AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เมื่อป่วยไทรอยด์เป็นพิษ…ตอนท้อง

ไทรอยด์เป็นพิษตอนท้อง เกิดจาก ระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ ทําให้การทํางานของระบบเผาผลาญในร่างกายเสียสมดุล ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น มือสั่น ใจสั่น คอโตหรือคอพอก มีปัญหาน้ำหนักตัวผิดปกติ เหงื่อออกง่าย  และอาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ไทรอยด์เป็นพิษตอนท้อง

ซึ่งแม้อาการทั้งหมดอาจฟังดูน่ากลัวแต่สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ ก็สามารถตั้งครรภ์และแข็งแรงปลอดภัย ได้ทุกไตรมาส เพียงแค่ปรึกษาแพทย์และ ควบคุมโรคให้สงบก่อนที่จะเริ่มตั้งครรภ์ จากนั้นเฝ้าระวังทุกไตรมาสอย่างใกล้ชิด ทั้งคุณแม่และลูกน้อยก็แข็งแรงได้ไม่ยากค่ะ

แม่ท้อง ไทรอยด์เป็นพิษ ปรับยาให้พอดี ตั้งแต่ไตรมาสแรก

วิธีที่หมอใช้ควบคุมโรค ไทรอยด์เป็นพิษให้สงบในระหว่างตั้งครรภ์คือ การเลือกใช้ยาที่ปลอดภัยและปรับปริมาณยาให้เพียงพอต่อการควบคุมโรคของคุณแม่และไม่เป็นอันตรายต่อลูกในท้อง โดยยาที่หมอใช้รักษาไทรอยด์เป็นพิษตอนท้อง โดยหลักแล้วจะมีอยู่ 2 ตัว คือ พีทียูและเมทิมาโซลค่ะ

เป็นยาหลักที่หมอเลือกใช้กับแม่ท้อง เนื่องจากปริมาณที่ยาพีทียูจะผ่านรกได้มีน้อยกว่ายาเมทิมาโซล หมอก็คาดหวังว่าจะมีผลแทรกซ้อนต่อทารกน้อยตามไปด้วย แต่หากคุณแม่จําเป็นต้องใช้ขณะตั้งครรภ์

ปริมาณยาสูงเพื่อควบคุมโรคก็มีความเสี่ยงที่ยาจะผ่านรกไปกดไทรอยด์ของลูกและมีผลให้ตับของคุณแม่ทํางานผิดปกติได้ จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดจากการตรวจเลือดของคุณแม่เป็นระยะค่ะ”

จากการศึกษาพบว่า ยาตัวนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการแต่กําเนิดบางชนิดกับทารกในครรภ์ได้ เช่น หลอดอาหารผิดปกติ อาการผิดปกติทางผิวหนังบางอย่าง หมอจึงไม่นิยมใช้ยาตัวนี้กับแม่ตั้งครรภ์

ฝากครรภ์ยิ่งเร็วยิ่งดี

คุณหมอแนะนําว่าคุณแม่ที่ป่วยไทรอยด์เป็นพิษควรฝากครรภ์เร็วกว่าแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป เพราะสูตินรีแพทย์ต้องดูแลความปลอดภัยขณะตั้งครรภ์ ขณะที่คุณหมออายุรกรรมก็ต้องช่วยควบคุมโรคให้สงบตลอดทุกไตรมาส หมอจึงต้องคอย     ตรวจครรภ์ของคุณแม่อย่างสม่ำเสมอและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

จากความเปลี่ยนแปลงตัวโรค เพราะถึงแม้ว่าก่อนตั้งครรภ์คุณหมอจะยืนยันว่าโรคสงบลงแล้วแต่บางครั้งอาการก็แย่ลงได้ นอกจากนี้ในช่วงไตรมาสแรกผลของฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ร่วมกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาจทําให้ไทรอยด์เป็นพิษ แสดงอาการมากขึ้นหรือมีอาการแพ้ท้องแบบรุนแรงได้ค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

แพ้ท้อง ต้องระวัง

อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงบางครั้งเป็นอีกสัญญาณเตือนไทรอยด์เป็นพิษแอบแฝงหรือชั่วคราวได้

เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยไทรอยด์เป็นพิษมักจะมีอาการแพ้ท้องรุนแรงกว่าคุณแม่ทั่วไป ที่ต้องระวังคืออาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะรกผิดปกติ ท้องลูกแฝด หรือเป็นมะเร็งเนื้อรกได้

ดังนั้นหากคิดว่าอาการแพ้ท้องรุนแรงกว่าปกติคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุค่ะ

ติดตามกันต่อ ไทรอยด์เป็นพิษในไตรมาสสอง คลิกหน้า 2

ไทรอยด์เป็นพิษตอนท้อง ไตรมาสสอง ต้องดูแลต่อเนื่อง

ในช่วงเฝ้าระวังในไตรมาสแรกไปแล้ว แต่ไตรมาสสองก็ยังประมาท ไม่ได้เพราะคุณแม่ป่วยไทรอยด์เป็นพิษควรได้รับการรักษาและดูแลใกล้ชิดอย่างต่อเนื่องค่ะ

กินยาควบคุมโรคสม่ำเสมอ

การกินยารักษาไทรอยด์อย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องสําคัญมาก อีกทั้งคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการผิดปกติและพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากอาการของโรคมีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงอาจจะต้องมีการปรับยาให้เหมาะสมสําหรับในช่วงไตรมาสนี้  รวมถึงยังต้องสังเกตภาวะแทรกซ้อน และอาการผิดปกติต่าง ๆ อีกด้วย

ประเมินสุขภาพลูกน้อย

การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์เป็นสิ่งสําคัญในไตรมาสนี้ เพราะเป็นช่วงที่ลูกโตพอที่ หมอจะตรวจดูได้แล้วว่าลูกน้อยของคุณแม่ได้รับผลกระทบจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษของคุณแม่หรือเปล่า เช่น มีภาวะโตช้าในครรภ์ มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรับฮอร์โมนบางตัวของคุณแม่เข้าไป หรือได้รับผลกระทบจากยาที่คุณแม่รักษาอยู่หมอก็จะอัลตราซาวนด์เช็กความสมบูรณ์ของทารกให้เป็นระยะ เพื่อให้สุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยสมบูรณ์แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ

แม่ท้องป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ลูกต้องป่วยด้วยหรือเปล่า

แม้คุณแม่ท้องจะป่วยเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษแต่ไม่จําเป็นที่ลูกจะต้องป่วยตามไปด้วย ลูกจะป่วยหรือไม่ป่วยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น คุณแม่ควบคุมและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมหรือเปล่า และลูกได้รับฮอร์โมนชนิดใดจากคุณแม่ไปบ้าง ถ้าคุณแม่ได้รับการรักษาอย่าง เหมาะสมใช้ยาในการควบคุมโรคอย่างเหมาะสมส่วนมากเด็กก็จะสมบูรณ์แข็งแรงดีค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตามกันต่อ ไทยรอยด์เป็นพิษในไตรมาสสาม คลิกหน้า 3


ไทรอยด์เป็นพิษตอนท้องไตรมาสสาม ต้องเตรียมพร้อม ทั้งคุณแม่และโรงพยาบาล

การดูแลตัวเองของคุณแม่ในไตรมาสสามจะคล้ายกับช่วง ไตรมาสสองค่ะ คือยังคงต้องกินยาและ

ปรึกษาหมอสม่ำเสมอ เพียงเพิ่มในเรื่องของการเตรียมตัวคลอดให้พร้อมทั้งในแง่การเตรียมตัวคุณแม่และการเลือกโรงพยาบาลเพื่อให้คุณแม่สามารถคลอดลูกน้อยได้อย่างปลอดภัยค่ะ

ตรวจเช็กความพร้อมของโรงพยาบาล

การเตรียมตัวคลอดต้องเช็กโรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากครรภ์ว่าพร้อมที่จะดูแลคุณแม่

ในกรณีมีภาวะแทรกซ้อนหรือเปล่า แนะนําให้คุยกับคุณหมอให้ดี คิดเผื่อเอาไว้ในกรณีฉุกเฉินที่คุณแม่อาจต้องอยู่ห้องไอซียู เพื่อความไม่ประมาทคุณแม่จึงควรเลือกคลอดกับโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือ และทีมแพทย์พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินทุกรูปแบบค่ะ

แม่ท้องไทรอยด์เป็นพิษ กินได้แค่ไหน

แม่ตั้งครรภ์ป่วยไทรอยด์เป็นพิษอาจเป็นกังวลว่าจะกินอาหารแบบคุณแม่ทั่วไปได้หรือเปล่า คุณหมอผู้เชี่ยวชาญได้ไขข้อสงสัยให้คุณแม่สบายใจว่าคุณแม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องระมัดระวังเรื่องการกินยาและอาหารเสริมเท่านั้นเองค่ะ

คุณแม่ควรระวังเรื่องการใช้ยาตัวอื่นๆ รวมทั้งวิตามินเสริมเนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อยาที่หมอใช้คุมโรคอาจทําให้ ประสิทธิภาพยาลดลงหรือไปเสริมฤทธิ์ยา ทําให้การควบคุมโรคของคุณแม่ไม่นิ่งและ ทําให้มีภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ดังนั้นกินเฉพาะยาที่หมอแนะนําให้ก็จะดีที่สุดค่ะหรือ เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ และไปตรวจกับ คุณหมอท่านอื่นที่ไม่ใช่สูติแพทย์ก็ต้องแจ้ง ว่าเราตั้งครรภ์และเป็นไทรอยด์เป็นพิษอยู่ คุณหมอจะได้เลือกยาที่เหมาะสมไม่กระทบ ต่อการรักษาไทรอยด์เป็นพิษได้ค่ะ


อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids