AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เลือกซื้อ แยมสตรอเบอร์รี่ ยี่ห้อไหนดี ไม่ทำลายสุขสภาพลูกน้อย

แยมสตอเบอรี่ ยี่ห้อไหนดี … ซึ่ง แยม เป็นของหวานประเภทหนึ่ง ใช้รับประทานโดยการทาลงบนขนมปังเพื่อเพิ่มรสชาติให้ขนมปังอร่อยมากขึ้น แยมมักจะทำมาจากผลไม้ หากลูกน้อยของคุณชอบทานขนมปังทาแยม แล้วคุณแม่จะเลือกซื้อ แยมโดยเฉพาะรสชาติยอดฮิตอย่าง แยมสตรอเบอรี่ ยี่ห้อไหนดี ที่ไม่ทำลายสุขสภาพของลูกน้อยและทุกคนในครอบครัว Amarin Baby & Kids มีคำตอบมาฝากค่ะ

เลือกซื้อ แยมสตรอเบอร์รี่ ยี่ห้อไหนดี ไม่ทำลายสุขสภาพลูกน้อย

แยมเป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลความเข้มข้นสูง เพื่อป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์ ถือเป็น อาหารหวานประเภทหนึ่งใช้ทานกับขนมปัง มีลักษณะคล้ายเยลลี่แต่ไม่จับตัวเป็นก้อน โดยมีวิธีการผลิตคือการนำของที่จะทำเป็นแยม (เช่น ผลไม้ชนิดต่างๆ) มาต้มกับน้ำและน้ำตาล เพื่อให้สารเคมีในตัวของผลไม้ทำปฏิกิริยากับน้ำตาล แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นก็จะได้แยมตามที่ต้องการ โดยแยมสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

กระบวนการทำแยม

แยมประกอบไปด้วยส่วนผสมหลักๆที่สำคัญ 3 อย่างด้วยกัน นั่นก็คือ น้ำตาล เพกติน และกรด ผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม

น้ำตาล ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดเป็นรสชาติ อีกทั้งยังช่วยให้เพกตินก่อตัวเป็นเจลด้วยดึงน้ำออกมาจากเพกติน ซึ่งก็ถือเป็นข้อดีที่ช่วยให้ยืดอายุการเก็บของแยมได้นานขึ้น นั่นก็เป็นเพราะว่าความชื้นทำให้อาหารเน่าเสียได้เร็ว เมื่อมีน้ำตาลอยู่มาก ก็จะไม่มีที่เหลือให้น้ำได้อยู่ แบคทีเรียก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้

อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำตาลสุดท้ายในแยมควรจะอยู่ที่ 65-69% ซึ่งหากคุณแม่จะเลือกซื้อแยม ที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพของลูกน้อยควรเลือกแยมที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลที่ไม่มากจนเกินไป เพื่อไม่ให้ลูกน้อยติดหวาน หรือมีค่าน้ำตาลเกินจากการกินแยมเหล่านี้ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ตั้งแต่เด็กนั่นเอง

ซึ่งจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แนะนำให้คนเราควรรับประทานน้ำตาลแค่วันละ 6 ช้อนชา (หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงโรคเบาหวาน ที่ถูกยกระดับให้เป็นโรคอันตรายเทียบเท่า “โรคเอดส์” แต่ที่น่าตกใจคือจากการสำรวจของกรมอนามัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กลับพบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 20 ช้อนชา เกินกว่าปริมาณแนะนำถึง 3 เท่า โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ชอบกินขนม ลูกอม ของหวาน และดื่มน้ำอัดลมวันละหลายขวด หลายกระป๋อง จึงเห็นได้ว่าเด็กไทยจำนวนมากในยุคนี้มีภาวะน้ำหนักเกินตามมานั่นเอง จนสถิติ อ้วนลงพุงของเด็กไทยพุ่งสูงขึ้นที่สุดในโลก และในรอบ 5 ปีที่ผ่านมานี้ พบเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ขณะเดียวกันยังพบว่า มีคนไทยถึง 17 ล้านคน ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน ไม่แปลกเลยที่สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน จะพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย และสำหรับในเด็กอายุ 6-13 ปี จะมีปริมาณพลังงานที่ใช้ต่อวัน 1600 kcal ก็มีปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวันไม่เกิน 4 ช้อนชา

ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.lovefitt.com

เพกติน จะพบได้ตามธรรมชาติในผนังเซลล์ของพืช ได้แก่ เปลือกหรือแกนของผลไม้ มีโครงสร้างโมเลกุลน้ำตาลเรียงต่อกันยาว เมื่อเราเอาผลไม้ไปเคี่ยวหรือผ่านความร้อน เพกตินก็จะถูกปล่อยออกมา และเมื่อมันไปรวมกับน้ำตาลและกรดในสัดส่วนที่เหมาะสม โมเลกุลที่เรียงกันยาวเหมือนลูกโซ่นี้มันก็จะไปเชื่อมต่อกัน ซึ่งอุณหภูมิที่ใช้ก็ประมาณ 104°C และหลังจากที่มันเย็นตัวลงแล้วแยมก็จะเกาะกัน

อย่างไรก็ตาม ผลไม้แต่ละชนิดก็จะมีปริมาณเพกติน มากน้อยต่างกัน ที่มีมากก็คือ แอปเปิ้ล แบล็คเคอร์แรนท์ และองุ่น ส่วนที่มีน้อยกว่าก็ได้แก่ พวกเบอร์รี่ทั้งหลาย ซึ่งถ้าจะเอามาทำแยมก็ต้องเอาผลไม้ที่มีเพกตินมากกว่ามาผสมหรือใช้เพกตินสกัดแทนก็ได้

อ่านต่อ >> “ส่วนประกอบสำคัญในแยม และรีวิวแยมสตรอเบอร์รี่ เทียบส่วนประกอบเนื้อเน้นๆ รวม 19 ยี่ห้อ” คลิกหน้า 2

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

กรด เป็นส่วนประกอบตัวสุดท้ายที่จะช่วยให้แยมอยู่ตัว โดยปกติแล้วผลไม้ก็มีกรดตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ไม่มากพอจึงต้องเติมกรดธรรมชาติ เช่น กรดซิตริกจากส้ม มะนาว หรือกรดทาร์ทาริก จากองุ่น มะขาม ลงไปด้วย เพื่อปรับค่า PH ให้อยู่ระหว่าง 2.8-3.3 เพื่อให้แยมมีลักษณะเป็นเจล

ซึ่งความข้นของเนื้อแยมที่ดีจะต้องมีสัดส่วนของส่วนประกอบทั้งสามที่เหมาะสม ก็จะได้แยมที่มีลักษณะเป็นเจลกึ่งเหลว มีความข้นเหนียวพอเหมาะ นำมาปาดหรือทาบนขนมทานได้ง่ายๆ ซึ่งสูตรแยมส่วนใหญ่ใช้ผลไม้และน้ำตาลในอัตราส่วน 1:1 หากใส่ผลไม้มากไป ก็อาจจะทำให้เก็บแยมได้ไม่นาน หรือถ้าหากใส่น้ำตาลมากไป น้ำตาลก็อาจจะนอนก้นได้ระหว่างการเก็บ ทั้งนี้หากทำทานเองก็ไม่มีขั้นตอนอะไรที่ยุ่งยาก ทำแล้วเก็บใส่ตู้เย็นไว้ทานได้เป็นสัปดาห์

แต่หากผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ก็ไม่แน่ว่าผู้ผลิตบางรายอาจเติมสารกันบูดที่ชื่อ กรดซอร์บิก ลงไปเพื่อป้องกันการเติบโตของยีสต์ เชื้อรา และแบคทีเรียที่ทำให้เน่าเสีย

ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร อนุญาตให้ใช้ กรดซอร์บิก เติมในอาหารได้ แต่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด สำหรับแยมกำหนดให้ใช้กรดซอร์บิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม

เพราะตามปกติหากได้รับสารกันบูดในปริมาณไม่สูง หรืออยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ร่างกายจะสามารถขับออกเองได้ตามธรรมชาติ แต่หากได้รับบ่อยครั้ง เป็นเวลานานๆ ตับและไตก็จะรับภาระหนักในการกำจัดออกจากร่างกายนานเข้าก็จะมีสารกันบูดสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดสารเคมีต่างๆของไตและตับลดลง จนทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับไตและตับได้ ซึ่งเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง ในการเลือกซื้อแยมทาขนมปัง เพื่อให้ลูกน้อยมารับประทาน อย่างถี่ถ้วนด้วย

Good you know แยม จัดเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ทำมาจากผลไม้ โดยคุณค่าทางสารอาหารของแยม อยู่ที่ประมาณ 2 ช้อนชา ให้พลังงานประมาณ 30 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรตประมาณ 7 กรัม แยมไม่มีโปรตีนและไขมัน การที่จะนำไปทาขนมปัง ถ้าต้องการให้มื้ออาหารมื้อนั้นได้คุณค่าทางสารอาหารมากขึ้น ก็สามารถกินขนมปังโอลวีตทาแยมได้เช่นกัน

ดังนั้นแล้ว เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย สำหรับเด็กบ้านไหนที่ชอบกินขนมปังทาแยม คุณแม่จึงต้องให้ความสำคัญในการเลือกซื้อแยม และให้ลูกน้อยกินอย่างพอดี เพื่อไม่เป็นการทำลายสุขภาพของลูกน้อย ซึ่งในครั้งนี้ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงได้นำแยม โดยเฉพาะแยมสตรอเบอร์รี่ ซึ่งเป็นรสชาติยอดนิยมที่คุณแม่มักซื้อให้ลูกทาน มาเทียบส่วนประกอบให้ดูกันแบบเน้น ๆ โดยแยมนี้สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดห้างห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป

ซึ่ง แยมสตรอเบอร์รี่ ยี่ห้อไหนดี มีส่วนประกอบหรือส่วนผสมอะไรอยู่ปริมาณเท่าไหร่บ้าง สามารถดูกันได้ที่นี่ ตรงนี้เลยค่ะ… เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจให้คุณแม่ๆ ได้พิจารณาก่อนเลือกซื้อแยมสตรอเบอร์รี่ ที่ดีต่อสุขภาพของลูกน้อยและทุกคนในครอบครัวนะคะ …โดยจะแบ่งออกเป็นแยมที่ผลิตในไทยและผลิตจากต่างประเทศ ดังนี้

รีวิว แยมสตรอเบอร์รี่ เทียบส่วนประกอบเนื้อเน้นๆ รวม 19 ยี่ห้อ

อ่านต่อ >> “รีวิวเทียบส่วนประกอบเนื้อเน้น ๆ ของแยมสตรอเบอร์รี่ ที่ผลิตจากต่างประเทศ” คลิกหน้า 3

⇒ แยมสตรอเบอร์รี่ ที่ผลิตจากต่างประเทศ ⇐

อ่านต่อ >> “ตารางสรุปเปรียบเทียบ เนื้อของแยมสตรอเบอร์รี่ และข้อมูลโภชนาการของทั้ง 19 ยี่ห้อ” คลิกหน้า 4

ภาพข้างต้นนี้เป็นการเปรียบเทียบ สีและลักษณะของเนื้อแยมสตรอเบอร์รี่ ในแต่ยี่ห้อ เน้นแบบภาพต่อภาพเพื่อให้คุณแม่ได้เห็นถึงเนื้อแยมแต่ละยี่ห้อว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร


ตารางเทียบข้อมูลโภชนาการของ แยมสตรอเบอร์รี่
ทั้ง 19 ยี่ห้อ


ขอบคุณข้อมุลอ้างอิงจาก : th.wikipedia.org , www.thairath.co.th , health.haijai.com