AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกไม่อยากไปโรงเรียน ทำไงดี ? แม่ลองวิธีนี้ช่วยลูกได้ ไม่ต้องบังคับ

ลูกเริ่มไป โรงเรียนอนุบาล แล้วช่วงแรก ๆ แฮปปี้ดี อยากไปโรงเรียนทุกวัน แต่ผ่านไปไม่กี่วัน พฤติกรรมลูกเปลี่ยน “งอแง” ร้องลั่นบ้านไม่อยากไปโรงเรียน บ้านไหนเจอสถานการณ์แบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ถึงกับกุมขมับ ลูกไม่อยากไปโรงเรียน ทำไงดี  Amarin Baby & Kids

พ่อแม่รู้ไหม บางครั้งลูกอาจเจอสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร ไม่รู้ว่าจะจัดการกับปัญหาอย่างไรดี ทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายใจ เช่น ทะเลาะกับเพื่อน หรือถูกเพื่อนแกล้งแล้วไม่รู้วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมจน ลูกไม่อยากไปโรงเรียน ทำยังไงดี สถานการณ์เช่นนี้ “การเล่นสมมติ” เป็นอีกหนึ่งวิธีให้คุณแม่ค้นหาสาเหตุความกังวลของลูก สอนลูกให้รียนรู้ รวมถึงหาวิธีในการจัดการแก้ไขปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น

ลูกไม่อยากไปโรงเรียน ทำไงดี ต้องหาสาเหตุให้เจอก่อน

ลูกไม่อยากไปโรงเรียนมักเกิดจากหลายสาเหตุ   เช่น รู้สึกกังวลที่ต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ (Separation Anxiety) มีปัญหาที่โรงเรียน เช่น ทะเลาะกับเพื่อน ยังไม่ไว้วางใจคุณครู ไม่กล้าบอกความต้องการของตัวเอง ไม่กล้าแสดงออก ทำให้การอยู่โรงเรียนไม่มีความสุข ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ควรถามสาเหตุกับเด็ก แต่ถ้าเขาไม่บอกตรง ๆ “การเล่นบทบาทสมมติ” เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งช่วยให้ลูกเปิดเผยความลับในใจออกมาโดยไม่รู้ตัว เพราะการเล่นเป็นภาษาของเด็ก ๆ ทำให้ลูกรู้สึกสนุก ผ่อนคลาย บรรยากาศรอบตัวก็เปลี่ยนไปด้วย ไม่นานลูกจะกล้าพูดคุยถึงปัญหาของตนเองออกมา

 

 MUST READ :เข้าใจหัวอกแม่ ลูกไม่ยอมไปโรงเรียน ทำยังไงดี?

 

ชวนลูกเล่นสมมติอย่างไรให้รู้ทำไมลูกไม่อยากไปโรงเรียน

 

 

ถ้าลูกมีปัญหากับเพื่อน “เล่นสมมติ” ช่วยแก้ปัญหาได้ 

ในบางครั้งลูกอาจมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนแล้วไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไรดี ไม่ว่าจะเป็น ลูกไม่มีเพื่อนเล่น ทะเลาะกับเพื่อน  เรามาดูวิธีการเล่นสมมติในสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้กันค่ะ

สถานการณ์ที่ 1 : อยากเล่นกับเพื่อน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี

 

การเล่นกับเพื่อนใหม่ ๆ

สถานการณ์ที่ 2 :ลูกโดนเพื่อนแกล้ง 

 

 MUST READ :ลูกโดนรังแก บ่อยควรสอนให้สู้ไม่ถอย หรือหนีเอาตัวรอดเป็น

 

ข้อดีจากการเล่นสมมติโดยใช้วิธีการดังกล่าว คือ ช่วยพัฒนาอารมณ์ทางบวก เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่รัก มีความสำคัญ มีคนเข้าใจ ช่วยพัฒนาความคิดและการตัดสินใจ เด็กจะได้ฝึกซ้อมวิธีการแก้ปัญหา ทำให้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น และเข้าใจตัวเองได้ดีขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถนำการเล่นสมมติมาปรับใช้กับปัญหาในสถานการณ์อื่น ๆ ของเด็กได้ตามความเหมาะสมด้วยนะคะ

 


 

บทความโดย

ฉันทิดา สนิทนราทร เวชมงคลกร นักเล่นบำบัดและนักจิตวิทยาพัฒนาการ โรงพยาบาลมนารมย์

จากนิตยสาร Amarin Baby & Kids

 

บทความน่าสนใจเพิ่มเติม

ทำไมพ่อแม่ต้อง เล่นสนุกกับลูก ?

7 กิจกรรมเล่นกับลูก ได้จินตนาการ เสริมพัฒนาการลูกดีทุกด้าน

8 บอร์ดเกมเด็ก ต้องมีติดบ้าน ช่วยเพิ่มทักษะรอบด้านให้ลูก