ไขข้อข้อใจคุณแม่ที่กำลังสงสัยว่า กินยาคุมนาน หลายปี จะส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างที่ได้ยินมาจริงหรือไม่?
คุณแม่ที่กำลังรับประทานยาคุมอยู่ หรือรับประทานมานานแล้วจนเกิดความกังวลใจว่า รับประทานนานเกินไป จะส่งผลกระทบทางสภาพจิตใจ จนทำให้เป็นโรคซึมเศร้าจริงหรือไม่นั้น วันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้เตรียมคำตอบเอาไว้ให้แล้วค่ะ
ทำความรู้จักกับยาคุมกำเนิด
ยาเม็ดคุมกำเนิด เรียกอีกอย่างว่า Birth control pill เป็นยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน และโปรเจสติน) มีผลป้องกันการตั้งครรภ์ โดยยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหรือเยื่อบุมดลูก บางตัวมีสภาพไม่พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน และทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิจึงทำให้ไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ในท่อนำไข่ได้
ยาคุมกำเนิดนั้น แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน อันได้แก่
- ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
- ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสตินอย่างเดียว
- ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
กินยาคุมนาน ส่งผลกับสุขภาพจิตจริงหรือ?
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้มีการเปิดเผยผลการศึกษาว่า การรับประทานยาคุมกำเนิดนั้น ส่งผลให้ผู้รับประทานยามีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าคนที่ไม่ได้ทานยาคุมกำเนิด
บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินว่า การรับประทานยาคุมกำเนิดนั้นมักจะมีผลข้างเคียง นอกจากผลข้างเคียงที่มีอาการเวียนหัวและอาเจียนแล้ว ผลข้างเคียงที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เจอคือ อารมณ์ที่เหวี่ยงไปมา และในบางคนก็ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ และมีผู้หญิงอีกจำนวนไม่น้อยเลยที่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการของโรคซึมเศร้า และสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับประทานยาคุมกำเนิด
โดยงานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรก ที่มีการศึกษาประสบการณ์ของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากการคุมกำเนิด งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้เป็นเวลา 13 ปีกับผู้หญิงชาวเดนมาร์กที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 34 ปี ซึ่งพบว่า ผู้หญิงมากกว่า 30% ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมีอาการของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และกลุ่มวัยรุ่นถือว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่สุดในการรับประทานยาคุมกำเนิดและมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูง
ที่แย่ไปกว่านั้นคือ การคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ใช้วิธีควบคุมฮอร์โมน อย่างเช่นยาคุมกำเนิดแบบฝัง และห่วงสอดช่องคลอด เป็นต้น ที่แพทย์มักจะแนะนำสำหรับคนที่ไม่ต้องการรับประทานยาคุมกำเนิด กลับให้ผลที่แย่กว่า ผู้หญิงที่ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยการควบคุมฮอร์โมนที่ไม่ใช่การรับประทานยา จะมีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนที่รับประทานยาคุมกำเนิดในการเป็นโรคซึมเศร้า
ดังนั้น หากผู้หญิงหลายคนที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น โดยไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการของโรคซึมเศร้า การรับประทานยาคุมกำเนิดหรือมีการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ ที่ใช้การควบคุมฮอร์โมน ก็จะทำให้อาการของโรคซึมเศร้าแย่ลงไปอีก การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สังเกตอีกด้วยว่า ถ้าหากผู้หญิงคนไหนที่มีอาการของโรคซึมเศร้าอยู่ก่อนแล้ว หมอมักจะไม่ให้รับประทานยาคุมกำเนิด เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่แย่ลงได้
นายแพทย์พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์ จากโรงพยาบาลมนารมย์ ได้ทำการอธิบายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้ฟังว่า โรคซึมเศร้าถือเป็นโรคทางด้านจิตเวชที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ
- ปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของเคมีในสมอง เช่นความผันผวนของระดับฮอร์โมนที่สำคัญ สืบทอดจากพ่อแม่สู่ลูก
- ปัจจัยด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าปัจจัยทางอารมณ์ เป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดทางอารมณ์ เช่นหากเป็นภาวะซึมเศร้าในวัยเด็ก อาจมีสาเหตุจากความตึงเครียดในครอบครัว เหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง หรือความคาดหวังทางการศึกษาเล่าเรียนที่สูงส่งเกินความสามารถของตน ภาวะซึมเศร้าในโรคประสาท ซึ่งอาจพบร่องรอยว่าถูกบีบคั้นอย่างมากในวัยเด็ก แล้วปะทุออกมาในช่วงชีวิตภายหลัง ภาวะซึมเศร้าเพราะความชรา เกิดเพราะความสามารถในการปรับตัวลดน้อยลง มีชีวิตโดดเดี่ยว ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยหรือปัญหาที่เรียกกันว่า ภาวะสะเทือน เป็นต้น
สำหรับวิธีบำบัดนั้น ทำได้ดังนี้
- ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาคุมนานเกินไป แนะนำให้รับประทานอาหารประเภท นมถั่วเหลือง ไข่ เนยแข็ง ตับ ข้าวโพด และปลาชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งสารอาหาร วิตามินบี6 และ บี12 มีส่วนช่วยทำลายสารที่ส่งผลข้างเคียงกับภาวะอารมณ์ได้
- อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
- พยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าอยู่เพียงลำพัง
- คนรอบข้างจะต้องให้กำลังใจและพร้อมที่จะรับฟังความรู้สึกของผู้ป่วย โดยไม่มีทีท่าว่าจะแสดงความรำคาญ
- อย่าเรียกร้องให้ผู้ป่วยต้องหายจากโรคอย่างรวดเร็ว อย่ากล่าวโทษผู้ป่วยซึมเศร้าว่าแสร้งทำ หรือขี้เกียจ เพราะถึงแม้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก็ยังต้องใช้เวลา ช่วงหนึ่งจึงจะมีอาการดีขึ้น
ขอบคุณที่มา: Sanook, New18, Hamoor และ Gotomanager 360
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- วิจัยเผย! แม่เลี้ยงลูกลำพังเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้าหลังคลอด!
- หน้า 7 หลัง 7 คุมกำเนิดแบบนับระยะปลอดภัยได้ผลจริงหรือ?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่