ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ หรือ แชมพู สบู่เด็ก…เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องมีความพิถีพิถันในการเลือกยิ่งกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้เอง เพราะผิวของลูกน้อยเมื่อแรกเกิดจะมีลักษณะพิเศษ คือ ละเอียดอ่อน บอบบางและระคายเคืองต่อสิ่งที่มากระทบได้ง่าย โดยเฉพาะสารเคมีต่างๆ
เนื่องจากเซลล์ผิวหนังแท้และหนังกำพร้ายังไม่ยืดหยุ่น แข็งแรง และยังสูญเสียความชุ่มชื้นได้มากกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้ผิวแห้งได้ง่ายกว่า คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักวิธีเลือกผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับผิวที่บอบบางของลูก หรือเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่วางใจได้ว่า ลูกน้อยจะได้รับการดูแลที่ดีกว่า เพราะมีโอกาสที่ลูกจะสัมผัสกับสารเคมีที่ตกค้างจากสบู่ แชมพู ได้ง่าย โดยมีคำแนะนำสำหรับการเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับทารกแรกเกิด ดังนี้ค่ะ
สบู่
ควรเลือกใช้สบู่เหลวหรือครีมอาบน้ำสำหรับเด็กเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิว เนื่องจากการสบู่ก้อนจะทำให้ผิวลูกแห้งได้ง่ายกว่า โดยเลือกใช้สบู่ที่มีความเป็นกรดอ่อนๆ และหลีกเลี่ยงสบู่ที่มีส่วนประกอบของ น้ำหอม สี และสารเคมีต่างๆ ในกรณีที่ลูกมีผิวแห้งมากในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะอาบน้ำลูกด้วยน้ำสะอาดเพียงอย่างเดียวก็ได้นะคะ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวไว้ เพราะเด็กทารกจะยังไม่มีกิจกรรมโลดโผนเหมือนเด็กที่คลานได้หรือเดินได้แล้ว จึงมีเหงื่อออกไม่มาก สามารถใช้น้ำสะอาดอย่างเดียวก็ได้ค่ะ แต่ในกรณีลูกผิวแห้งมาก อาจผสมน้ำมันสำหรับเด็กสัก 2-3 หยดลงในน้ำที่ใช้อาบ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นก็ได้ค่ะ
แชมพูสระผม
ควรเลือกใช้แชมพูสำหรับเด็ก โดยหลีกเลี่ยงการใช้แชมพูที่มีสีและน้ำหอมเจือปน เพราะสารทำความสะอาดจะอ่อนโยนกว่ายาสระผมทั่วไป สำหรับเด็กแรกเกิดในช่วง 1-2 เดือนแรก อาจจะยังสระผมด้วยการใช้น้ำสะอาดไปก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยใช้แชมพูสระผมสำหรับเด็กก็ได้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแอน – พญ. ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
อ่านต่อ >> “รีวิวแชมพูสบู่เด็ก แบบเฮดทูโท ยี่ห้อไหนคุ้มค่าน่าใช้และอ่อนโยนต่อผิวลูก” คลิกหน้า 2
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- วิธีทำความสะอาดลูกน้อย ตั้งแต่หัวจรดเท้า (มีคลิป)
- การอาบน้ำทารกแรกเกิด ไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน
- ชวน ลูกอาบน้ำ แบบสนุกมีความสุขได้ทุกวัน ด้วย 5 สิ่งโดนใจ ไม่มีเบื่อ!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
รีวิวแชมพูสบู่เด็ก
หัวใจหลักของการอาบน้ำให้ลูกเพื่อสุขภาพที่ดีของผิวลูกน้อยก็คือสบู่เด็กนั่นเอง คุณแม่หลายคนอาจจะเข้าใจว่าสบู่แบบไหนก็น่าจะดูแลผิวได้เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้ว สบู่ที่ดีที่สุดสำหรับลูก ควรเป็นสบู่ที่ผลิตขึ้น สำหรับสภาพผิวของลูกน้อยโดยเฉพาะ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดทั้งผมและผิวของลูกน้อย ไม่ใช่ว่าจะใช้ยี่ห้อไหนอะไรก็ได้ เพราะสบู่และแชมพูเด็กนั้นต้องมีความอ่อนโยนและเหมาะกับผิวที่บอบบาง
โดยในการเลือกซื้อแชมพูสบู่ให้ลูกน้อย ความคุ้มค่าและใช้งานสะดวก ก็น่าจะอยู่ที่การเป็นผลิตภัณฑ์ชำระร่างกายแบบสำเร็จรูปในขวดเดียว นั่นคือใช้ล้างได้ตั้งแต่เส้นผมจดปลายเท้า หรือสบู่เด็กแบบ Head to Toe นั่นเอง ซึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ทั้งสระผมและอาบน้ำ (Head and body baby bath หรือ Head to toe หรือ Top to toe) คุณแม่ควรเลือกที่ผ่านการทดสอบว่าไม่ก่อให้เกิดการแพ้ หรือไม่ระคายเคืองต่อหนังศีรษะ ผิวหนัง และเยื่อบุตาของลูก
ดังนั้นเพื่อตัวช่วยให้กับคุณแม่ Amarin Baby & Kids จึงมีรีวิวแชมพูสบู่อาบน้ำเด็ก ที่เหมาะสำหรับลูกน้อยตั้งแต่วัยทารกแรกเกิดมาฝากกันค่ะ งานนี้บอกเลยคุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด ยี่ห้อไหน จะมีราคาคุ้มค่า น่าใช้ และอ่อนโยนต่อผิวลูก ตามมาดูกันเลย…
รีวิว ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ รีวิวแชมพูสบู่เด็ก แบบเฮดทูโท ดูแลครบทั้งผมและผิว สำหรับลูกน้อยโดยเฉพาะ!
อ่านต่อ >> “รีวิวเทียบการล้างออกง่ายและราคาความคุ้มค่า ของแชมพูสบู่เด็ก แบบเฮดทูโท ทั้ง 7 ขวด” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เทียบการล้างออกง่าย
โดยการทดสอบจากการใช้ ไซริงค์ดูดแชมพูสบู่เด็กของแต่ละยี่ห้อในปริมาณที่เท่ากัน คือ 0.5 หรือ ½ ซีซี หยดลงบนหลังมือ แล้วถูวนประมาณ 5 วินาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำในปริมาณตามรูป ที่เท่ากันทุกครั้ง เพื่อดูผลลัพธ์ว่า แต่ละยี่ห้อ สามารถล้างออกด้วยน้ำกี่แก้ว ซึ่งสรุปได้ตามภาพ ดังนี้…
เทียบราคาความคุ้มค่า
ดูจากราคาและปริมาณของแชมพูสบู่ที่นำมารีวิว ซึ่งเป็นขนาดแบบพกพาสะดวกหาซื้อง่าย โดยเทียบให้เห็นความคุ้มค่า ใน ราคา (บาท) ต่อ ปริมาณ 1 มิลลิตร ซึ่งสรุปได้ ดังนี้…
♦ เคล็ดลับและเทคนิคการเลือกสบู่สำหรับลูกน้อย
- สบู่ ที่เลือกใช้ ควรมีค่าความเป็นกรดอ่อนๆ หรือเป็นกลาง มีค่า 5 เพื่อคงความสมดุลของผิวลูก และสร้างเกราะป้องกันผิวลูกจากเชื้อโรคภายนอก
- เลือกผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า ผลิตไว้สำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพราะจะไม่ระคายเคืองผิวลูก
- สบู่ที่เลือกใช้ไม่ควรมีฟองมาก และไม่มีความเป็นด่างมาก หรือไม่มียาฆ่าเชื้อโรค (เช่น Trichosan) รวมทั้งไม่มีสีและไม่มีน้ำหอม ซึ่งฟองจะทำให้ไขมันตามธรรมชาติที่มีอยู่ที่ผิวหนังลดน้อยลงเป็นอันตรายต่อผิวหนังได้ ความเป็นด่างและยาฆ่าเชื้อโรคทำให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง สีและกลิ่นทำให้เกิดผื่นแพ้ได้
- สบู่เด็กจะต้องมีส่วนผสมจากธรรมชาติเป็นหลัก เพราะจะอ่อนโยน และดูแลผิวได้ดี
- เลือกสบู่ที่มีกลิ่นหอม อ่อนโยน ไม่มีน้ำหอมฉุน เพื่อป้องกันการแพ้จากน้ำหอม
- เลือกสบู่ที่ล้างออกง่าย ไม่ทิ้งความเหนียวเหนอะหน่ะบนผิวลูกน้อย
- การอาบน้ำแต่ละครั้งไม่ควรใช้สบู่มากเกินไปและถูสบู่ทิ้งไว้บนผิวหนังเป็นเวลานาน เนื่องจากทารกมีผิวบอบบาง หลังการอาบน้ำทุกครั้งควรล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งจนไม่มีสารเหลือตกค้างบนผิวหนัง
♦ เคล็ดลับในการเลือกแชมพูสระผมสำหรับลูกน้อย
- แชมพูที่ดีควรมีความเป็นกรดด่างใกล้เคียงกับน้ำตาเพื่อไม่ให้เกิดความระคายเคืองต่อตา
- แชมพูควรมีความหนืดเพียงพอที่จะไม่ไหลลงมาโดนตาของเด็ก
- เลือกแชมพูที่ไม่ผสมสีและน้ำหอม เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของลูกน้อยได้
- แชมพูบางชนิดอาจมีส่วนผสมของตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคที่หนังศีรษะ เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่จึงควรใส่แชมพูให้ทั่วหนังศีรษะและใช้ผ้าขนหนูหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 10-20 นาทีก่อนล้างออก
- ก่อนซื้อ แชมพูหรือสบู่เด็ก อย่าลืมอ่านฉลาก ดูส่วนประกอบอย่างละเอียดด้วยนะคะ อาจใช้เวลามากหน่อย แต่เพื่อความปลอดภัยของลูกรักแล้ว คนเป็นแม่อย่างเราต้องใส่ใจค่ะ
อย่างไรก็ดี นอกจากคุณแม่จะต้องพิถีพิถันในการเลือกสบู่ให้ลูกน้อยแล้ว คุณแม่ยังต้องเป็นคนช่างสังเกตด้วยว่า ลูกน้อยมีอาการแพ้เกิดขึ้นหรือไม่ การเลือกสบู่ที่ไม่เหมาะกับผิวเด็กนั้น อาจจะส่งผลร้ายแรงเกินกว่าที่คุณคิด เพราะผิวเด็กที่บอบบางนั้น เมื่อเกิดผื่นแพ้ขึ้นแล้ว นอกจากจะสร้างความเจ็บปวดทางร่างกายให้ลูกน้อยแล้ว ยังมีผลกระทบทางจิตใจและพัฒนาการเด็กอีกด้วย เพราะหากลูกไม่สบายตัว ลูกก็จะโยเย จนไม่อยากจะทำอะไร คุณแม่เองก็จะพลอยหนักใจไปด้วย เพราะฉะนั้น สบู่นั้นจึงเป็นอีกสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเลยนะคะ
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- รีวิว ผลิตภัณฑ์ดูแลเด็ก สินค้าเด็ดส่งจากญี่ปุ่น ที่คุณแม่ต้องห้ามพลาด!!
- รีวิวครีมกันแดด สำหรับเด็ก ตัวไหนเหมาะกับลูกที่สุด!
- เปรียบเทียบสารสำคัญในสเปรย์กันยุงและแผ่นแปะกันยุง ซื้ออย่างไร แบบไหนดี?
ข้อมูลจาก: พญ.ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ กุมารแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี ,กุมารแพทย์ ด้านจิตวิทยา โรงพยาบาลผิวหนังอโศก