มดลูกเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ ที่สามารถขยายตัวได้อย่างมากจนสามารถเป็นที่อยู่ของทารกได้ และเมื่อคลอดทารกออกมาแล้ว มดลูกก็หดรัดตัวเล็กลงเรื่อยๆ จนกลับคืนสู่สภาพปกติ เรียกว่า มดลูกเข้าอู่ แต่หากมดลูกไม่เข้าอู่ มดลูกเข้าอู่ช้า หรือมดลูกผิดปกติ จะมีวิธีสังเกตอย่างไร
ระยะหลังคลอด (Postpartum period) หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่หลังคลอดทารกและรกเสร็จสิ้น ไปจนถึงระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งใช้เกณฑ์เดียวกันทั้งการคลอดปกติทางช่องคลอดและการผ่าท้องคลอด ในช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสรีระและฮอร์โมนของคุณแม่หลังคลอดเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติ
ในช่วงหลังคลอดนี้จะมี น้ำคาวปลา/เลือด ของเหลวในโพรงมดลูกจะถูกขับออกมาทางช่องคลอด หลังกระบวนการคลอดทุกอย่างเสร็จสิ้น โดยในระยะ 3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีแดง ระยะ 4-10 วันหลังคลอด สีของน้ำคาวปลาจะเป็นสีแดงจางลง หลังจากนั้น น้ำคาวปลาจะเป็นสีขาว ซึ่งอาจจะมีอยู่นานถึง 4-6 สัปดาห์
จะรู้ได้อย่างไรว่า มดลูกเข้าอู่แล้ว
มดลูกเข้าอู่ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์นับจากวันคลอด อาการที่พอจะสังเกตได้คือ น้ำคาวปลาหมด ไม่ออกมาอีก ไม่มีตกขาวกลิ่นเหม็น ไม่ปวดท้อง และมดลูกหดตัวจนเท่าขนาดปกติก่อนคลอด โดยจะคลำไม่พบก้อนแข็งที่หน้าท้องอีก
ทำอย่างไรให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
การดูแลมดลูกหลังคลอดที่ดีที่สุด คือ การให้ลูกกินนมแม่ เพราะจะช่วยกระตุ้นฮอร์โมนทำให้มดลูกมีการหดรัดตัว ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ค่ะ
ทั้งนี้ ช่วงหลังคลอด แพทย์จะนัดคุณแม่มาตรวจสุขภาพหลังคลอด ในเรื่องน้ำคาวปลา การขับถ่าย แผลฝีเย็บ แผลผ่าตัดคลอด มะเร็งปากมดลูก และตรวจดูมดลูกช่วงหลังคลอด ซึ่งแพทย์จะตรวจดูว่ามดลูกของคุณแม่หดรัดตัวกลับสู่ภาวะปกติหรือไม่ เพราะบางครั้งพบว่าคุณแม่เกิดภาวะความผิดปกติบางอย่างของมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่ช้า ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสมจากแพทย์ต่อไป หรือหากคุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติ เช่น มีน้ำคาวปลาออกมามากผิดปกติ มีไข้ ปวดท้องมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้คำแนะนำและแก้ไขโดยเร็ว
บทความแนะนำ 10 เคล็ดลับบำรุง ‘มดลูก’ ให้แข็งแรง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ> มดลูกเข้าอู่ช้า มดลูกอักเสบ มดลูกเคลื่อน มดลูกหย่อน อาการผิดปกติหลังคลอดที่ต้องสังเกต คลิกหน้า 2
มดลูกเข้าอู่ช้า
มดลูกเข้าอู่ช้า หากคุณแม่ยังคลำพบมดลูกทางหน้าท้องหลังคลอดไปแล้ว 2 สัปดาห์ แสดงว่ามดลูกเข้าอู่ช้า สาเหตุเกิดจาก
- ภาวะต่างๆ ที่ทำให้การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี ได้แก่ มีเศษรกหรือหุ้มเยื่อทารกค้างในมดลูก มีก้อนเนื้องอกของมดลูก ครรภ์หลังทำให้การตึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูกไม่ดี ผนังมดลูกถูกยืดขยายมาก เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทารกในครรภ์หัวโตตัวโต กระเพาะปัสสาวะเต็ม
- การผ่าตัดคลอดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
- ทารกไม่ได้ดูดนมแม่
- มีการติดเชื้อของมดลูก
- มดลูกคว่ำหน้ามากหรือคว่ำหลังมาก
อาการสำคัญ
- น้ำคาวปลาออกนานหรือปริมาณมากกว่าปกติ น้ำคาวปลาเป็นสีแดงมีกลิ่นเหม็น
- มดลูกอ่อนนุ่มและใหญ่กว่าปกติ ระดับยอดมดลูกไม่ลดลงอาจกดเจ็บมาอาการปวดมดลูก
- อุณหภูมิสูงและอาจเกิดการตกเลือดระยะหลัง
บทความแนะนำ น้ำคาวปลาผิดปกติ เรื่องที่แม่หลังคลอดไม่ควรมองข้าม !
มดลูกอักเสบ
มดลูกอักเสบ สังเกตได้จาก น้ำคาวปลาจะมีสีแดงไหลอยู่นาน อาจมีกลิ่นเหม็น มีอาการปวดท้องน้อย กดเจ็บบริเวณท้องน้อย มักพบร่วมกับการไม่เข้าอู่ของมดลูก คือ มดลูกยังมีขนาดใหญ่อยู่ทั้งๆ ที่ควรจะมีขนาดเล็กเป็นปกติแล้ว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
มดลูกเคลื่อน
มดลูกเคลื่อน คือ สภาวะที่เกิดกับตัวมดลูกที่ผิดปกติไป เกิดการบิดเบี้ยวไปจากรูปปกติ โดยมดลูกเคลื่อนมี 3 ชนิด คือ 1. มดลูกตะแคง 2. มดลูกต่ำ 3. มดลูกลอย
-
มดลูกตะแคง
หากคุณแม่มีอาการปวดหลังปวดเอว ปวดกระเบนเหน็บ ปวดเชิงกราน ร้าวชาออกขา เย็นปลายมือ-ปลายเท้า มีตกขาว ไม่คัน-ไม่มีกลิ่น ปวดท้องน้อยมาก ปวดจนตัวบิดตัวงอ มีอาการตึงคอ ปวดศีรษะ (อาจปวดหัวคล้ายไมเกรน) อาจเป็นเพราะ มดลูกตะแคง โดยสาเหตุของมดลูกตะแคง เกิดจากอุบัติเหตุ หกล้ม ก้นกระแทก ตกจากที่สูง ยกของหนักเกินกำลัง
-
มดลูกต่ำ
มดลูกต่ำ จะมีอาการ ปัสสาวะเล็ดเวลาหัวเราะ ไอ จาม หรือเวลายกของหนัก ก้าวขึ้นบันได ตกหลุมกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระปิดกระปรอย ปวดหลัง ปวดเอว ร้าวลงมาที่ท้องน้อย
สาเหตุของมดลูกต่ำ เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย จากการมีบุตรมาก ทำงานหนักเกินกำลัง ยกของหนักเป็นประจำ กลั้นปัสสาวะเป็นประจำ ทำให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม ท้องผูกเป็นประจำ ทำให้ทวารหนักเต็มไปด้วยกากอาหารคั่งค้าง ชอบนั่งยองๆ ภาวะหลังคลอดมดลูกไม่เข้าอู่ มีปัญหาที่กระดูกสันหลังช่วงเอว
มดลูกต่ำมี 4 ระยะ
1.มดลูกต่ำขั้นแรก มดลูกจะเลื่อนลงมาต่ำกว่าตำแหน่งปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับเยื่อพรหมจารี
2.มดลูกต่ำขั้นที่ 2 ปากมดลูกจะเลื่อนต่ำลงมามากขึ้นจนถึงระดับเยื่อพรหมจารี
3.มดลูกต่ำขั้นที่ 3 มดลูกจะต่ำจนปากมดลูกโผล่ออกมาภายนอก
4.มดลูกต่ำระยะสุดท้าย มดลูกจะหลุดห้อยออกมาข้างนอกเกือบทั้งหมด
สาเหตุสำคัญที่สุดที่เป็นเหตุให้มดลูกต่ำก็คือ การเสียหายจากการคลอด ซึ่งสามารถรักษาเองได้ไม่ยาก โดยการหมั่นออกกกำลังกายอยู่เสมอ ให้กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ กระชับแข็งแรง ที่สำคัญคือ บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยการขมิบทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 ทีขึ้นไป ภายใน 3 เดือน ช่องคลอดก็จะกลับมากระชับรัดแน่นเหมือนเดิม
-
มดลูกลอย
ในกรณีที่ มดลูกลอย จะมีอาการ ผายลมทางช่องคลอด เวลาก้าวเดินเสียวช่องคลอด อาจปวดต้นคอ ปวดร้าวมาที่ท้องน้อย ไม่ทนร้อนทนหนาว ใจหวิว ใจสั่น อ่อนเพลียง่าย
สาเหตุของมดลูกลอย โบราณว่าเกิดจาก ผู้หญิงหลังคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้มดลูกไม่เข้าอู่ หรือเข้าอู่ไม่สนิท
-
มดลูกหย่อน
คุณแม่บางคนเอ็นยึดมดลูกอาจจะหย่อนยานมากหลังคลอดลูก ทำให้เกิดอาการปวดเสียวท้องน้อยโดยเกิดจากการที่มดลูกหลวม เมื่อตรวจร่างกายแล้วคุณหมออาจจะไม่พบอาการผิดปกติ แต่ก็สามารถวินิจฉัยได้ ซึ่งส่วนใหญ่หากอาการไม่รุนแรงก็ไม่ต้องทำการรักษา แต่กรณีที่ปวดท้องรุนแรงมาก อาจจะรักษาด้วยการเย็บเอ็นยึดมดลูกให้ตึงขึ้นหรืออาจจะตัดมดลูกทิ้ง แล้วแต่การวินิจฉัยของคุณหมอ
อ่านต่อ >> 15 ข้อ ส่ออาการ “มดลูกผิดปกติ” คลิกหน้า 3
อาการที่เกิดจากมดลูกผิดปกติอาการผิดปกติที่เกิดกับมดลูก สามารถเกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะช่วงหลังคลอดเท่านั้น คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย ที่บ่งบอกถึงอาการมดลูกผิดปกติ และรีบรักษา เพราะหากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจเป็นโรคร้ายแรงตามมาค่ะ
- หน้าท้องกลม คล้ายกับคนท้องอ่อนๆ เนื่องจากมดลูกขยายตัวออก หรือหย่อน ทำให้ดันหน้าท้องและเอวของเราให้บวมขึ้น
- ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนมีสีคล้ำ ออกมาเป็นลิ่มเลือด เนื่องจากมีสิ่งตกค้างอยู่ในมดลูก จึงทำให้มดลูกพยายาม บีบตัวเพื่อขับของเสียออกมาทำให้เราเกิดอาการปวดท้อง
- มีกลิ่นภายใน ล้างก็ไม่หาย ติดเชื้อง่าย เพราะของเสียที่อยู่ภายใน เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง แบคทีเรียก็จะไหลเข้าไปกินของเสียด้านใน ทำให้เกิดกลิ่นต่างๆ ไม่ว่าเราจะพยายามล้างยังไง กลิ่นก็จะกลับมาอีกภายในเวลาอันรวดเร็ว
- มีระดูขาวหรือตกขาวตลอดทั้งเดือน เพราะปกติผู้หญิงเราจะมีระดูขาวก่อนมีประจำเดือน 2-3 วันเท่านั้น ถ้ามีหลังหมดประจำเดือนก็ถือว่าผิดปกติ
- ช่องคลอดขยายตัวทำให้ไม่กระชับ หรือขาดความฟิต ซึ่งเป็นสาเหตุของครอบครัวแตกแยกในประเทศไทยกว่า 70% เพราะมดลูกเกิดการคลายตัวเพื่อขับของเสียที่ตกค้างอยู่ให้ออกไปทำให้ช่อง คลอดขยายตัว และไม่ฟิตตามไปด้วย
- มดลูกต่ำ ทำให้มีเพศสัมพันธ์แล้วเจ็บ ซึ่งไม่ได้เจ็บจากการที่ไม่มีน้ำหล่อลื่น แต่เจ็บเพราะมดลูกถูกอวัยวะเพศชาย โดยตรงทำให้เกิดการอักเสบของมดลูก มดลูกต่ำเกิดได้กับผู้หญิงทุกคน สังเกตได้จากหน้าท้องตรงส่วนใต้สะดือลงมาจะนูนคล้ายคนท้องอ่อนๆ
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องพังผืด เนื้องอก ช็อกโกแลตซีส ในมดลูก ซึ่งเกิดจากมดลูกไม่ปกติซึ่งมีของเสียตกค้าง เมื่อของเสียอยู่ในร่างกายนานเข้า ก็จะกลายเป็นพังผืด เนื้องอก ช็อกโกแลตซีสและอาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ในอนาคต
- มีลมเข้าออกช่องคลอด สาเหตุ เนื่องจากมดลูกสั่งให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพื่อขับของเสียออกจากมดลูก จึงทำให้ช่องคลอดหลวม มีเพศสัมพันธ์ หรือทำกิจกรรมบางอย่าง มีลมเข้า-ออก ช่องคลอด
- กล้ามเนื้อหย่อนทั้งระบบ เช่น หน้าอก ถุงใต้ตาห้อย แก้มตก ร่องแก้ม คางย้อย ต้นแขน ต้นขา และอื่นๆ เพราะการมีของเสียในมดลูกเยอะ จึงทำให้สมองส่วนกลางสั่งงานให้กล้ามเนื้อ ส่วนใด ส่วนหนึ่งได้ จึงทำให้กล้ามเนื้อเกือบทั้งหมด หย่อน
- หูรูดหย่อน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถ้าเป็นข้อนี้ถือว่าเป็นมดลูกผิดปกติมากแล้ว อนาคตจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและอาจต้องตัดมดลูกทิ้งได้
- กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เบ่งก็ไม่ออก เนื่องจากมดลูกลงมากดทับท่อปัสสาวะ และทำให้พื้นที่กระเพาะปัสสาวะเหลือน้อย จึงทำให้ปวดและปัสสาวะบ่อย
- มีลูกยาก เนื่องจากมดลูกมีของเสียเยอะ ทำให้มดลูกมีการบิดตัวตลอดเวลา เมื่อตั้งท้องจึงมีโอกาสแท้งสูง
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ บางทีก็มาน้อย บางทีก็มามาก บางทีก็เลื่อนออกไป บางทีก็ไม่มาเลย 2-3 เดือนเพราะฮอร์โมนไม่ปกติ
- ผิวสาก ไม่มีแวว ไม่สดใส ไม่เปล่งปลั่ง ไม่มีน้ำมีนวล หมองคล้ำ
- ไม่มีสาบสาว หรือที่เรียกกันว่า ฟิโรโมน คือสารธรรมชาติที่จะหลั่งออกมาในสัตว์โลกทุกชนิด ซึ่งเป็นตัวที่ดึงดูดทางเพศนั่นเอง
ดังนั้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายเป็นประจำ ซึ่งเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณแม่ดูแลร่างกายและรับมือกับภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีสติ และหากมีอาการตามที่กล่าวมา ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้คำแนะนำ และรักษาต่อไป เมื่อร่างกายคุณแม่สมบูรณ์แข็งแรง ก็จะพร้อมดูแลลูกน้อยอย่างมีความสุขค่ะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
อาการหนาวสั่นหลังคลอดลูก เกิดจากอะไร?
รกค้างในมดลูกหลังคลอด คุณแม่เสี่ยงอันตราย
ขอบคุณข้อมูลจาก
การดูแลมดลูกเคลื่อน ตามแนวทางแพทย์แผนไทย โดย อ.อำนวย เฟื่องฟูกิจการ สมาคมแพทย์แผนไทยเชียงใหม่
guidebabycare.blogspot.com
เครดิตภาพ birthwithoutfearblog.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่