ล้างจมูกให้ลูก …เมื่อลูกน้อยอึดอัดแน่นคัดจมูก หายใจไม่สะดวก มีน้ำมูก ทำให้ลูกรู้สึกไม่สุขสบาย ดูดนมได้ไม่ค่อยดี งอแง หงุดหงิด นอนไม่ได้ การระบายน้ำมูกในจมูก ด้วย น้ำเกลือล้างจมูก หรือใช้ยาพ่นจมูก จะช่วยให้เด็กๆสบายขึ้น จมูกสะอาด ลดการแพร่เชื้อและลดการใช้ยาลงได้ด้วย
การ ล้างจมูกให้ลูก เป็นการชะล้างเอาน้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัส หรือคราบสะเก็ดแข็งของเยื่อบุจมูกหลังการผ่าตัดจมูกและไซนัส หรือหลังการฉายแสงออก ด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิดของไซนัสโล่ง ทำให้บรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ทั้งที่ไหลออกมาข้างนอก และไหลลงคอ นอกจากนั้นการล้างจมูก ด้วย น้ำเกลือล้างจมูก ก่อนการพ่นยาในจมูก จะทำให้ยาสัมผัสกับเยื่อบุจมูกได้มากขึ้น ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
รวมผลิตภัณฑ์ ยาพ่น และ น้ำเกลือล้างจมูก
ซึ่งวิธีการระบายน้ำมูกในจมูกมีหลายวิธี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กด้วย โดยอาการและการอุดตันของรูจมูก ความเหนียวและปริมาณของน้ำมูก ได้แก่
- การสั่งน้ำมูก เหมาะกับเด็กโต ที่น้ำมูกใส ไม่เหนียวข้น ปริมาณไม่มาก
- การเช็ดน้ำมูก เหมาะกับเด็กเล็ก โดยใช้ไม้พันสำลี จุ่มน้ำเกลือแล้วสอดเข้าไปเช็ดรูจมูกทีละข้าง น้ำมูกจะติดปลายไม้พันสำลีออกมา
- การดูดน้ำมูก ใช้เมื่อเด็กสั่งน้ำมูกเองไม่ได้ มี 2 วิธี คือ
√ ดูดด้วยเครื่องดูดต่อกับอุปกรณ์ดูดน้ำมูก ใช้สำหรับเด็กเล็กที่มีน้ำมูกเหนียว ข้น จำนวนมาก คั่งค้างอยู่
ในรูจมูก เด็กไม่สามารถสั่งน้ำมูกออกได้เอง หรือออกได้ไม่หมด จนมีอาการแน่น อึดอัด
หายใจไม่สะดวก
√ ดูดด้วยลูกยางแดง เหมาะกับเด็กเล็กที่มีน้ำมูกใส ไม่เหนียว ปริมาณไม่มาก โดยสามารถใช้น้ำเกลือหยดที่รูจมูก ข้างละ 2 หยด เพื่อช่วยให้น้ำมูกมีความข้นเหนียวลดลง แล้วใช้ลูกยางแดง ดูดทั้งน้ำมูกและน้ำเกลือออกทันที และหากในกรณีที่รู้สึกว่ามีน้ำมูกไหลลงคอ ใช้ลูกยางแดงสอดเข้าทางปากบริเวณคอหอยเพื่อดูดออกได้
- การหยอดน้ำเกลือ เหมาะกับเด็กที่มีน้ำมูกข้นหรือแห้งกรังในจมูก โดยหยอด น้ำเกลือล้างจมูก เข้าในรูจมูกข้างละ 1-2 หยด เพื่อให้น้ำมูกอ่อนตัวและไหลลงคอ ทำให้จมูกโล่งขึ้น อาจให้เด็กสั่งน้ำมูกตามร่วมด้วย ในกรณีเด็กทารก ไม่ควรหยอดน้ำเกลือทิ้งไว้โดยไม่เช็ดน้ำมูกหรือใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออก เพราะน้ำมูกที่แห้งจะพองตัวและอุดรูจมูก ทำให้หายใจไม่สะดวก
- การล้างจมูก เป็นการขจัดคราบน้ำมูกที่ติดอยู่ในโพรงจมูก ด้วย น้ำเกลือล้างจมูก ทำให้น้ำมูกเหนียวน้อยลง ทำให้การระบายน้ำมูกในโพรงจมูกดีขึ้น บรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล และระคายคอได้
- การพ่นจมูก ควรทำหลังจากล้างจมูกแล้ว โดยใช้อุปกรณ์พ่นน้ำเกลือแบบสเปรย์ เหมาะกับกรณีปริมาณน้ำมูกน้อย และไม่เหนียว
√ บทความแนะนำน่าอ่าน >> ล้างจมูกลูกอย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย
√ บทความแนะนำน่าอ่าน >> เคาะปอดขับเสมหะ ให้ลูกน้อย วิธีง่ายๆทำได้เองที่บ้าน
การล้างจมูกมีประโยชน์อย่างไร?
- ช่วยล้างมูกเหนียวข้นที่ไม่สามารถระบายออกได้เอง ทำให้โพรงจมูกสะอาด
- อาการหวัดเรื้อรังดีขึ้น
- ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอด
- ช่วยลดจำนวนเชื้อโรค ของเสีย สารก่อภูมิแพ้และสารที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อสารก่อภูมิแพ้
- ให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุจมูก
- บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก ทำให้หายใจโล่งขึ้น
- บรรเทาอาการระคายเคืองในจมูก
- การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูกจะทำให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น
อ่านต่อ >> “รวมผลิตภัณฑ์ยาพ่นและน้ำเกลือล้างจมูก เลือกแบบไหน อย่างไรให้ลูกดี” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ควรล้างจมูกให้ลูกเมื่อไรดี? : เมื่อมีน้ำมูกเหนียวข้นจำนวนมาก และก่อนใช้ยาพ่นจมูก
ควรล้างจมูกให้ลูกบ่อยแค่ไหน? : อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งช่วงตื่นนอนตอนเช้า และก่อนเข้านอน หรือเมื่อคุณแม่รู้สึกเห็นว่าลุกมีน้ำมูกมาก แน่นจมูก หรือก่อนใช้ยาพ่นจมูก แนะนำให้ทำในช่วงท้องว่าง เพราะลูกจะได้ไม่เกิดอาการอาเจียนออกมา
การล้างจมูกมีอันตรายหรือไม่? : ถ้าทำได้ถูกต้อง ตามในช่วงอายุ และเวลาที่เหมาะสม จะไม่มีอันตราย แต่ก็อาจมีอันตรายเกิดขึ้นได้ เช่น การสำลัก การนำเชื้อเข้าไปในโพรงไซนัส ปัญหาการสำลักจะไม่เกิดขึ้น
ส่วนกรณีที่เป็นการล้างจมูกในเด็กสามารถทำได้อย่างปลอดภัย แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องระวังไม่ให้เกิดการสำลักน้ำเกลือล้างจมูก เนื่องจากเด็กอาจจะยังไม่สามารถควบคุมการหายใจหรือการสั่งน้ำมูกได้อย่างถูกต้อง การล้างจมูกในเด็กจึงจำเป็นจะต้องอยู่ในการควบคุมของคุณพ่อคุณแม่ด้วยตลอดเวลา และมีแพทย์เป็นผู้แนะนำวิธีการอย่างละเอียด
√ บทความแนะนำน่าอ่าน >> สีของน้ำมูก สามารถบอกสุขภาพของลูกได้
√ บทความแนะนำน่าอ่าน >> 6 เรื่องที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ เมื่อทารกเป็นหวัด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ข้อควรระวัง
- น้ำเกลือล้างจมูก และอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำเกลือไม่ควรใช้ขวดใหญ่ เพราะการเปิดทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่องนานจนกว่าจะหมดจะทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ได้ โดยทั่วไปใช้ขวดละ 100 ซีซี เพื่อให้หมดเร็วจะได้ไม่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- ควรล้างจมูกเมื่อมีน้ำมูกเหนียวข้นจำนวนมาก (ถ้าน้ำมูกใส และมีจำนวนเล็กน้อยให้สั่งออกมา)
- หลังฉีดน้ำเกลือล้างจมูกเข้าไปในโพรงจมูกให้สั่งน้ำมูกออกทันที ไม่ควรกลั้นหายใจเพื่อกักน้ำเกลือให้ค้างในจมูกนาน เพราะน้ำเกลืออาจจะไหลย้อนไปในไซนัส
- ควรให้ลูกสั่งน้ำมูกเบาๆ และไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง เพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุได้
- ห้ามใช้ “น้ำเปล่า” ล้างโพรงจมูก เนื่องจากน้ำเปล่า ไม่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย จะทำให้เกิดอาการสำลักน้ำ และโพรงจมูกรู้สึกแสบ
- ไม่ควรฉีดน้ำเกลือแรง เพราะการฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกแรงๆ อาจทำให้โพรงจมูกเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบได้
- การใช้ยาพ่นจมูก หากต้องใช้ยาพ่นหลังล้างจมูก ควรรอให้โพรงจมูกแห้งก่อน อย่างน้อย 3-5 นาที จึงพ่นยา
ทั้งนี้หากคุณแม่ทราบถึงวิธีการกำจัดน้ำมูกให้ลูกน้อยแบบต่างๆ แล้ว รวมไปถึงประโยชน์ของการล้างและพ่นจมูกให้กับลูกน้อยแล้ว Amarin Baby & Kids จึงได้รวบรวมนำเอาผลิตภัณฑ์เพื่อการล้างจมูกแบบต่างๆ สำหรับลูกน้อยและทุกคนในครอบครัว มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ดูกันค่ะ พร้อมพิจารณานำไปใช้เพื่อบรรเทาอาการคัดแน่นจมูก ระบายน้ำมูกให้กับลูกน้อยกันนะคะ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
อ่านต่อ >> “รวมผลิตภัณฑ์ยาพ่นและน้ำเกลือล้างจมูก เลือกแบบไหน อย่างไรให้ลูกดี” คลิกหน้า 3
ผลิตภัณฑ์ยาพ่น และ น้ำเกลือล้างจมูก
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน >> วิธีใช้ลูกยางแดง ดูดน้ำมูก-เสมหะ ให้ลูกน้อยหายใจสะดวก
√ บทความแนะนำน่าอ่าน >> ล้างจมูกลูกอย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย
อ่านต่อ >> “รวมผลิตภัณฑ์ยาพ่นจมูก” คลิกหน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ผลิตภัณฑ์ยาพ่นจมูก
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ยาแก้ไอ สําหรับทารก เลือกแบบไหน อย่างไรให้ลูกดี?
- ยาน้ำลดไข้ ของเด็ก แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร พ่อแม่ควรรู้!
- รีวิว ผลิตภัณฑ์ดูแลเด็ก สินค้าเด็ดส่งจากญี่ปุ่น ที่คุณแม่ต้องห้ามพลาด!!
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sukumvithospital.com , theworldmedicalcenter.com