหนึ่งมองดูใบหน้าของเด็กจริงๆ ที่มีอายุไล่เลี่ยกัน และจากนั้นให้มองดูตัวเองในกระจกเงา ทำอย่างนี้สลับกันไปมา ผลการทดลองพบว่า เด็กส่วนใหญ่จะมองใบหน้าตัวเองในกระจกเงานานกว่าจ้องมองใบหน้าจริงๆ ของเพื่อน ซึ่งแสดงว่าเด็กน้อยอายุเพียงไม่กี่เดือนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างหน้าตัวเองและหน้าของเพื่อน ซึ่งปกติแล้วเด็กวัย 4 – 6 เดือนพัฒนาการด้านการมองเห็นจะเริ่มชัดเจนเกือบๆ เท่าผู้ใหญ่แล้ว เด็กวัยนี้จึงเริ่มสนใจ จ้องมองสิ่งแวดล้อมด้านข้าง การให้ลูกส่องกระจกในช่วงวัยดังกล่าว […]
ถอดรหัสท่วงท่าและภาษาของเบบี๋
เจ้าตัวน้อย ยังพูดไม่ได้ แต่สื่อสารกับเราได้นะ ถึงแม้เบบี๋จะยังสื่อสารด้วยภาษาแบบผู้ใหญ่ไม่รู้เรื่อง แต่หนูก็มีวิธีบอกให้พ่อกับแม่รู้ได้นะว่าหนูต้องการอะไร กำลังทำอะไร เรียนรู้อะไร หรือรู้สึกอย่างไรอยู่นะ…เพียงแต่ว่าต้องถอดรหัสกันนิดหน่อย แล้วจะเห็นว่า หนูสามารถสื่อสารและรู้เรื่องกว่าผู้ใหญ่หลายๆ คนซะอีก ฮึๆ ^_^ จะรออะไรรีบไปถอดรหัสภาษาท่าทางของหนูน้อยกันเลยค่ะ 1. รหัส : หนูอายุ 6 สัปดาห์ค่ะ ตกใจสะดุ้งโหยงทุกครั้งที่ได้ยินเสียงดัง เพราะเหตุใดรู้ไหมคะ? ความหมาย : นั่นเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เรียกว่า Moro Reflex ซึ่งมีให้เห็น ในเด็กทารกแรกเกิดเกือบทุกคน และปฏิกิริยานี้จะคงอยู่กับลูกไปจนแกอายุได้ประมาณ 5 เดือนก็ จะหายไปเองค่ะ (แต่ถ้าหลังจากนั้นแล้ว ยังมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับให้เห็นอีกอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกมีปัญหาด้านระบบประสาทได้) ปฏิกิริยาสะท้อนกลับแบบ Moro Reflex นี้ก็คือ (นึกภาพเด็กอ่อนอายุราว 6 สัปดาห์ที่กำลังนอนเล่นเพลินๆ อยู่บนฟูกของแกตามไปด้วยนะคะ) เวลาที่จู่ๆ มีเสียงดัง หรือ มีใครมาจับตัวลูกแบบปุบปับฉับพลัน ลูกจะกางแขนออกและนิ้วเหยียดตรง ขาทั้งสองข้างก็จะกระตุกชี้ขึ้นกลางอากาศ และดวงตาเบิกกว้างอย่างตกใจ นี่คือปฏิกิริยาโดยกำเนิดของลูกที่บอกให้เรารู้ว่า แกกำลังพบเจอกับประสบการณ์ใหม่ที่อาจจะไม่น่าอภิรมย์เท่าไรนักค่ะ และคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้อง เป็นห่วงหรอกนะคะ เพราะอาการที่เกิดขึ้นเป็นสัญลักษณ์ว่าลูกน้อยของเรามีระประสาทที่แข็งแรงเป็นปกติดีนั่นเอง 2. รหัส : หนูอายุ 2 เดือน ชอบทำเสียงอูๆ […]
พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน (มีคลิป)
เจ้าตัวเล็กของเรามีพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์อย่างไรบ้างกับการเจริญเติบโตทารกในครรภ์ตั้งแต่ 1 – 9 เดือนค่ะ มารับรู้พัฒนาการทารกในครรภ์ไปด้วยกันนะคะ ก่อนที่เจ้าตัวเล็กจะออกมาดูโลกด้วยร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ค่ะ
เบบี๋ตัวแค่เนี้ย รู้อะไรหลายอย่าง!
“เจ้าตัวน้อยซึ่งมีหน้าที่กิน นอนและขับถ่ายเป็นหลักเหมือนไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย ที่จริงมีหลายอย่างที่ลูกน้อยรับรู้และเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เขาออกมาอยู่ในโลกกว้างแล้ว”
วัย 5 เดือนเริ่ม คาดเดา “ทิศทางการเคลื่อนที่”
นอกจากจะเริ่มสังเกต ทิศทางการเคลื่อนที่ของสิ่งรอบตัวแล้ว เด็กน้อยตัวกะเปี๊ยกวัย 20-21 สัปดาห์ (5 เดือน) ยังรู้จักเชื่อมโยงภาพการเคลื่อนไหวที่เห็นกับเสียงที่ได้ยินด้วย