© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
Copyright © 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
นิทานพื้นบ้านไทย มรดกทางวัฒนธรรม นิทานยาวๆ โสนน้อยเรือนงาม หนึ่งในนิทานที่เล่ากันมาอย่างยาวนานในสังคมไทย ให้ข้อคิด คติสอนใจแกเด็กๆ
เล่านิทานให้ลูกฟังก่อนนอน นิทานเจ้าหญิง นิทานเล่าให้ลูกสาวฟัง ช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้ลูกน้อย สร้างความเพลิดเพลิน หลับอย่างอารมณ์ดี มีความสุข
เล่านิทาน ส่งเสริมพัฒนาการหลายด้านให้ลูก เป็นที่ยอมรับของพ่อแม่ทุกคน แต่วันนี้คุณเล่านิทานได้ถูกวิธีหรือยัง มาเรียนรู้วิธีเล่าที่ทำให้นิทานมีดีมากกว่าเดิม
นิทานกระต่ายกับเต่า นิทานอ่านก่อนนอนสนุก ๆ เพลิดเพลิน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สมอง และจินตนาการของเด็ก นิทานอีสปยังให้คติสอนใจดี ๆ อีกด้วย
นิทานอีสปสั้นๆ เล่าให้ลูกฟัง สร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ละเรื่องก็จะสอดแทรกข้อคิด คติสอนใจ ช่วยสอน และขัดเกลาจิตใจเด็ก ให้เติบโตเป็นเด็กดี
นิทานพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้านไทย เข้าใจวิถีชีวิตแบบไทยในอดีต เล่าให้ลูกฟังก่อนนอน พร้อมข้อคิด คติสอนใจดี ๆ นิทานพื้นบ้านไทยสนุกไม่แพ้นิทานต่างชาติ
นิทานพื้นบ้าน เป็นนิทานที่นอกจากฟังสนุก เพลิดเพลินแล้ว ยังมีข้อคิดดี ๆ สอดแทรกอยู่ในนิทาน อีกทั้งยังสอดแทรกประวัติและปลูกฝังความเป็นไทยให้ลูกได้อีกด้วย
การอ่านนิทานก่อนนอน มีประโยชน์กว่าที่คิด!! รวม นิทานอีสป นิทานสอนใจ สั้น ๆ พร้อมข้อคิดดี ๆ ไว้ให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านให้ลูกฟังก่อนนอน สอนให้เป็นเด็กดี มีคุณธรรม!!
พ่ออ่านนิทานให้ลูกฟัง อาจเป็นสิ่งที่เมื่อพูดถึง หลายคนอาจเกิดภาพในจินตนาการว่าเป็นหน้าที่ของแม่มากกว่าจริงมั้ยคะ แต่เมื่อเร็วๆ นี้ มีงานวิจัยที่เชื่อถือได้ ระบุว่า การที่ พ่ออ่านนิทานให้ลูกฟัง จะทำให้ลูกได้ประโยชน์มากกว่าที่แม่อ่านให้ฟังเสียอีก
นิทาน แหล่งรวมคติสอนใจ ที่จุดประกายฝัน แต่รู้ไหมประโยชน์ของมันยังมีอีกมากเป็นธนาคารคำศัพท์ สร้างสัมพันธ์ครอบครัว สิ่งดีๆมีให้ลูกรักเพียงคุณเริ่มอ่านออกเสียง
“นิทาน” เป็นเครื่องมือส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี อย่างไรก็ตามสังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ทำให้คุณพ่อคุณแม่มักไม่มีเวลาอ่านนิทานให้ลูกฟังอย่างสม่ำเสมอ และหากไม่มีเวลาอ่านอย่างสม่ำเสมอ ลูกก็ไม่ได้ประโยชน์หรือได้ประโยชน์ไม่เต็มที่
การอ่านนิทาน ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่พลิกหน้ากระดาษ อ่านไปเรื่อย ๆ แค่ไม่กี่หน้าก็จบ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวัยเด็กเป็นวัยที่เต็มไปด้วยจินตนาการ
ถ้าอยากให้ลูกมีพัฒนาดีรอบด้าน เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการอ่านนิทานให้ลูกฟัง แต่จะเริ่มเลือกหนังสือนิทานให้ลูกอย่างไร นิทานหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ แนะนำไว้
ฮุยเลฮุย เอ้า ฮุยเลฮุย ฮึบ… คำสั้นๆ ที่มีอยู่แทบทุกหน้าในเรื่อง หัวผักกาดยักษ์ ทำให้เด็กๆ จำได้ง่ายและสนุกที่จะทำท่าทางตาม นิทานภาพเรื่องหัวผักกาดยักษ์ ของ อเล็กเซ ตอลสตอย เป็นนิทานคลาสสิกที่อยู่คู่แพรวเพื่อนเด็กมาอย่างยาวนาน ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุกสนานและภาพที่เข้าใจง่าย ทำให้เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่พ่อแม่จะเลือกซื้อให้ลูกอ่านอยู่เสมอ แต่รู้มั้ยคะว่าเนื้อเรื่องที่เรียบง่ายแบบนั้นแฝงเรื่องที่สำคัญไว้นั่นคือ “ความสามัคคี” อาจจะเป็นเรื่องที่ดูยากเมื่อต้องสอนเรื่องความสามัคคีให้ลูก แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยกนิทานเรื่องนี้ขึ้นมาอ่านให้ลูกๆ ฟัง เด็กจะเข้าใจเรื่องที่ต้องการบอกได้ผ่านคอนเซ็ปต์ง่ายๆ ของเนื้อเรื่องที่เล่าอย่างเรียบง่ายว่า คุณตาเจอหัวผักกาดยักษ์ แต่คุณตาดึงคนเดียวไม่ไหว ต้องให้คุณยายมาช่วย หลานมาช่วย หมามาช่วย และให้แมวกับหนูมาช่วย เมื่อทุกคนออกแรงช่วยกัน ก็สามารถดึงหัวผักกาดขนาดยักษ์ออกมาได้สำเร็จ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของ “ความสามัคคี” แม้เด็กเล็กจะยังไม่รู้จักคำนี้ แต่ก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า “ถ้าพวกเราร่วมมือช่วยกัน จะทำทุกอย่างสำเร็จได้แน่นอน” หัวผักกาดยักษ์ เรื่อง อเล็กเซ ตอลสตอย ภาพ ชูเรียว ซาโต้ เรื่องภาษาไทย พรอนงค์ นิยมค้า
เรื่องราวของหนูสามตัวที่ออกมาเดินเที่ยวเล่นในป่า แต่ทว่าขากลับเกิดหลงทาง หมอกก็ลงหนาขึ้นทุกที หนูสามตัวจึงตัดสินใจจะค้างคืนที่บ้านหลังหนึ่ง ก๊อก ก๊อก ขอค้างคืนหนึ่งนะ เป็นนิทานที่เด็กๆ หลายคนชื่นชอบ เพราะทั้งตื่นเต้นชวนลุ้น ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกอบอุ่น ด้วยเรื่องและภาพ สัตว์เล็กๆ ในเรื่องเปรียบเสมือนเด็กๆ ที่ต้องการความอบอุ่นและปลอดภัย ส่วนลุงหมีก็อาจเปรียบได้กับผู้ใหญ่ที่ใจดีแบ่งปันความอบอุ่นและอ่อนโยนให้ นอกจากนั้น นิทานเรื่อง ก๊อก ก๊อก ขอค้างคืนหนึ่งนะ ยังแสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ด้วย 1.เรียนรู้การแก้ไขปัญหา หนูสามตัวหลงทาง กลับบ้านไม่ได้ หมอกก็ลงหนา จะทำอย่างไรดีนะ การที่หนูตัดสินใจจะค้างบ้านหลังหนึ่งกลางป่า เป็นการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในขณะนั้นๆ หนูสามตัวอาจเปรียบได้กับเด็กๆ ที่บางครั้งอาจพบปัญหา และต้องแก้ไขปัญหานั้นด้วยตัวเอง การกล้าที่จะเผชิญปัญหา หรือพยายามหาวิธีแก้ไขปัญหา เป็นจุดเริ่มต้นให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดค่ะ 2.เรียนรู้เรื่องมารยาท เมื่อตัดสินใจที่จะค้างคืนที่บ้านหลังนี้แล้ว แม้ว่าจะกล้าๆ กลัวๆ มีความไม่มั่นใจไปบ้าง แต่หนูสามตัวกลับไม่ลืมที่จะขออนุญาต ก่อนที่เข้าไปในบ้าน นอกจากนั้นเมื่อเข้าไปแล้ว ยังรู้สึกกังวลใจว่า การค้างคืนโดยไม่บอกเจ้าของ คงไม่ดี อีกด้วย หนูสามตัวแสดงให้เห็นว่า การขออนุญาตก่อน เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ อีกทั้งเมื่อสัตว์ตัวอื่นๆ เดินทางมาที่บ้านหลังนี้ ทุกตัวล้วนแต่เคาะประตูเพื่อ […]
มีห่านตัวหนึ่ง หน้าบึ้งหน้าบูด ไม่เอ่ยปากพูด หน้าบูดทั้งวัน แต่ห่านตัวนั้น ส่งเสียงเป็นเพลง อีเล้งเค้งโค้ง!! หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับบทกลอนข้างต้น และเมื่อถึงคำว่า อีเล้งเค้งโค้ง ก็อาจจะเปล่งเสียงคำนี้ให้ดังกว่าเดิมด้วยใช่ไหมล่ะคะ เจ้าห่านอีเล้งเค้งโค้ง เป็นขวัญใจของเด็กๆ มาอย่างยาวนาน รวมถึงเป็นขวัญใจของคุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านด้วย เพราะอีเล้งเค้งโค้งเป็นที่รู้จักมากว่า 20 ปีแล้วค่ะ! นิทานเรื่อง อีเล้งเค้งโค้ง แต่งและวาดภาพโดย ครูชีวัน วิสาสะ นักเขียน นักวาดภาพประกอบ และบรรณาธิการหนังสือภาพสำหรับเด็กที่ได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ มากมายเช่น ตัวเลขทำอะไร เจ้าหนูเมืองพิสดาร ฯลฯ มีผลงานเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ มากมาย อาทิ อีเล้งเค้งโค้ง, คุณฟองนักแปรงฟัน เป็นต้น ด้วยเรื่องราวที่สนุก มีจุดเด่นและน่าติดตาม ทำให้นิทานของครูชีวันเข้าไปอยู่ในใจเด็กๆ ได้ไม่ยาก โดยเฉพาะเรื่องอีเล้งเค้งโค้ง แต่กว่าจะเป็นอีเล้งเค้งโค้งอย่างในทุกวันนี้นั้น มีเรื่องราวอย่างไรบ้างนะ … กว่าจะเป็นอีเล้งเค้งโค้ง จุดเริ่มต้นของอีเล้งเค้งโค้ง เริ่มเมื่อประมาณปี 2534 ครูชีวันได้เข้าร่วมเวิร์คช็อปเรื่องการเขียนสร้างสรรค์ กับ Mr.Ernst A. Ekker กวีและนักเขียนเรื่องสำหรับเด็กชาวออสเตรีย […]
ชุดหนังสือนิทานเฉลิมพระเกียรติ นำเสนอพระปรีชาสามารถ 9 ด้าน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านการเล่าเรื่องในรูปแบบของหนังสือภาพ
แม้ว่าทารกตัวน้อยๆ จะยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาสาระจากหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้ฟังก็ตาม ไม่ต้องกังวลเลยค่ะ เพราะนั่นไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยจะไม่สามารถเรียนรู้อะไรเลย เพราะการที่เด็กทารกได้ยินได้ฟังเสียง จะเริ่มให้ความสนใจ เริ่มหัดแยกแยะระดับเสียงที่แตกต่างกัน ทารกตัวน้อยๆ ชื่นชอบที่จะได้ยินเสียงของพ่อแม่ขณะอ่านหนังสือ ขณะร้องเพลง หรืออุ้มในช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกัน พ่อแม่ควรถือโอกาสส่งเสียงหรือพูดคุยตั้งแต่ลูกยังแบเบาะ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้การฟังไปด้วย