ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยี่ห้อไหนดี เพื่อป้องกันลูกน้อยฟันผุ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเลือกซื้อยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในปริมาณที่ทันตแพทย์แนะนำ และแปรงให้ถูกวิธี ก็จะช่วยดูแลฟันลูกให้แข็งแรงตั้งแต่ซี่แรกได้เลยทีเดียว
โดยเริ่มดูแลได้ตั้งแต่วันที่ลูกน้อยวัยทารกมีฟันซี่แรก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกได้แล้ว!!! เรื่องนี้คุณหมอฟัน ผศ. ทพญ. ดร.เข็มทอง มิตรกูล ภาควิชาทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีเคล็ดวิธีการดูแลฟันของลูกน้อยแต่ละช่วงวัยมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่ะ
ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยี่ห้อไหนดี ช่วยป้องกันลูกฟันผุ
แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน เลือกดีมีชัยไปกว่าครึ่ง!
แปรงสีฟันและยาสีฟันในท้องตลาดมีมากมายเหลือเกิน คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกสับสนว่า ควรจะเลือกให้ลูกรักอย่างไรดี Amarin Baby & Kids จึงมีคำตอบจากคุณหมอให้ ดังนี้ค่ะ
แปรงสีฟัน
การเลือกแปรงสีฟันควรเลือกให้มีขนาดพอเหมาะกับช่องปากของลูกน้อย ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปส่วนลักษณะของแปรงสีฟันที่เหมาะสมคือ ด้ามแปรงและหัวแปรงมีลักษณะตรงเป็นแนว หัวแปรงมีลักษณะแคบเพื่อให้ทำความสะอาดด้านหลังของฟันซี่ในสุดได้ หน้าตัดของขนแปรงควรมีลักษณะเรียบ ขนแปรงควรเป็นไนลอนชนิดนุ่มเพื่อไม่ให้ระคายเคืองช่องปาก สำหรับแปรงสีฟันไฟฟ้ามีการศึกษาพบว่า แปรงสีฟันไฟฟ้าบางชนิดมีประสิทธิผลในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ได้ดีกว่าแปรงธรรมดา ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกและความเหมาะสม
ยาสีฟัน
ยาสีฟันสำหรับเด็กมี 2 ประเภท คือ
- แบบที่มีฟลูออไรด์ ได้แก่ ยาสีฟันทั่วไปที่มีขายในร้านค้า ชนิดนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเด็กสามารถบ้วนปากได้แล้วและไม่มีนิสัยชอบกลืนยาสีฟัน (ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุเด็กโดยตรง) เพราะหากกลืนยาสีฟันชนิดนี้เข้าไปอาจได้รับธาตุฟลูออไรด์สะสมในร่างกายมากเกินไปจนเกิดอันตรายต่อฟันได้
- อีกชนิดหนึ่งคือ แบบที่ไม่มีฟลูออไรด์ ชนิดนี้เด็กกลืนได้ และไม่ได้มีผลทำให้ฟันสะอาดหรือแข็งแรงมากขึ้นกว่าการแปรงฟันด้วยน้ำเปล่า แต่เป็นแค่ตัวจูงใจทำให้เด็กสนุกกับการแปรงฟันมากขึ้นเท่านั้น ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันคุณหมอให้เด็กๆ ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ได้ ซึ่งมีคำแนะนำจากองค์กรวิชาชีพทันตแพทย์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ให้ประชากรทุกวัยตั้งแต่เบบี๋ที่มีฟันซี่แรกจนถึงผู้สูงวัย ใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm เนื่องจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในฟลูออไรด์ปริมาณนี้สามารถลดฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของทุกวัย
แนวทางการใช้ฟลูออไรด์ 2560
โดยทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 1,000 1,055 1,100 และ 1250 ส่วนในล้านส่วน (ppm. หรือ mgF/g)สามารถลดฟันผุในชุดฟันผสมและฟันแท้ได้เฉลี่ยร้อยละ 23 (ร้อยละ 19-27) โดยความเข้มข้นของฟลูออไรด์ 1,500 ส่วนในล้านส่วน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับ 1,000 ส่วนในล้านส่วน ในฟันน้ำนมการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ประมาณ 1,000 ส่วนในล้านส่วนสามารถลดฟันผุได้ร้อยละ 31 สาหรับประสิทธิภาพในการลดฟันผุของยาสีฟันที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์น้อยกว่า 600 ส่วนในล้านส่วน ยังไม่ชัดเจน
ข้อบ่งชี้√
แนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในทุกกลุ่มอายุ และทุกระดับความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ เพราะเป็นการป้องกันฟันผุขั้นพื้นฐาน
วิธีใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ♥
- แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและก่อนนอน
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็ก คือ การกลืนยาสีฟัน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปและเพิ่มโอกาสการเกิดฟันตกกระเพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จึงแนะนำการใช้ดังตารางตารางปริมาณยาสีฟันที่ผสมเข้มข้นฟลูออไรด์ด้านล่างนี้ คลิกอ่านต่อ! ข้อมูลแนวทางการใช้ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก 2560 ฉบับเต็ม ได้ที่ >> Guidelines for using fluoride for children 2560
♥ กดที่ภาพ เพื่อขยายดูขนาดที่ใหญ่กว่า!!
อ่านต่อ >> “การดูแลฟันลูกตั้งแต่แรกเกิด – 12 ปี”
และรวมยาสีฟันส่วนผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm ที่คุณหมอแนะนำ คลิกหน้า 2
อ่านต่อ “บทความอื่นน่าสนใจ” คลิก!
- ทำความสะอาดช่องปาก และฟันน้ำนมลูกน้อย
- ลูกฟันหลุดรักษาได้อย่าทิ้ง! (อาจต่อได้)
- ลูกฟันผุ ทำยังไงดี ปัญหาสุขภาพฟันลูกที่แม่กลุ้มใจ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การดูแลฟันลูกเล็ก อายุแรกเกิด – 3 ขวบ
สุขภาพในช่องปากจะดีที่สุดได้ต้องเริ่มจากวัยทารก แต่เด็กยังไม่สามารถแปรงฟันหรือดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากได้ด้วยตัวเอง จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่โดยตรงที่จะช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากของลูกน้อยอยู่เสมอ ซึ่งวิธีการดูแลง่าย ๆ คือ ไม่ปล่อยให้เบบี๋หลับคาขวดนม ฝึกให้เลิกดูดนมขวดตั้งแต่ 1 ขวบ เริ่มแปรงฟันทันทีที่เบบี๋มีฟันซี่แรกโดยใช้ยาสีฟันขนาดเท่าเมล็ดข้าว พาไปพบทันตแพทย์เป็นประจำและเริ่มใช้ไหมขัดฟันตั้งแต่ 3 ขวบ เพียงเท่านี้เบบี๋ก็มีฟันที่สะอาดและแข็งแรงแล้วค่ะ
⇒ Must read : ลำดับการขึ้นของฟัน และวิธีดูแลฟันลูกอย่างถูกวิธีตั้งแต่ซี่แรก
การดูแลฟันลูกวัยซน อายุ 3 – 6 ขวบ
ลูกวัยนี้ บางคนสามารถแปรงฟันด้วยตัวเองได้บ้างแล้ว แต่ยังไม่สะอาดเท่าที่ควร คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลอย่างใกล้ชิดและแปรงซ้ำให้เสมอ ซึ่งวิธีการแปรงฟันและดูแลสุขภาพฟันสำหรับลูกวัยซนคล้ายกับลูกเล็ก แต่มีสิ่งที่ควรดูแลเพิ่มเติมดังนี้
- แปรงฟันวัยซนให้ถูกวิธี เด็กในวัยนี้ควรเพิ่มปริมาณ ยาสีฟันให้เท่ากับเมล็ดข้าวโพด หรือบีบยาสีฟันตามขวางของหัวแปรง คุณพ่อคุณแม่ที่ยังช่วยลูกแปรงฟันสามารถแปรงฟันให้ลูกในท่าจับลูกนอนตักเช่นเดียวกับท่าแปรงฟันของลูกเล็กเพราะเป็นท่าที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มองเห็นฟันของลูกน้อยได้ชัดเจที่สุด เคล็ดลับคือ ไม่จำเป็นต้องให้ลูกน้อยบ้วนน้ำหลังแปรงฟันหลายครั้งจนเกินไป เพราะอาจทำให้ฟลูออไรด์ค้างอยู่ในช่องปากไม่นานเท่าที่ควร และไม่ต้องกังวลว่าลูกน้อยจะกลืนยาสีฟันลงไปนะคะ เพราะการบีบยาสีฟันให้เหมาะสมจะไม่ทำให้ลูกกลืนยาสีฟันในปริมาณมากแน่นอน
- พบทันตแพทย์เพื่อตรวจซอกฟัน ลักษณะการผุของฟันมี 3 ชนิด คือ ไม่มีฟันผุเลย ผุที่หลุมหรือร่องฟัน และผุในซอกฟัน ซึ่งการผุในซอกฟันกรามจะลุกลามเร็วกว่าด้านบดเคี้ยว และไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกวัยซนไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อทำการถ่ายภาพรังสีตรวจดูฟันผุตรงบริเวณนี้
การดูแลฟันลูกโต อายุ 6-12 ปี
เมื่อลูกโตมาถึงช่วงวัยนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่คงจะสบายใจไปเปลาะหนึ่งแล้ว เพราะลูกวัยนี้สามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น การแปรงฟันก็เป็นหนึ่งในงานง่าย ๆ ที่เขาสามารถดูแลรับผิดชอบได้เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องคอยกำชับกวดขันสักนิดเพื่อไม่ให้เขาละเลยการแปรงฟันทุกวันหลังอาหารเช้าและก่อนนอน หรืออาจยังต้องช่วยแปรงฟันอยู่บ้างในเด็กบางรายที่ยังไม่สามารถแปรงฟันได้สะอาดพอ ส่วนในช่วงเที่ยงหากไม่สะดวกแปรงฟันอาหาร อาจกำชับลูกให้กลั้วน้ำบ้วนปากทุกครั้ง
เด็กในวัย 6 ขวบเป็นต้นไปจะใช้ปริมาณยาสีฟัน เพิ่มมากขึ้น โดยใช้ยาสีฟันบีบให้เต็มความยาวของหัวแปรง นอกจากนี้เด็กโตยังเริ่มมีฟันกรามล่างถาวรซี่ที่หนึ่งขึ้น และคุณพ่อคุณแม่มักจะคิดว่าเป็นฟันน้ำนม จึงไม่มีการเอาใจใส่เท่าที่ควร ทำให้ฟันซี่ดังกล่าวมีโอกาสผุสูง จึงควรพาลูกรักไปพบทันตแพทย์เพื่อเคลือบหลุมและร่องฟันป้องกันฟันผุไว้ก่อนนะคะ
การดูแลฟันลูกวัยรุ่น 12 ปีขึ้นไป
เด็กวัยนี้คงไม่มีใครให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยแปรงฟันให้อีกแล้ว เพราะลูกสามารถดูแลสุขอนามัยได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะดูแลเพื่อช่วยให้สุขภาพฟันของลูกสมบูรณ์แข็งแรงได้ จึงเป็นการแนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากกำจัดเชื้อจุลินทรีย์หลังการแปรงฟันร่วมด้วย เพื่อลดเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจตกค้างในช่องปากจนก่อให้เกิดฟันผุ หากฟันของลูกไม่ได้รับการดูแลความสะอาดให้เหมาะสมตามวัยของเขามาตั้งแต่เด็ก ๆ อาจเป็นสาเหตุให้โรคฟันผุชนิดเฉียบพลันกระจายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงวัยนี้ได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะช่วงวัยใด สุขภาพในช่องปากก็เป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องใส่ใจไม่แพ้สุขภาพอนามัยด้านอื่น ๆ นะคะ
ทั้งนี้ก่อนหน้าได้มีผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟัน สำหรับเด็ก 2557 เพื่อใช้ประกอบในการเลือกซื้อของคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากปัจจุบัน อย.ยกเลิกได้ยกเลิกข้อกำหนดให้แสดงปริมาณฟลูออไรด์บนฉลากแล้ว (อันหมายถึงจะแสดงหรือไม่ก็ได้)
⇒ Must read : รีวิวยาสีฟันสำหรับเด็ก เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับลูกน้อย
ด้วยเหตุนี้เอง ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงได้รวบรวมยาสีฟันสำหรับเด็กที่มีอยู่ในท้องตลาด ซึ่งเป็นยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 1000 ppm ที่ทันตแพทย์แนะนำเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยดูแลป้องกันฟันผุให้กับลูกน้อยได้ตั้งแต่ฟันซี่แรก จะมียี่ห้อใดบ้างนั้น ตามไปดูกันเลยค่ะ
อ่านต่อ >> “รวมยาสีฟันส่วนผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm ช่วยป้องกันฟันผุให้ลูกน้อยทุกวัย” คลิกหน้า 3
ผศ. ทพญ. ดร.เข็มทอง มิตรกูล ภาควิชาทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Amarin Baby & Kids มิถุนายน 2559
ขอบคุณข้อมูลจาก : ฟันน้ำนม , กลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาสีฟันของเด็กที่ผสมฟลูออไรด์ Amarin Baby & Kids ขอแนะนำว่าให้คุณพ่อคุณแม่เตรียมยาสีฟันใส่แปรงให้ลูกน้อยตามปริมาณจากตารางที่แนะนำไว้ข้างต้น และดูแลการแปรงฟันให้ดี เพราะเด็กๆมักชอบกลืนยาสีฟัน ด้วยเหตุเพราะความอร่อย หรือเหตุอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งการใช้ยาสีฟันผสมฟูลออไรด์ในเด็กเล็กจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะช่วงก่อนอายุ 3 ขวบ เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระในฟันหน้ามากที่สุด และที่ควรตระหนักถึงระดับความเย็นซ่า ซึ่งในเด็กบางคนอาจทนไม่ได้ ทำให้กลายเป็นไม่ชอบแปรงฟันไปในที่สุด เพราะกลัวความเย็นซ่าของยาสีฟัน
รีวิว ยาสีฟันส่วนผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm
สำหรับลูกน้อยทุกวัย (0-12 ปี)
ป้องกันฟันผุและช่วยดูแลได้ตั้งแต่ฟันซี่แรก
อ่านต่อ >> “รวม รีวิวยาสีฟันส่วนผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm สำหรับลูกน้อยทุกวัย” คลิกหน้า 4
ทำอย่างไรดี? เมื่อลูกน้อยชอบกินยาสีฟัน
เด็กบางคนอาจจะติดกลิ่นและรสของยาสีฟัน เพราะยาสีฟันเด็กส่วนใหญ่จะมีกลิ่นหอม รสหวานอร่อย ทีนี้ถ้าคุณคิดจะหักดิบไม่ยอมให้ใช้ยาสีฟันเลย ปัญหาตามติดมา คือ ลูกจะไม่ยอมแปรงฟัน ทางที่ดีคือ
• ควรใช้ยาสีฟันในปริมาณน้อย (เม็ดถั่วเขียว) แล้วเกลี่ยให้เต็มแปรง ลูกจะได้เลียกินไม่ได้
• ควรเก็บยาสีฟันให้พ้นมือลูก
• บอกให้ลูกเข้าใจว่ายาสีฟันมีไว้สำหรับทำความสะอาดฟัน กินไม่ได้ แต่ถ้าเขายังพยายามดูดกินอยู่ จำเป็นต้องใช้ไม้ตายยื่นคำขาด “ถ้าลูกยังกินยาสีฟันอีก จะไม่มีการใส่ยาสีฟันบนแปรงอีกแน่นอน”
สอนบ้วนปากช่วยได้
เมื่อเจ้าตัวเล็กอายุประมาณ 2 ขวบ เราสามารถสอนวิธีบ้วนปากได้แล้ว ด้วยการให้เขาอมน้ำไว้ในปาก แล้วกลั้วน้ำในปากจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง และบ้วนออกมา การบ้วนปากเป็นการทำความสะอาดชำระล้างเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ รวมทั้งเป็นวิธีป้องกันไม่ให้ลูกกลืนยาสีฟันลงคอได้อีกด้วย ถ้าลูกบ้วนปากเป็น การใช้ยาสีฟันก็ไม่ใช่เรื่องน่าห่วงอีกต่อไปแล้วค่ะ”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทั้งนี้คุณหมอตุ๊กตา เพจฟันน้ำนม ได้แนะนำการเลือกใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์สำหรับเด็ก ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ได้ตามท้องตลาด ที่มีฟลูออไรด์ 1000 ppm เลือกยี่ห้อ รส กลิ่น สี ใดก็ได้ที่เด็กๆ ชอบ
ซึ่งยาสีฟันในท้องตลาดแทบทุกยี่ห้อใช้ไซลีทอลเป็นสารให้ความหวานในยาสีฟัน ปริมาณความเข้มข้นของไซลีทอลในยาสีฟันแทบไม่มีผลในการป้องกันฟันผุ เช่นเดียวกัน สารอื่น ๆ นอกจากนี้ ไม่มีผลการวิจัยที่เชื่อถือได้ในการลดฟันผุและหินปูนค่ะ
***ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ปลอดภัยสำหรับลูก
ถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสมนะคะ***
อ่านต่อ “บทความอื่นน่าสนใจ” คลิก!